ตอบโจทย์: ยกเครื่อง การผลิตข้าว จากความล้มเหลวสู่ความยั่งยืน (2) กับ นิพนธ์ พัวพงศกร

โครงการรับจำนำข้าวกำลังได้รับการแก้ไขปัญหา จาก คสช. โดยล่าสุดมีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการหาเงินจำนวน 9 หมื่นล้านเศษ มาจ่ายเงินให้กับชาวนา แต่กระนั้นยังมีปัญหาโครงการรับจำนำข้าวที่หมักหมมมานานอีกหลายประการ รวมทั้งข้อสงสัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การหาเงินจากแหล่งเงินเพื่อมาจ่ายชาวนาให้ครบ จำนวนข้าวที่เหลืออยู่ในสต็อก การระบายข้าว และนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรในเรื่องราคาข้าวจะเป็นไปในทิศทางใด ทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาให้กับชาวนาไทยได้อย่างยั่งยืน ? วันนี้ “ตอบโจทย์” จะคุยกับ รศ.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และ คุณปราโมทย์ วานิชานนท์ อดีตกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ดำเนินรายการโดย ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์

NOW26 TV : วิเคราะห์โอกาส ความหวัง ข้าวไทย กับ นิพนธ์ พัวพงศกร

NOW26TV ช่วง Business Talks เรื่อง “วิเคราะห์โอกาส ความหวัง ข้าวไทย” กับ นิพนธ์ พัวพงศกร วันที่ 28 พฤษภาคม 2557

บทสัมภาษณ์: “นิพนธ์ พัวพงศกร” ติง “คนเพื่อไทย” กล้าพูดความจริงกับประชาชน

นโยบายรับจำนำข้าวที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนถังรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นนโยบายที่ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการแทรกแซงกลไกตลาด ทำลายระบบการค้าข้าว และทำให้คุณภาพข้าวแย่ลง หลาย 10 ปีที่ผ่านมา หากพูดถึงเรื่องข้าว นักเศรษฐศาสตร์ที่เกาะติดและวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนโยบายรับจำนำข้าวมาอย่างต่อเนื่องคือ “ดร.แฝดคู่” ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) “ดร.อัมมาร สยามวาลา และ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร” นักวิชาการเกียรติคุณ ซึ่งจนถึงขณะนี้ทั้งสองท่านก็ยังคงทำหน้าที่และสวมบทบาทนักวิชาการที่ “เกาะติดเรื่องข้าว” อย่างเหนียวแน่น และมีบ่อยครั้งที่บทความหรือการแสดงความคิดเห็นไม่ต้องใจฝ่ายการเมือง ดังนั้นในโอกาสที่นโยบายรับจำนำข้าวมาถึงจุด “วิกฤติ” รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายค่าจำนำข้าว และชาวนาที่เดือนร้อนรวมตัวชุมนุมประท้วงเพราะไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าว ต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ชาวนาจะต้องทนทุกข์ไปอีกนานแค่ไหน รัฐบาลจะมีทางออกอย่างไร การแก้ปัญหาเกษตรกรทั้งระบบควรเป็นอย่างไร และที่สำคัญ เราจะถอดบทเรียนครั้งนี้อย่างไร สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าสัมภาษณ์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ดังนี้ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ไทยพับลิก้า : มองผลกระทบต่อชาวนาขณะนี้รุนแรงมากแค่ไหน ชาวนาทุกข์หนัก เพราะรายได้ของเขามาจากการขายข้าวตรงนั้น เวลาเขาขายข้าวทั้งฤดูแล้วไม่ได้เงิน ถ้าเงินขายข้าวหายไปทั้งฤดู ก็เหมือนกับเราทำงานไม่ได้เงินเดือน 3-4 เดือน เราก็แย่เหมือนกัน สมัยที่ผมรับราชการใหม่ๆ จะไม่ได้เงินเดือน 1 ปี แต่มหาวิทยาลัยเขารู้ […]

ทางออกประเทศไทย: จำนำข้าวนโยบายประชานิยม ระเบิดเวลาทุกรัฐบาล กับ อัมมาร สยามวาลา และ นิพนธ์ พัวพงศกร

รายการทางออกประเทศไทย “วิกฤตปิดกรุง” ทาง Thai PBS เรื่อง จำนำข้าวนโยบายประชานิยม ระเบิดเวลาทุกรัฐบาล กับ อัมมาร สยามวาลา และ นิพนธ์ พัวพงศกร ออกอากาศเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 57

“นิพนธ์ พัวพงศกร” แนะออกกฎหมายพิเศษ แก้ปัญหาจำนำข้าว

ทีดีอาร์ไอแนะรัฐตรวจสต๊อกข้าว และออกกฎหมายพิเศษเผาข้าวเน่า ถ้าพบคาโกดัง เพื่อแก้ปัญหาขาดทุน-ทุจริต ชี้ถ้าจะยกเลิกรับจำนำ ต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักดิบ เหตุราคาข้าวทรุด พ่อค้าจ้องกดราคาซื้อ ชาวนาประท้วงใหญ่แน่ นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย เผยชาวนาจำนำใบประทวนกับนายทุนหาเงินใช้หนี้ หลังเบิกเงิน ธ.ก.ส.ไม่ได้ ด้านพาณิชย์ยันรัฐเคลียร์เงินให้จบก่อนปีใหม่แน่นอน นายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยระหว่างการประชุมเวทีข้าวไทย 2556 หัวข้อ “อนาคตข้าวไทยในเวทีการค้าข้าวโลก” จัดโดยมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ว่า เรื่องที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อสะสางโครงการรับจำนำข้าวคือการตรวจสอบปริมาณสต๊อกข้าวในโครงการทั้งหมดของรัฐบาล เพื่อลดการขาดทุนและการทุจริต ซึ่งไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นรัฐบาลจำเป็นจะต้องทำเรื่องนี้โดยด่วน เนื่องจากเป็นตัวสร้างภาระงบประมาณ เป็นค่าจัดเก็บมหาศาล ทำให้การระบายข้าวของไทยมีปัญหา และเป็นแหล่งทุจริต และการขาดทุนขนาดใหญ่ “วันนี้ตัวเลขข้อมูลสต๊อกข้าวทั้งหมดยังมืดดำ ตัวเลขที่รัฐบาลชี้แจงขาดความน่าเชื่อถือ เพราะรัฐบาลประกาศว่าขายข้าวได้เป็นจำนวนมาก แต่กลับส่งคืนเงินให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้น้อย ไม่สอดคล้องกัน” สำหรับการตรวจสต๊อกโครงการรับจำนำข้าวนั้น ขอเสนอให้มีการตรวจสอบตัวเลขสต๊อกทั้งในทางบัญชี และสต๊อกข้าวจริงที่อยู่ในโกดัง เพื่อจะได้รับรู้สภาพที่แท้จริงว่าข้าวที่เป็นข้าวเก่า หรือข้าวใหม่ปริมาณเท่าไรแน่ เมื่อรู้ข้อมูลที่แน่ชัด จะทำให้การวางแผนเพื่อระบายข้าวทำได้ดีขึ้น เพราะหากรู้ว่าข้าวส่วนใดเป็นข้าวเน่า ก็ต้องยอมรับสภาพ โดยอาจจะต้องออกกฎหมายพิเศษขึ้นมา เพื่อเผาทำลายข้าวเสื่อมสภาพ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ตัวเลขสต๊อกข้าวรัฐที่มีอยู่สูงเกินจริง […]

นิพนธ์ พัวพงศกร: “ผมไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ โดยการปฏิวัติ เราต้องไม่มีการปฏิวัติโดยเด็ดขาด”

ฝนฟ้าตกรวยริน มวลชนม็อบเย็นเยือก ขณะที่อุณหภูมิการเมืองประเทศนี้ร้อนยิ่งกว่าน้ำต้มเดือด การชุมนุมโค่นล้มระบอบทักษิณพัฒนาการจากถนนราชดำเนิน บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ลามเป็นดาวกระจายไปยังถนนหลายสาย และยึดศาลากลางจังหวัด หน่วยงานราชการหลายๆ กระทรวง ขอให้บรรดาข้าราชการหลุดพ้นจากระบอบทักษิณ ขณะเดียวกัน รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อสู้สงครามการเมืองนอกสภาและในสภา ทั้งแก้ต่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และขยายพื้นที่ตามประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงออกไป สถานการณ์ด้านต่างประเทศ สถานทูต 23 ประเทศออกโรงเตือนนักท่องเที่ยวของตนให้หลีกเลี่ยงจุดเสี่ยงของกลุ่มผู้ชุมนุม เพื่อความปลอดภัย วันนี้ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จะมาแสดงความคิดเห็นและชี้แนะแนวทางประเทศไทย ควรหรือไม่ควรทำอะไร ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนอย่างไร …………… สถานการณ์การเมืองที่การชุมนุมพัฒนาการเป็นม็อบดาวกระจายไปยึดกระทรวงต่างๆ และศาลากลางจังหวัด กระทบเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน ตอบไม่ได้ เมื่อกี้ฝรั่งยังโทรศัพท์มาถาม แต่ตอบไม่ได้ เพราะว่าผมไม่เข้าใจ และมีการตั้งคำถามในหลายข้อ แต่ผมไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เรารู้ไหมว่าจะเกิดอะไรขึ้นเวลานี้ และตอบไม่ได้ว่าเป้าหมายของเขานั้น เราไม่รู้ว่าต้องการอะไรในการยึดกระทรวงอะไรต่างๆ อะไรแปลว่าล้มระบอบทักษิณ ตอบไม่ได้ เราเลยไม่รู้ว่ามันจะเดินไปถึงไหน และจุดนั้นคืออะไร การไปยึดกระทรวงการคลังขณะนี้ และประกาศว่าล้มระบอบทักษิณ เสร็จแล้วจะเป็นอะไรต่อไปไม่รู้ เสร็จแล้วเลยไม่รู้ว่าปฏิวัติประชาชนแปลว่าอะไร ล้มระบอบทักษิณแปลว่าอะไร เขาก็ปฏิเสธว่าเขาไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา เราก็ไม่รู้ว่าจะเกิดความรุนแรงไหม เลยไม่รู้ว่าจะเป็นยังไง […]

“นิพนธ์ พัวพงศกร” ตอบโจทย์ทำไมบทบาทของวิชาเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจจึงลดลง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา สมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยได้จัดการประชุมสามัญประจำปี 2556 ที่โรงแรม สวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด มีนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสระดับประเทศมาร่วมงานมากมาย อาทิ ดร.อัมมาร สยามวาลา, ดร.อัจนา ไวความดี, ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ และ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เป็นต้น ภายในงานมีการเสวนาจากนักเศรษฐศาสตร์ภายใต้หัวข้อ “วิชาเศรษฐศาสตร์กับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ” ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจในหัวข้อนี้ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ได้นำเสนอดังต่อไปนี้ โดยเริ่มด้วยคำถามว่า “ทำไมวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีบทบาทลดลงในการกำหนดนโยบายสาธารณะ?” และตอบคำถามว่า “การที่วิชาเศรษฐศาสตร์มีบทบาทลดลงเกิดจากบริบทการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนไป รวมทั้งเกิดจากตัวนักเศรษฐศาสตร์ไทยเอง” ดร.นิพนธ์กล่าวว่า ในยุคเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ วิชาเศรษฐศาสตร์มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะมากเป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบการเมืองเผด็จการยุค “เชื่อผู้นำ ชาติเจริญ” ซึ่งบทบาทสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์คือการนำเสนอนโยบายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ” นโยบายเสถียรภาพการเงิน-การคลัง นโยบายการพัฒนาการเกษตรที่จัดทำโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร เช่น […]

ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร

นักวิชาการเกียรติคุณ/รักษาการผู้อำนวยการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจรายสาขาด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท

1 2 3 4 23