ประชาไท: 30 บาทรักษาทุกโรค ร่วมจ่ายหรือรัฐสวัสดิการ กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

ประชาไท สัมภาษณ์พิเศษ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข­และการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ถึงมุมมองเกี่ยวกับข้อถกเถียงดังกล่าวจากป­ระสบการณ์งานวิจัยการปฏิรูประบบสุขภาพ รวมถึงแนวทางและทางออกของปัญหาค่าใช้จ่ายข­องระบบหลักประกันสุขภาพของไทย

สัมภาษณ์พิเศษ วิโรจน์ ณ ระนอง: เจาะ 30 บาทรักษาทุกโรค ร่วมจ่ายหรือรัฐสวัสดิการ

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของระบบหลัก­ประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ ‘30 บาทรักษาทุกโรค’ กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เริ่มเดินหน้าปฏิรูประบบสาธารณสุข และมีข้อเสนอว่า ต้องการให้ผู้ใช้บริการ 30 บาทรักษาทุกโรคร่วมรับผิดชอบ 30-50 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จนมีกระแสคัดค้านอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีข้อยุติดังเช่นทุกครั้งที่ประเ­ด็นนี้ถูกหยิบยกขึ้นมา ประชาไท สัมภาษณ์พิเศษ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข­และการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ถึงมุมมองเกี่ยวกับข้อถกเถียงดังกล่าวจากป­ระสบการณ์งานวิจัยการปฏิรูประบบสุขภาพและประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงแนวทางและทางออกของปัญหาค่าใช้จ่ายข­องระบบหลักประกันสุขภาพ และการปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุข 00000 ประชาไท : ที่มาของแนวคิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นอย่างไร บางคนอาจมองแค่ว่าทำไมไม่ให้เฉพาะคนจนจริงๆ ? วิโรจน์ : แนวคิดเรื่องนี้โดยหลักมี 2 แบบซึ่งล้วนเห็นตรงกันว่าคนควรได้รับบริการสุขภาพที่จำเป็น แต่เห็นต่างกันในวิธีการทำ แบบแรก สุขภาพเป็นสิทธิขึ้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้รับบริการเมื่อจำเป็นโดยไม่ต้องห่วงเรื่องการเงิน แนวคิดนี้อยู่ในประเทศรัฐสวัสดิการ หรือระบบประกันสังคมในยุโรป แคนาดา ส่วนว่าเอาเงินมาจากไหนก็เอามาจากภาษี โดยเก็บจากแต่ละคนตามความสามารถในการจ่าย แบบที่สอง ประชาชนควรมีส่วนรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของตนเอง ใครรับไม่ไหวรัฐหรือสังคมจะเข้าไปช่วย แนวคิดนี้พบในหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ซึ่งทำให้ประชาชนออมเป็นกองทุนแล้วมาเบิกจ่ายเพื่อรักษา หากไม่พอก็ใช้กองทุนของรัฐ ในสหรัฐอเมริกา […]

The Daily Dose: จำนำข้าวนโยบายเจ้าปัญหาของรัฐบาลเพื่อไทย กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

นโยบายจำนำข้าว รัฐบาลเพื่อไทย กับการช่วยเหลือชาวนาอย่างไร โดยไม่ทำลายกลไกตลาด ออกอากาศทาง Voice TV

คม ชัด ลึก: เงินไม่มีกู้ ชาวนาไม่มีกิน 2 กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

รายการ คม-ชัด-ลึก เรื่อง “เงินไม่มีกู้ ชาวนาไม่มีกิน 2” กับ วิโรจน์ ณ ระนอง วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557

Intelligence: อย่าจับชาวนาเป็นตัวประกัน กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

– นโยบายจำนำข้าวผิดพลาดไหม? ผิดพลาด สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล – นโยบายจำนำข้าวควรยกเลิกไหม? ควรยกเลิก และรัฐบาลควรถูกตรวจสอบ ควรรับผิดชอบทางการเมือง – แต่โครงการจำนำข้าวที่รัฐบาลรับจำนำมาแล้ว ต้องยอมให้รัฐบาลกู้เงินเพื่อไปจ่ายชาวนา – อย่าจับชาวนาเป็นตัวประกัน เป็นเครื่องมือล้มรัฐบาล ล้มการเลือกตั้ง เพราะจะเกิดความเสียหายใหญ่โตมากมาย ทั้งต่อระบอบประชาธิปไตย และชีวิตชาวนาหลายสิบล้านคน ฟังความเห็นจาก วิโรจน์ ณ ระนอง นักวิจัย TDRI ผู้ติดตามนโยบายจำนำข้าวมาตลอด และประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ทำนาด้วยตัวเอง

สถานีทีดีอาร์ไอ: วิเคราะห์โครงการรับจำนำข้าว กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาการดำเนินการในโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลกลับมาเป็นประเด็น talk of the town อีกครั้ง จากการที่ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการยังไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวฤดูการผลิต 2556/57 อะไรคือสาเหตสำคัญของปัญหาในครั้งนี้ แนวทางการแก้ปัญหาให้กับชาวนาควรเป็นอย่างไร อนาคตของอุตสาหกรรมข้าวจะไปในทิศทางไหน รายการสถานีทีดีอาร์ไอจะชวนคุยในประเด็นนี้กับ ดร. วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจสาธารณสุขและการเกษตรจากทีดีอาร์ไอ

1 2 3 4 14