ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์

นักวิชาการเกียรติคุณ/รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาสังคม และฝ่ายการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม

‘ฉลองภพ’ชี้รถไฟความเร็วสูงคุ้มค่าเส้นทางเดียว’กรุงเทพฯ-เชียงใหม่’

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้เปิดเผยถึงผลการวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์จากระบบรถไฟที่ เชื่อมโยงประเทศ เพื่อนบ้าน เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาค” โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเสร็จในช่วงเวลาที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าโครงการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ นายฉลองภพ บอกว่าข้อได้เปรียบของประเทศไทยด้านภูมิศาสตร์ในฐานะศูนย์กลางของประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง การเชื่อมระหว่างประเทศในกลุ่มนี้จะช่วยเสริมความเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศไทย “การเชื่อมต่อทางรถไฟจึงเป็นแนวทางที่หลายประเทศเห็นตรงกัน เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางรถไฟมีต้นทุนที่ถูกกว่าการขนส่งทางถนน อีกทั้งไม่ก่อให้เกิดมลพิษเมื่อเทียบกับการขนส่งด้วยเส้นทางอื่น” ในอดีตมีการศึกษาการเชื่อมต่อทางรถไฟในประเทศภูมิภาค แต่การศึกษาส่วนใหญ่ไม่เอื้อประโยชน์กับประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางของระบบขนส่ง ประเทศจีนจะมีความต้องการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากจีนตอนใต้มายังประเทศอาเซียนทางใต้ หรือ ไทย แต่เส้นทางที่ได้ศึกษาไว้เกือบทั้งหมดจะต้องอ้อมไปทางประเทศเวียดนาม หรือผ่านเข้าไปในประเทศลาว ซึ่งยังไม่มีระบบรถไฟรองรับ แม้จีนพร้อมลงทุนรถไฟจากคุนหมิงมายังเวียงจันทน์ เพื่อให้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า แต่ที่ผ่านมาการเจรจาระหว่างประเทศยังไม่สำเร็จ หากประเทศไทยต้องการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟกับเพื่อนบ้าน สิ่งที่ต้องศึกษาคือ ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นและการวางรูปแบบในการเชื่อมต่อให้มีความชัดเจน เนื่องจากรัฐบาลต้องการคือรถไฟความเร็วสูง แต่ขณะนี้มีการศึกษาเรื่องนี้น้อยมาก ปัจจุบันการเชื่อมเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศมีแนวคิดจากหลายประเทศที่ต้องการดำเนินการ แต่สิ่งที่ขาดคือการวางแผนร่วมกัน เช่น จีนวางแผนเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากคุนหมิงมาเวียงจันทน์ เส้นทางนี้ไทยได้ประโยชน์จากการขนส่งสินค้าเข้าประเทศ เนื่องจากมีเส้นทางรถไฟจากเวียงจันทน์มาหนองคาย “รัฐบาลไทยจะต้องเป็นผู้เจรจากับประเทศต่างๆ โดยกำหนดแผนการพัฒนาระบบรางในอนาคตให้ชัด ถ้าประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลาง เชื่อมต่อการขนส่งสินค้าไปทางเหนือ ผ่านลาว ไปยังจีนตอนใต้ ด้านตะวันออก ผ่านพนมเปญ สู่เวียดนาม ด้านตะวันตก ผ่านพม่า ไปยังอินเดีย รวมจีนตอนใต้อีกทางหนึ่ง […]

คอลัมน์: สัมภาษณ์: ‘ดร.ฉลองภพ’ อดีตขุนคลังชำแหละ’จุดอ่อน’แผนลงทุน 2 ล้านล้านบาท

ขณะที่รัฐบาลกำลังโหมโรงประกาศยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ พร้อมกับแผนการลงทุนครั้งมโหฬาร ทั้งจาก พ.ร.ก.เงินกู้บริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ พ.ศ. …(พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท) ที่เตรียมส่งเข้า ครม.ในต้นเดือน ก.พ.นี้ “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ “ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์” นักวิชาการเกียรติคุณ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ ที่มีดีกรีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วิพากษ์แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และความท้าทายของประเทศไทยในช่วงเวลาถัดจากนี้ ชี้จุดอ่อนขาดเชื่อมโยงเป็นระบบ “จากการที่รัฐบาลกำลังจะออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ถือว่าไม่ได้มาก เพราะเป็นเงินกู้ 7 ปี เฉลี่ยก็ปีละ 2.8 แสนล้านบาท เทียบเป็น 2.7% ของจีดีพี การลงทุนขนาดนี้ถือเป็นทิศทางที่ถูกต้อง เพราะปัญหาของไทยตั้งแต่วิกฤตการเงินปี 2540 การลงทุนของประเทศหดตัวไปมาก ทั้งที่ก่อนวิกฤตมีการลงทุนมากเกินไป ระดับ 140-145% ของจีดีพี แต่ตอนนี้มีการลงทุน 20-25% ของจีดีพีเท่านั้น […]

การตั้งหลักใหม่ภาคเกษตรไทยในอนาคต

เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสาขาเกษตร คือ การยกระดับรายได้ต่อหัวของเกษตรกรให้มีความอยู่ดีกินดีใกล้เคียงกับการทำงานในสาขาเศรษฐกิจอื่น ในอดีตความสำเร็จของการพัฒนาทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ต่อหัวของสาขานอกภาคเกษตร และสาขาเกษตรลดลงจาก 8 เท่าตัวในช่วงต้นทศวรรษ 2550   แต่หลังจากนั้นช่องว่างดังกล่าวยังทรงตัวที่ 4.5-5 เท่าตัว ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่มีเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจคล้ายคลึงกับไทยกลับสามารถลดช่องว่างรายได้ต่อหัวระหว่างสาขานอกภาคเกษตรกับสาขาเกษตรลงเหลือเพียง 1.5 เท่าในกลางทศวรรษ 2560 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจสาขาเกษตร ความสำเร็จในการพัฒนาเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ การอพยพแรงงานออกจากภาคเกษตรและการใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงานทำให้ผลิตภาพการผลิตต่อแรงงานสูงขึ้น การใช้เทคโนโลยีจากการปฏิวัติเขียวและระบบชลประทานที่ทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น การวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ใช้ปัจจัยการผลิตลดลง รวมทั้งนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ผลจากการพัฒนา คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจ และโครงสร้างการผลิตในภาคเกษตรกรรม (economic and structural transformation) ยังผลให้สัดส่วนของจีดีพีเกษตรลดลงจาก 36% ในปี 2503 เหลือ 8-9 %ในปี 2562 ขณะที่สัดส่วนแรงงานภาคเกษตรลดจาก 82% เหลือ 30% ในปีช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเริ่มชะงักงัน ตั้งแต่กลางทศวรรษ 2550 (ดู Dilaka and Thitima 2013; Nipon and Kamphol 2021 และ ดูรูปที่ 1) หลักฐานที่บ่งชี้ว่าเกิดความชะงักงันในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคเกษตร คือ จีดีพีเกษตรแทบจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วง […]

มองแรงงาน จากงานวิจัย

เรื่อง: อนันต์ ลือประดิษฐ์ ภาพ : รชานนท์ อินทรักษา เมื่อถึงวาระที่ May Day เวียนมาอีกคำรบแน่นอนทีเดียวว่า ประเทศไทยยังมีเรื่องแรงงาน ร้อนๆ ให้ได้วิสัชนากัน…ปีนี้ ‘จุดประกาย’ นัดหมาย รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) มาให้มุมมองที่หลากมิติของแรงงาน ด้วยการคลุกคลีอยู่กับข้อมูลวิจัยด้านแรงงานมานานถึง 37 ปี ย่อมสะท้อนภาพให้เรามองเห็นแรงงานในมุมที่แตกต่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เหตุที่ทำให้อาจารย์หันมาสนใจจับเรื่องแรงงานเป็นพิเศษ คือแต่เดิม ผมเทรนมาทางเศรษฐศาสตร์ทรัพยากร ต่อมาผมสอนเศรษฐศาสตร์ที่ดิน เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ แล้วสอนเชิงปริมาณ quantitative analysis แต่ว่าผมต้องให้เครดิตกับ adviser ของผม ท่านเขา เคยทำงานให้มูลนิธิฟอร์ดในเอเชียมาก่อน ท่านมองว่าการที่เราจะกลับมาทำงานในบ้านเรา มีความจำเป็นที่เราจะต้องรู้จัก รู้เขารู้เรา คือ ต้องรู้จักประเทศเพื่อนบ้าน ต้องรู้จักประเทศเพื่อนบ้านในเชิงประวัติศาสตร์ ว่าแต่ละประเทศเพื่อนบ้านใน CLMV ว่าประเทศต่างๆ นี้ เขามีความเป็นมาเป็นไปอย่างไร เขาเติบโตมาได้อย่างไร ในขณะเดียวกัน อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ก็ได้ เพราะสนใจเหมือนกัน ผมกับadviser อีกคน […]

1 2 3