“ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง” นักวิจัยทีดีอาร์ไอ คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 59 สภาวิจัยแห่งชาติได้จัดงานแถลงข่าวรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติประจำปี 2558 โดยคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติได้มีมติให้ประกาศเกียรติคุณนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาต่าง ๆ จำนวน 10 ท่าน โดยมี ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2558 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เป็นรางวัลเชิดชูเกียรตินักวิจัยของประเทศ ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยมอบให้แก่นักวิจัยซึ่งได้อุทิศตนให้กับการวิจัยอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเป็นผลงานวิจัยที่ทำสะสมกันมาเป็นเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ทั้งเป็นผู้ที่มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยอมรับและยกย่องในวงวิชาการนั้นๆ สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยผู้อื่นได้ ในอันที่จะทุ่มเทกำลังใจ และสติปัญญาในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ที่ผ่านมา สภาวิจัยแห่งชาติได้พิจารณาและมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติมาแล้วรวม 31 ปี สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์มีผู้ได้รับรางวัลมาแล้วจำนวน 11 คน ในระหว่างปี 2528-2554 ล่าสุดคนที่ 12 คือ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งเป็นนักวิจัยทีดีอาร์ไอคนที่สามที่ได้รางวัลนี้ ถัดจาก ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา […]

รำลึก 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ “อภิชาต สถิตนิรามัย” อ่านปรากฏการณ์สืบทอดท่วงท่าปฏิบัตินิยมของ “เทคโนแครตกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไทย”

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2558 ณ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มูลนิธิโครงการตำราและสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้จัดงานจัดงานรำลึก 99 ปี ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ พร้อมเปิดนิทรรศการ “คนชื่อป๋วย” โดยได้รับเกียรติจาก ศ. (พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นประธานเปิดงาน มีการแสดงปาฐกถาหัวข้อ “เทคโนแครต กับ เศรษฐกิจไทย” โดย ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค และเศรษฐศาสตร์การพัฒนา และมีการเปิดตัวเว็บไซต์-อีไลบรารี ของมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คลังหนังสือและเอกสารดิจิทัลเพื่อมอบให้เป็นสาธารณสมบัติให้ประชาชนเข้าถึงฟรี เปิดนิทรรศการ “คนชื่อป๋วย” (A Man Called Puey) จัดแสดงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ MBE พระราชทานจากพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ“เทคโนแครตกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไทย” เนื้อหาดังต่อไปนี้ ในปี 2519 บทความของ Stifel ตั้งข้อสังเกตในการศึกษากลุ่มเทคโนแครตภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงความสัมพันธ์ระหว่างขุนทหารผู้กุมอำนาจทางการเมืองกับเทคโนแครตว่า […]

30 ปี ทีดีอาร์ไอ 30 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจไทย

เมื่อพบกับปัญหาที่ยากมากๆ คนไทยเรามักคิดว่าไม่สามารถแก้ไขได้… แต่หากเราให้เวลามากพอ เช่น 30 ปี “ปัญหาที่แก้ไม่ได้” เหล่านี้ ก็จะกลายเป็น “ความท้าทายที่สามารถบรรลุได้” หนังสือ “30 ปีทีดีอาร์ไอ 30 ปีการพัฒนาเศรษฐกิจไทย” จะชวนท่านผู้อ่านมาช่วยกันทบทวนบทเรียนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา พร้อมกับจุดประเด็นในการมองไปข้างหน้าว่า อะไรคือความท้าทายของการพัฒนาประเทศไทยในอนาคตอีก 30 ปี ทั้งนี้ โดยผ่านผลึกความคิดและวิสัยทัศน์ของคณะผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของทีดีอาร์ไอ ในยุคต่างๆ ซึ้งล้วนมีหรือเคยมีบทบาทสำคัญในการกำหนดหรือผลักดันนโยบายของประเทศในช่วงที่ผ่านมา ประกอบด้วย – อานันท์ ปันยารชุน – เสนาะ อูนากูล – อาณัติ อาภาภิรม – ไพจิตร เอื้อทวีกุล – อัมมาร สยามวาลา – โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ – วีรพงษ์ รามางกูร – ณรงค์ชัย อัครเศรณี – ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ – […]

“นิพนธ์ พัวพงศกร” ตอบโจทย์ทำไมบทบาทของวิชาเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจจึงลดลง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา สมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยได้จัดการประชุมสามัญประจำปี 2556 ที่โรงแรม สวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด มีนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสระดับประเทศมาร่วมงานมากมาย อาทิ ดร.อัมมาร สยามวาลา, ดร.อัจนา ไวความดี, ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์, ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ และ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เป็นต้น ภายในงานมีการเสวนาจากนักเศรษฐศาสตร์ภายใต้หัวข้อ “วิชาเศรษฐศาสตร์กับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ” ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจในหัวข้อนี้ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ได้นำเสนอดังต่อไปนี้ โดยเริ่มด้วยคำถามว่า “ทำไมวิชาเศรษฐศาสตร์จึงมีบทบาทลดลงในการกำหนดนโยบายสาธารณะ?” และตอบคำถามว่า “การที่วิชาเศรษฐศาสตร์มีบทบาทลดลงเกิดจากบริบทการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนไป รวมทั้งเกิดจากตัวนักเศรษฐศาสตร์ไทยเอง” ดร.นิพนธ์กล่าวว่า ในยุคเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ วิชาเศรษฐศาสตร์มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะมากเป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบการเมืองเผด็จการยุค “เชื่อผู้นำ ชาติเจริญ” ซึ่งบทบาทสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์คือการนำเสนอนโยบายลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ” นโยบายเสถียรภาพการเงิน-การคลัง นโยบายการพัฒนาการเกษตรที่จัดทำโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร เช่น […]

การใช้ประโยชน์จากระบบรถไฟที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาค

ที่มา : สรุปจากรายงานวิจัยชื่อเดียวกัน โดย ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณ ดร. สุเมธ องกิตติกุล ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส และคณะนักวิจัยฝ่ายการวิจัยทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2554 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555

แผนแม่บทการจัดการธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี

ที่มา : จากบทสรุปสำหรับผู้บริหารในรายงานวิจัยชื่อเดียวกัน ภายใต้โครงการจัดทำแผนแม่บทการจัดการทรัพยากรธรณี (แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรธรณี ยกเว้นในส่วนของซากดึกดำบรรพ์) โดย ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการองค์กร รศ.ดร. ปัญญา จารุศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรธรณีและด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศ.ดร.สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ดร. จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา ดร. สมชาย หาญหิรัญ ที่ปรึกษาโครงการและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรณี ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ที่ปรึกษาโครงการ คุณเสาวลักษณ์ ชีวสิทธิยานนท์ นักวิจัยอาวุโส คุณปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ คุณสุณีพร ทวรรณกุล คุณวินัย แสงสืบ และคุณเรวดี จรุงรัตนาพงศ์ นักวิจัย ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สนับสนุนการวิจัยโดย กรมทรัพยากรธรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2548

คิดยกกำลังสอง: ประเทศไทยควรมีรถไฟความเร็วสูงหรือไม่

อ่านบทความและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ที่ 1. เอกสารนำเสนอ “ร่าง พ.ร.บ. กู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ: เดินหน้าอย่างไรให้คุ้มค่า ถูกทางและเป็นประชาธิปไตย” โดย ดร.สมชัย จิตสุชน และ ดร.สุเมธ องกิตติกุล 2. งานวิจัยเรื่องการใช้ประโยชน์จากระบบรถไฟที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ไทยเป็น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาค https://tdri.or.th/research/h118/ โดย ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์, ดร.ณรงค์ ป้อมหลักทอง, ดร.สุเมธ องกิตติกุล 3. บทความเรื่อง ทีดีอาร์ไอ ชวนคุยเรื่องรถไฟความเร็วสูง (ต่อ) โดย ดร.สมชัย จิตสุชน และดร.สุเมธ องกิตติกุล

สกัดสินเชื่อบ้านหลังที่ 2 ธุรกิจโวยช็อกตลาด เบรกร้อนคอนโดฯไม่อยู่ ‘ประสาร’ เล็งเพิ่มเกณฑ์เงินดาวน์

สัญญาณชัด “ประสาร” รับ กำลังพิจารณา LTV บ้านหลังที่สองดับร้อนตลาดอสังหาฯ ยันอัตราโดสินเชื่อ-หนี้เอ็นพีแอลอยู่ในเกณฑ์ ย้ำห่วงผู้ประกอบการอันโปรโมชันเลยเถิด เผยคอนโดฯหัวหินแข่งดุซื้อห้อง 10 ล้านแถมเก๋งหรูบีเอ็ม แบงก์ยันเข้มงวดปล่อยกู้ต่อเนื่อง ผู้ประกอบการโวยแก้ปลายเหตุ วอนแบงก์ชาติตั้งวงคุยกันก่อนหวั่นตลาดช็อก ส่งสัญญาณถี่กระชั้นขึ้นเป็นลำดับ นับแต่ออกมาปรามการโหมโปรโมชันขายคอนโดมิเนียมที่รุนแรงขึ้นทุกทีในบางพื้นที่ ที่ถูกจับตาหนักคือ ที่พัทยา หัวหิน นครราชสีมา และขอนแก่น ต่อเนื่องถึงการออกเดินสายหารือผู้ประกอบการรายใหญ่ของวงการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จนเกิดข่าวกระพือขึ้นเป็นระยะและชี้ชัดยิ่งขึ้นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เตรียมออกมาตรการสกัดความร้อนแรงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หลังจากที่ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงินของธปท. มีนัดหารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องในสัปดาห์นี้แล้ว ล่าสุด เมื่อบ่ายวันอังคารที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา ก่อนถึงกำหนดนัดหมายให้ผู้สื่อข่าวประจำธปท.เข้ารดน้ำในเทศกาลสงกรานต์ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธปท.กล่าวยอมรับ ข้อเสนอให้เพิ่มเกณฑ์เงินดาวน์ หรืออัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV-Loan To Value) สำหรับการซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ว่า เป็นส่วนหนึ่งที่ธปท.จะนำไปพิจารณาความเหมาะสม ย้ำธปท.ห่วงแข่งเกินเลย โดยผู้ว่าการ ธปท. ชี้ว่า ขณะนี้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในบางพื้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยธปท.ให้น้ำหนักด้านคุณภาพการปล่อยสินเชื่อค่อนข้างมาก เพื่อเป็นแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดภาวะฟองสบู่หรือฟองสบู่แตก โดยได้กำชับไปยังผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ ให้รักษามาตรฐานการปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ ระมัดระวังการแข่งขันไม่ให้อยู่ในสถานการณ์ที่เกินเลย […]

ทีดีอาร์ไอผ่ามุมมองค่าเงิน เลิกพึ่งเฉพาะ ดบ.

ทีดีอาร์ไอผ่ามุมมองบาทแข็ง “ฉลองภพ”แนะเลิกพึ่งดอกเบี้ยเป็นหลัก เตรียมพร้อมรับมือเงินผันผวนระยะสั้น “อัมมาร”แนะกำหนดเป้าหมาย”ค่าจ้าง” สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ “ค่าเงินบาทกับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว” โดยได้เรียนเชิญนักเศรษฐศาสตร์จากสังกัดต่าง ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนกันในประเด็นสำคัญเรื่องค่าเงินบาทกับยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนประเทศในระยะยาว วงเสวนาเห็นว่า เราไม่ควรกังวลและถกเถียงกันเรื่องค่าเงินกับการส่งออกมากจนเกินควร แต่ควรถือโอกาสที่ค่าเงินบาทแข็งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ให้พ้นไปจากการหวังพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก และควรให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนประเทศโดยส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อยกระดับความสามารถทางการผลิตของประเทศ ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นักวิชาการเกียรติคุณทีดีอาร์ไอ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในช่วงต้นของวงเสวนา โดยดร. ฉลองภพย้ำว่า การดำเนินนโยบายทางการเงินควรใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงเน้นไปที่การใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นหลักอย่างที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม อุปสรรคหลักสำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยคือการพึ่งพิงการส่งออกที่สูงมาก โดย ดร.ฉลองภพระบุว่า หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ประเทศไทยพึ่งพิงภาคต่างประเทศสูงขึ้นอย่างมาก โดยดัชนีในปี 2011 การส่งออกของไทยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 75% ต่อจีดีพี โดยที่ก่อนหน้าวิกฤติมีสัดส่วนเพียง 45% เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ อัตราแลกเปลี่ยนจึงมีผลต่อภาคส่งออกไทยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับผลกระทบทางลบจากภาวะเงินทุนไหลบ่าเข้าประเทศ การรับมือต่อความผันผวนของเงินทุนระยะสั้น ดร. ฉลองภพได้แสดงให้เห็นต่อไปว่า ปริมาณและความผันผวนของเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่นักลงทุนหันมาลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) […]

Thaipublica Report: ถก “ค่าเงินบาทกับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว”

ทีดีอาร์ไอระดมนักเศรษฐศาสตร์ ถก “ค่าเงินบาทกับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว”  เสียงส่วนใหญ่ห่วงค่าบาทในระยะสั้นมากกว่า เนื่องจากปัญหา “สงครามค่าเงิน” ของประเทศมหาอำนาจ  และการถาโถมของเงินร้อน แต่ “เห็นต่าง” คุมเงินทุนเคลื่อนย้าย แนะใช้เครื่องมือผสมผสาน “คลัง–แบงก์ชาติ” อย่าไร้รอยต่อ  ควรมีช่องว่าง “คาน” กันบ้าง วันที่ 1 มีนาคม 2556 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) จัดเสวนา TDRI Public Forum ครั้งที่ 3 หัวข้อ “ค่าเงินบาทกับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว” โดยระดมนักเศรษฐศาสตร์มาถกเถียงในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับประเด็นร้อนเรื่องค่าเงินบาท เงินทุนไหลเข้า และอัตราดอกเบี้ย ในมุมมองต่อโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว รวมถึงทางออกในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กับกระทรวงการคลัง โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา ได้แก่ ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ, ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ, ดร.วิมุต วานิชเจริญธรรม คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ […]

สถานีทีดีอาร์ไอ: เสวนาสาธารณะ “ค่าเงินบาทกับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว”

เสวนาสาธารณะทีดีอาร์ไอ “ค่าเงินบาทกับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว” ปาฐกถาพิเศษโดย ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณทีดีอาร์ไอ เรื่อง “ค่าเงินบาทกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศ” (เอกสารประกอบงานเสวนา) เสวนาสาธารณะในหัวข้อ “ค่าเงินบาทกับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว” โดยวิทยากร ดังนี้ 1. ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ 2. รศ. ดร. วิมุต วานิชเจริญธรรม คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. ดร. พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย นักวิเคราะห์ธุรกิจสถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด 4. ผศ. ดร. สมประวิณ มันประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย ผศ. ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเด็นเสวนา: – เราควรถกเถียงประเด็นเรื่องค่าเงินบาทอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ในระยะยาวอย่างไร – ค่าเงินบาทเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะยาวอย่างไร – เราควรใช้โอกาสที่ค่าเงินบาทแข็งตัวปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศอย่างไร – […]

ค่าเงินบาทกับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว

เอกสารประกอบงานเสวนาสาธารณะ ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณทีดีอาร์ไอ เรื่อง “ค่าเงินบาทกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศ”  

1 2 3