ว่าด้วยภาษีมรดก

รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย คนไทยส่วนใหญ่น่าจะดีใจที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้วยการตราภาษีมรดก ในอดีตประเทศไทยเคยประกาศใช้ภาษีมรดกมาแล้วขณะนั้นเรียกว่า “พระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476” เป็นการเรียกเก็บภาษีจากทั้งผู้ตายทางหนึ่งและเก็บจากทายาทผู้รับมรดกอีกทางหนึ่ง แต่ด้วยความยุ่งยากในการจัดเก็บภาษีมรดกดังกล่าวจึงถูกยกเลิกไป ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีหลังจากนั้น สังคมไทยก็ท้าทายรัฐบาลชุดต่างๆ ให้นำภาษีมรดกกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็ไม่มีรัฐบาลใดมีความกล้าหาญพอจนกระทั่งรัฐบาลพล.อ.ประยุทธที่เสนอให้มีการจัดเก็บภาษีมรดกอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดเพราะต้องรอการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีมรดกที่รัฐบาลเสนอนั้นมีข้อกำหนดที่สำคัญ 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ภาษีมรดกกำหนดให้ทายาทที่รับมรดกเกิน 50 ล้านบาท ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ซึ่งการกำหนดฐานภาษีและอัตราภาษีดังกล่าวจะทำให้รัฐบาลมีรายได้ภาษีมรดกน้อยมาก จากฐานข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2556 พบว่าจากจำนวนครัวเรือนในประเทศไทยทั้งหมด 22.63 ล้านครัวเรือน มีครอบครัวที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาทเพียง 17,655 ครัวเรือนเท่านั้น ในจำนวนนี้หากนำจำนวนบุตรมาหารพบว่ามีจำนวนทายาทที่รับมรดกเกิน 50 ล้านบาทเพียง 5,626 คน โดยทายาทแต่ละคนจะรับมรดกเฉลี่ยคนละ 93.61 ล้านบาท เมื่อทายาทเหล่านี้ต้องเสียภาษีมรดกเฉพาะในส่วนที่เกิน 50 ล้านบาท พบว่าทายาทแต่ละคนต้องเสียภาษีให้รัฐเฉลี่ยคนละ 7.67 […]

ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

 อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา  หากพูดถึงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังหมุนเวียนก็จะมีแต่คนสรรเสริญ เพราะเป็นพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสามารถลดการพึ่งพาน้ำมันหรือลดการใช้ถ่านหินลิกไนต์ แต่อาจไม่ลดการนำเข้าเท่าไหร่นะครับ เพราะพลังงานหมุนเวียนบางชนิด เช่น พลังลมหรือพลังแสงอาทิตย์ยังต้องมีการนำเข้ากังหันลมและแผงโซล่าเซลล์จากต่างประเทศในราคาสูงอยู่ แต่ประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน คือ การสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศไทยโดยการกระจายฐานวัตถุดิบ ทำให้การผลิตไฟฟ้าไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องนำเข้ามากนัก ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าได้จากพลังงานหมุนเวียนหลายประเภท ได้แก่ พลังงานชีวมวล (เช่น ของเหลือใช้จากการเกษตร) ก๊าซชีวภาพ (เช่น มูลสัตว์) ขยะ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ เหลืออีกอย่างเดียวเท่านั้นล่ะครับที่ประเทศไทยไม่อยากพูดถึงมันมากนักเพราะกลัววงแตก นั้นคือ พลังงานนิวเคลียร์ ส่วนพลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะนั้น เป็นพลังงานที่น่าส่งเสริมเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะได้ไฟฟ้ามาใช้แล้ว ยังเป็นการลดภาระต้นทุนในการกำจัดของเหลือใช้เหล่านี้ด้วย หรือที่เรียกว่า Waste To Energy นั่นเอง แต่สิ่งที่ผมอยากให้พวกเราให้ความสนใจมากขึ้นคือ วิธีการที่หน่วยงานรัฐนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนนั่นคือ การใช้กลไกการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการรายย่อยโดยการไฟฟ้าฯ (กฟน. และ กฟภ.) การไฟฟ้าฯ ใช้วิธีการรับซื้อที่เรียกว่า “ส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า” หรือ Adder Cost ซึ่งเป็นการประกาศราคารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับใบอนุญาตเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าแล้วขายให้กับรัฐตามอัตรา […]

ว่าด้วยภาษีที่ดิน

รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย การปฏิรูปภาษีที่ดินเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญของประเทศเพราะภาษีที่ดินใหม่สามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องมือนำไปสู่การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ตามศักยภาพและสร้างความเป็นธรรมได้ แต่ในขณะเดียวกันหากภาษีที่ดินใหม่นี้ไม่ได้รับการไตร่ตรองให้ดีอาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่บิดเบือนไปจากศักยภาพ เป็นต้นทุนทางธุรกรรมที่บั่นทอนการพัฒนาประเทศ และเป็นบ่อเกิดของการทุจริตจากการใช้ดุลพินิจตีความว่าอะไรคือ ที่ดินว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ ที่เจ้าของที่ดินต้องเสียภาษีสองเท่า ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่ารูปแบบภาษีที่ดินจะออกมาเป็นอย่างไรแต่ข้อมูลเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่าภาษีที่ดินใหม่จะเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์ในอัตราร้อยละ 0.5 ของราคาประเมิน ที่อยู่อาศัยในอัตราร้อยละ 0.1 ของราคาประเมิน ที่ดินเพื่อการเกษตรในอัตราร้อยละ 0.05 ของราคาประเมิน และที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ใช้ประโยชน์เก็บภาษีเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุก 3 ปี แต่ไม่เกินร้อยละ 2.00 ของราคาประเมิน ด้วยรูปแบบภาษีที่ดินเช่นนี้ พอจะประเมินได้ว่าในส่วนของภาษีที่ดินเชิงพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย และที่ดินเพื่อการเกษตรนั้น ภาษีที่ดินใหม่นี้จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างมาก หากรายได้ภาษีที่ดินนี้ถูกจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเจตนาก็จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งจะเป็นผลดีหากเงินรายได้ส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ถูกนำมาพัฒนาพื้นที่ในสิ่งที่จำเป็น แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นคือในส่วนของการเก็บภาษีที่ดินว่างเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในอัตราเพิ่มขึ้นเท่าตัวทุก 3 ปี แต่ไม่เกินร้อยละ 2.00 ของราคาประเมิน ในส่วนนี้เองมีความเป็นไปได้ว่าการมีบทลงโทษผู้ที่ไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินจะทำให้มีการนำที่ดินว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น แต่การเร่งให้มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินว่างเปล่านั้นสังคมอาจต้องแลกกับการสูญเสียทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่จะตามมา เช่น เจ้าของที่ดินจะมีต้นทุนทางธุรกรรมที่สูงขึ้นจากการรวบรวมที่ดินเพื่อรอการพัฒนา ที่ดินอาจถูกแบ่งออกเป็นแปลงย่อยๆ เพื่อเร่งขายให้เกิดการใช้ประโยชน์โดยเร็วแต่ก็จะทำให้สังคมเสียโอกาสที่จะตักตวงประโยชน์ที่มากกว่าในอนาคตหากสามารถนำที่ดินมาพัฒนาตามศักยภาพตามช่วงเวลาที่เหมาะสม ท้ายสุด การเก็บภาษีที่ดินว่างเปล่าในอัตราที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวทุก 3 ปี อาจนำไปสู่การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการตีความว่าอะไรคือที่ดินว่างเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ถ้าที่ดินถูกนำไปสร้างอาคารพาณิชย์แต่หาคนเช่าไม่ได้เป็นอาคารพาณิชย์ว่างเปล่าจะเข้าข่ายที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือไม่ หรือการปลูกสวนกล้วยบนที่ดินเพื่อการเกษตรนับว่าเป็นการใช้ประโยชน์หรือไม่ และเจ้าของที่ดินต้องปลูกพืชอะไรจึงเรียกว่าได้ทำประโยชน์แล้ว […]

การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม

สารบัญ บทสรุปผู้บริหาร บทที่ 1 การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมือง : บทนำและผลการศึกษาโดยสังเขป โดย นิพนธ์ พัวพงศกร, อัมมาร สยามวาลา และ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช บทที่ 2 การผูกขาดกับความเหลื่อมลํ้าในภาคธุรกิจ โดย เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ บทที่ 3 การแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรกับการกระจุกตัวของผลตอบแทนส่วนเกิน โดย นิพนธ์ พัวพงศกร บทที่ 4 ผลตอบแทนส่วนเกินจากสัมปทาน: กรณีศึกษาสัมปทานโทรคมนาคม โทรทัศน์ การจำหน่ายสินค้าปลอดอากร และทางด่วนขั้นที่ 2 โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช และ อิสร์กุล อุณหเกตุ บทที่ 5 การแสวงหาผลตอบแทนส่วนเกินในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิช และ เทียนสว่าง ธรรมวณิช บทที่ 6 การใช้อิทธิพลในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ โดย อดิศร์ […]

ทีดีอาร์ไอแนะรัฐรอบคอบอุดหนุนพลังงาน

แนะรัฐใช้ความรอบคอบจัดโครงสร้างเงินอุดหนุนด้านพลังงาน ระบุไทยอุดหนุนพลังงานสูงติดอันดับ 20 ประเทศแรก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมกับ International Institute for Sustainable Development (IISD) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “Civil Society Workshop on Fuel and Electricity Subsidies” โดยมีการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูปการอุดหนุนพลังงานของประเทศไทย จากผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งนี้ คณะวิจัยจาก IISD และ ทีดีอาร์ไอ ได้นำเสนอภาพรวมความเข้าใจต่อการอุดหนุนพลังงานโดยระบุว่า ประเทศไทยมีการใช้พลังงานค่อนข้างสูง โดยมีการนำไปใช้ในภาคครัวเรือน ขนส่ง อุตสาหกรรม และการผลิตไฟฟ้า สำหรับโครงสร้างราคาพลังงานนั้น จากจุดเริ่มต้นที่ราคาหน้าโรงกลั่น ภาคปิโตรเคมีจ่ายเพิ่มเพียงภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.63% ขณะที่ภาคครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม มีภาระต้องที่ต้องจ่ายเพิ่มคือภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล เงินสมทบเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าการตลาด ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการอุดหนุนราคาพลังงานหลายตัวทั้งแอลพีจี เอ็นจีวี ดีเซล ค่าไฟฟ้า และเอทานอล จึงทำให้ราคาขายปลีกในแต่ละภาคการใช้งานมีความแตกต่างกัน และยากที่จะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพราะจะกระทบกับผู้มีรายได้น้อย […]

เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกด้วยวิถีทางเศรษฐศาสตร์

TITLE  : เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกด้วยวิถีทางเศรษฐศาสตร์. AUTHOR(S)  : นิรมล สุธรรมกิจ; อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา; บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์. PUBLICATION  : กรุงเทพฯ : สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, 2555. PHYSICAL DESC  : 148 หน้า : ภาพประกอบ. SERIES  : ชุดโครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมและยุทธศาสตร์ลดโลกร้อน ; ลำดับที่ 8. NOTE  : สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). CORPORATE BODY  : สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. SUBJECT  : การลดก๊าซเรือนกระจก–ไทย/ ก๊าซเรือนกระจก–การควบคุม/ เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม–ไทย/ เศรษฐศาสตร์–ไทย–เครื่องมือ CALL NO  : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นิพนธ์ พัวพงศกร นำทัพรับวิจัยปฏิรูประบบจัดการน้ำ เน้นการใช้ที่ดิน

ทีดีอาร์ไอ เปิดตัวโครงการปฏิรูประบบบริหารจัดการน้ำประเทศ “นิพนธ์” เผยใช้เวลา 3 ปี วิจัยเน้นส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง หนุนแผนแม่บทรบ. ด้านอาณัติ ชี้จัดองคาพยพระบบน้ำ คู่ขัดแย้้งต้องหาจุดยืนร่วมกันให้ได้ วันที่ 29 พฤศจิกายน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและ International Development Research Centre (IDRC) เปิดตัวโครงการศึกษา “Adaptation Options to Improve Thailand’s Flood Management Plan” ศึกษาการปฏิรูปการจัดการน้ำของประเทศไทย : การวิเคราะห์เชิงสถาบัน และรูปแบบการปรับตัว โดยมี ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการกิตติคุณทีดีอาร์ไอ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โดยทีมวิจัยประกอบด้วย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.สมชัย จิตสุชน และ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวิรุฬห์ ดร.นิพนธ์ กล่าวว่า ภายหลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่ก่อความเสียหายต่อประเทศเป็นมูลค่ากว่า […]

น้ำท่วม ความขัดแย้ง และการละเมิดสิทธิ

อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ปัญหาน้ำท่วมประเทศไทย (ยกเว้นกรุงเทพฯ ชั้นใน) นอกจากได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแล้ว ยังสร้างความขัดข้องใจและความขัดแย้งในหมู่คนไทยด้วยกันหลายประการ ดูได้จากปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายบิ๊กแบ๊คที่ดอนเมือง ความขัดแย้งที่ถนนพระราม 2  ความขัดแย้งระหว่างอำเภอลำลูกกากับเขตสายไหมและคลองสามวา ความขัดแย้งที่คลองประปาระหว่างชาวดอนเมืองและชาวปากเกร็ด ตลอดจนความขัดแย้งจากการเจรจาต่อรองปริมาณการปล่อยน้ำระหว่างชุมชนที่อยู่ในและนอกเขตประตูกั้นน้ำต่างๆ ในเขตจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพฯ เป็นต้น ผมเองก็ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายเสียด้วยครับ ดังนั้นผมจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์จากท่านผู้รู้กฎหมายทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นท่านทนายความ ท่านผู้พิพากษา หรือคณะศาลปกครองที่ล้วนเป็นที่พึ่งสำคัญของประชาชนว่า การดำเนินการที่ถูกที่ควรด้านการป้องกันน้ำท่วม “ตามหลักนิติธรรม” นั้นต้องทำอย่างไร  โดยผมขอถามคำถามซัก 5 ข้อดังต่อไปนี้ ข้อที่หนึ่ง หากเขตปกครอง ก. นำกระสอบทรายมาทำทำนบกั้นน้ำไม่ให้น้ำเข้าเขตปกครองของตน แต่การกระทำดังกล่าวทำให้เขตปกครอง ข. ที่มีพื้นที่ติดกันต้องรับภาระแทนโดยต้องเผชิญกับน้ำท่วมในระดับที่สูงกว่าปกติ การกระทำของเขตปกครอง ก. เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนในเขตปกครอง ข. หรือไม่ครับ หากเป็นอย่างนี้ประชาชนในเขตปกครอง ข. จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้บริหารเขตปกครอง ก. ได้มั๊ยครับ […]

ที่อยู่คน ที่อยู่ป่า ทางเดินน้ำ และที่ทำกิน…ผังเมืองไทย?

รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา adis@nida.ac.th คณบดี คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เหตุการณ์น้ำท่วมน้ำแล้งและดินโคลนถล่ม กำลังส่งสัญญาณสำคัญว่าประเทศไทยจะปล่อยให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างไร้ทิศทางอย่างนี้หรือ?  ให้ใครก็ตามที่มีเงิน เศรษฐีต่างชาติ นักการเมือง หรืออดีตข้าราชการผู้ใหญ่สามารถใช้เงินวิ่งเต้นทำอะไรก็ได้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและให้ประเทศต้องรับภาระความเสียหาย กรณีน้ำท่วมประเทศไทยที่สร้างความสูญเสียมหาศาลถูกอ้างเสมอว่าเกิดขึ้นเพราะฝนตกชุกฝนตกมากแต่แท้จริงแล้วต้นตอสำคัญของน้ำท่วมคือการใช้ประโยชน์ที่ดินผิดประเภทจากการแสวงหาประโยชน์ เราเห็นการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศไทยเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง  เราเห็นพื้นที่ชายเขากลายเป็นสวนยางพาราหรือไร่ส้มและทำให้ชุมชนด้านล่างต้องเผชิญกับปัญหาดินโคลนถล่ม  กลุ่มทุนใช้พื้นที่ต้นน้ำในภาคเหนือเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้ทำลายความสามารถของธรรมชาติในการทำหน้าที่เป็นฟองน้ำหรืออ่างเก็บน้ำธรรมชาติเพื่อดูดซับน้ำฝนและอุ้มน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งจนนำมาสู่ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้   ที่ดินที่จัดไว้เพื่อเกษตรกรรมย่านรังสิตแปรสภาพไปเป็นหมู่บ้านจัดสรร   พื้นที่ๆ ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ เช่น อยุธยา ถูกล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม เราเห็นการสร้างบ้านเรือนบุกรุกเข้าไปในทางไหลของน้ำ  มีการสร้างบ้านจัดสรร ถนน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ขวางทางน้ำ  นิคมอุตสาหกรรมขยายตัวเข้าไปในพื้นที่กันชนหรือพื้นที่สีเขียวและมีโรงงานสร้างติดรั้วโรงเรียน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะมีบางคนในประเทศนี้ไม่เชื่อในเรื่องของการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่เชื่อเรื่องการกำหนดโซนนิ่ง (zoning) หรือ การบังคับใช้ผังเมืองของประเทศนั่นเอง คนกลุ่มนี้เชื่อว่าเจ้าของที่ดินมีสิทธิส่วนบุคคลที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของตัวเองอย่างไรก็ได้ ความคิดเช่นนี้ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง และที่สำคัญคือทำให้สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีความเปราะบางไม่สามารถรองรับภัยธรรมชาติได้ ขอยกตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพนะครับว่า ในบ้านเราเองแท้ๆ เราจะปล่อยให้กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปโดยไม่มีกฎเกณฑ์เลยหรือครับ ในบ้านของเราๆ มีห้องนอน ห้องน้ำ […]

การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับประเทศไทย

ที่มา : สรุปจากรายวิจัยชื่อเดียวกัน โดย ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษา ดร. กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ นักวิชาการ คุณปริญญารัตน์ เลี้ยงเจริญ และคุณพิศสม มีถม นักวิจัยอาวุโส ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สนับสนุนการวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้ชุดโครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนมกราคม 2555

ปี 2553 “การลดความเหลื่อมลํ้าและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ” (Reducing Inequality and Creating Economic Opportunity)

หัวข้อที่ 1: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทั่วถึง ผู้เสนอ: ดร. อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หัวข้อที่ 2: การลดความเหลื่อมล้ำ หัวข้อที่ 2.1 การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: ค่าใช้จ่ายระบบสวัสดิการสังคมที่คนไทยต้องการ ผู้เสนอ: ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้วิจารณ์: ดร. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หัวข้อที่ 2.2 การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: การจัดหาและจัดสรรทรัพยากรทางการเงินเพื่อรองรับระบบสวัสดิการ ผู้เสนอ: ดร. สมชัย จิตสุชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้วิจารณ์: ดร. คณิศ แสงสุพรรณ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง หัวข้อที่ 2.3 เศรษฐศาสตร์การเมืองของระบบสวัสดิการ ผู้เสนอ: ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้วิจารณ์: ผศ.ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อที่ 3: การสร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจ หัวข้อที่ […]

ปี 2552 “การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม”

การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม : กรอบแนวคิดและภาพรวมในการศึกษา โดย: ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ไฟล์เสียง) หัวข้อที่ 1 ผลตอบแทนส่วนเกินในเศรษฐกิจไทย: การผูกขาดในระบบเศรษฐกิจไทย อำนาจเหนือตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ และการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตร ผู้เสนอ: ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หัวข้อที่ 2 ผลตอบแทนส่วนเกินจากทรัพยากรของประเทศ: สัมปทาน การใช้อิทธิพลเข้าถึงทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ (ไฟล์เสียง) ผู้เสนอ: ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หัวข้อที่ 3 มาตรการการคลังเพื่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม: การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี (ไฟล์เสียง) ผู้เสนอ: ดร. อมรเทพ จาวะลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร. […]

1 4 5 6 7