Energy Transition

5 เรื่องที่ต้องรู้
ในยุคพลังงานสะอาด

ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานไปทั่วโลก ให้หันหลังจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มาสู่การใช้แหล่งเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานครั้งสำคัญของโลก

ชวนทำความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ผ่าน “5 เรื่องที่ต้องรู้ในยุคพลังงานสะอาด”

รู้ 1

รู้เป้าหมายของคนทั้งโลก

ทั่วโลกมีเป้าหมายร่วมกัน
ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก … 

ในเวทีระดับโลกได้มีการพูดถึงเป้าหมาย เส้นทาง ระยะเวลา ที่แต่ละประเทศต้องร่วมมือกันในการพยายามหยุดยั้งวิกฤติโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่ในระดับผู้นำประเทศ จนถึงภาคประชาชน เพื่อรักษาอุณภูมิของโลกไม่เกิน 1.5 องศาเมื่อเทียบกับก่อนการปฎิวัติอุตสาหกรรม (จุดเริ่มต้นที่ทำให้อุณภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์)

รู้ 2

รู้ทางลัดสู่เป้าหมาย… คือ ด้านพลังงาน

การใช้ไฟ (ภาคพลังงาน) ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด

กิจกรรมการใช้พลังงานของคนทั่วโลก (การทำความร้อน, การคมนาคม, การใช้ไฟฟ้าในอาคาร) คือส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด เมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ (กิจกรรมการผลิตสิ่งของในอุตสาหกรรม หรือ กิจกรรมในภาคเกษตรกรรม)

เพราะกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานส่วนใหญ่ ต้องใช้การอาศัยเชื้อเพลิงฟอสซิลและอยู่ในทุกกระบวนการใช้ชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การใช้ไฟในบ้านเรือนหรืออาคาร การใช้ไฟฟ้าในโรงงาน การใช้น้ำมันในการเดินทาง การบิน การขนส่ง

การเปลี่ยนไปใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานสะอาดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จึงเป็นทางลัดที่จะทำให้เปลี่ยนแปลงตัวเลขการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด และคุ้มค่าต่อการลงทุน

รู้ 3

พลังงานสะอาด…

ไม่ใช่แค่เทรนด์ แต่เป็นจุดเปลี่ยนของโลก

มนุษย์เราได้เปลี่ยนผ่านด้านพลังงานมาแล้วหลายครั้ง
ยุคเริ่มแรกสุดหลายร้อยปีก่อนพลังงาน มาจากฟืน ซึ่งเป็นชีวมวลดั้งเดิม ก่อนที่จะเริ่มเปลี่ยนมาใช้ถ่านหิน หลังจากนั้นอีกไม่ถึง 100 ปี มนุษย์จึงเริ่มการพึ่งพาน้ำมัน และ 30 ปีต่อมาก็เริ่มใช้ก๊าซธรรมชาติ

จนล่าสุด หลังจากที่ทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงความไม่ยั่งยืนของแหล่งพลังงานฟอสซิลและผลกระทบต่อภาวะโลกรวน เราเริ่มพยายามเปลี่ยนแหล่งพลังงาน จากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) มายังแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ และพลังงานหมุนเวียน  เช่น พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์

รู้ 4

รู้เป้าหมายของประเทศไทย

เมื่อทั่วโลกกำลังมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการปรับตัวและแรงกดดันที่จะตามมาในอนาคต ไทยจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมุ่งหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ไปด้วย เช่น การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การเตรียมพร้อมแท่นชาร์จสำหรับรถยนต์ EV การนำเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แรงกดดันทางภาษีจากต่างประเทศสำหรับสินค้าที่มีกระบวนการที่ก่อให้เกิดคาร์บอนสูง

HAlf MArathon เป้าหมายครึ่งทาง

2050

Carbon Neutrality เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

ลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุด โดยปริมาณที่ปล่อยต้องเท่ากับปริมาณที่กักเก็บ ส่วนที่ลดไม่ได้ให้ชดเชยด้วยคาร์บอนเครดิตหรือใช้ภาคป่าไม้ช่วยดูดซับ

Full Marathon เป้าหมายที่ท้าทาย

2065

Net zero เป้าหมายศูนย์สุทธิ

ลดการปล่อยก๊าซเรียนกระจก (ทุกตัว) ให้ได้มากที่สุด ส่วนที่ลดไม่ได้ให้ภาคป่าไม้ช่วยดูดซับ

รู้ 5

มองไปในอนาคต…ต้องลดอย่างไรให้ถึงศูนย์

เราจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่ได้เลยใช่หรือไม่ ?

Net zero (เป้าหมายศูนย์สุทธิ) หมายถึง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ “น้อยที่สุด” เท่าที่แต่ละภาคส่วนจะทำได้ และใช้นโยบายต่าง ๆ มาจัดการกับก๊าซในส่วนที่เหลือ เช่น การใช้เทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา การซื้อคาร์บอนเครดิต หรือสิทธิในการก่อมลภาวะ การปลูกต้นไม้เพิ่มเพื่อให้ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการคำนวณให้หักลบกัน โดยมีเป้าหมายคือ การควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศา เมื่อเทียบกับก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม 

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน

หลักคิดสร้างนโยบาย สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน

เพิ่ม

“เพิ่ม” คือประสิทธิภาพและลดความสูญเสียในการใช้พลังงานที่เรามีอยู่ เช่น การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน รถยนต์พลังงานไฟฟ้า

เปลี่ยน

“เปลี่ยน” คือเปลี่ยนแหล่งพลังงาน เพิ่มการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ เช่น ลมและแสงอาทิตย์ 

เก็บ

“เก็บ” คือการใช้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอนที่ลดไม่ได้ เช่น เทคโนโลยีดูดซับคาร์บอนแล้วนำมากักเก็บไว้ (carbon capture and storage)

จากการศึกษาของ โครงการ CASE*

ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนใน 30 ปีข้างหน้าได้ แต่ต้องอาศัยการกำหนดนโยบายและความพร้อมจากรัฐบาล ให้การตั้งเป้าหมายการลดคาร์บอนในภาคไฟฟ้า อุตสาหกรรม และขนส่ง เข้มขึ้น และต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้

CASE for Southeast Asia

โครงการพลังงานสะอาด เข้าถึงได้ และมั่นคงสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (CASE) ดำเนินการโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ), กระทรวงเศรษฐกิจ และการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศแห่งรัฐบาลเยอรมัน (BMWK), สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ERI) และ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

ชวนดูย้อนหลัง งานสัมมนา “จาก COP26 สู่ COP27 :

เดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภาคพลังงาน 2050″

ENERGY TRANSITION SERIES!

5 เรื่องต้องรู้