TDRI ชี้ระวังติดกับดักตัวเอง

ปี2014-12-01

ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อทาให้รัฐบาล ธุรกิจและประชาชนไทยสนใจเฉพาะปัญหาระยะสั้นมากกว่าปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้พ้น “กับดักรายได้ปานกลาง” การปฏิรูปการศึกษาและการรักษาสิ่งแวดล้อม

ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2025 และใน อีก 30 ปีไทยจะมีคนสูงอายุถึง 36% หากไม่สามารถหลุดพ้น กับดักรายได้ปานกลางได้ทัน ไทยจะกลายเป็นประเทศแรกๆ ในเอเชียที่ “แก่ก่อนรวย” และ “แก่โดยไม่มีสวัสดิการเพียงพอ” เพราะกองทุนประกันสังคมจะมีปัญหาจนถึงขั้นล้มละลายในประมาณปี 2045 หากไม่มีการปฏิรูปอย่างทันการณ์

เพื่อให้เห็นถึงภาพอนาคตเศรษฐกิจไทยใน 3 ทศวรรษหน้า และความท้าทายต่างๆ บทความนี้จะยกตัวอย่างภาพสถานการณ์ที่เป็นไปได้ จะขอยกตัวอย่างว่าการพัฒนาในภาพสถานการณ์นี้คล้ายกับแนวทางในปัจจุบัน แต่อัตราการเติบโตเฉลี่ยจะลดลงเหลือ 3.55% ต่อปี ซึ่งทำให้คนไทยมีรายได้ต่อหัว 17,000 ดอลลาร์ในปี 2045 และหลุดพ้นจากระดับรายได้ปานกลางในปี 2036 หรือหลังจากเข้าสู่สังคมสูงอายุสมบูรณ์กว่าทศวรรษ การพัฒนาประเทศในแนวทางเดิมจะทำให้ไทยมีปัญหาสิ่งแวดล้อม หากรัฐบาลดำเนินนโยบายประชานิยม โดยใช้เงินปีละ 1 แสนล้านบาท จะทำให้เปลี่ยนผ่านล่าช้าออกไป 4 ปี หากเกิดวิกฤติอัตราแลกเปลี่ยน หรือวิกฤติธนาคาร การเปลี่ยนผ่านจะล่าช้าออกไป 2 ปี และ 4 ปีตามลำดับ และหากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง การเปลี่ยนผ่านก็จะล่าช้าออกไปอีก ดังนั้น ในกรณีที่การบริหารความเสี่ยงผิดพลาด ไทยจะไม่พ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางแม้ใน 3 ทศวรรษหน้า

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยจะถูกขับเคลื่อนจากการยกระดับผลิตภาพในภาคอุตสาหกรรมจากการนำเอาระบบการผลิตแบบจีนมาใช้อย่างกว้างขวาง การทำ R&D การออก แบบและพัฒนาแบรนด์สินค้า ตลอดจนการย้ายการผลิตมูลค่าเพิ่มต่ำไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภาพนี้รัฐบาล ต้องมีนโยบายที่เหมาะสมเช่น เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพสูง พัฒนาวิศวกรและช่างเทคนิค รณรงค์ให้ภาคเอกชนเพิ่มผลิตภาพและสร้างนวัตกรรม ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลไม่ควรดึงดูดแรงงานต่างด้าวทักษะต่ำเข้ามาในไทย เพราะจะทำให้อุตสาหกรรมพึ่งพาแรงงานราคาถูกต่อไป ในภาพนี้ รัฐบาลจะต้องไม่มีนโยบายอุดหนุนราคาสินค้าเกษตรมากจนเกษตรกรมุ่งผลิตสินค้าในเชิงปริมาณ โดยไม่สนใจคุณภาพ และต้องไม่คุ้มครองบริการที่ผูกขาด ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนสูงต่อเศรษฐกิจ

เมื่อเปรียบเทียบประเทศไทยในปี 2045 จะเห็นได้ว่า การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศเกษตรทันสมัยและบริการฐานความรู้ น่าจะเป็นภาพที่พึงปรารถนาที่สุด เพราะจะมีอัตราการเติบโต เฉลี่ยสูงสุด ซึ่งทำให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางในปี 2028 หลังจากเข้าสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ไม่กี่ปี ขณะที่มีความเหลื่อมล้ำและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

 


ตีพิมพ์ครั้งแรก: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557