เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีกระแสข่าวว่ากระทรวงการคลังกำลังทบทวนการจ่ายสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใหม่ โดยจะยกเลิกจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุที่มีสินทรัพย์เกินกว่า 3 ล้านบาท หรือ มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาท และจ่ายให้เฉพาะผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำแทน เพื่อลดภาระทางการคลังของภาครัฐกว่าหมื่นล้านบาท
แต่การลดเบี้ยยังชีพนี้จะช่วยให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณได้จริงหรือ เมื่อผู้สูงอายุส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 9 ล้านคน มีงบ 5.5 หมื่นล้าน/ปีในการดูแล เป็นทั้งผู้มีรายได้ประจำและไม่ประจำ ซึ่งเป็นรายได้ไม่แน่นอน ทำให้ยากต่อการแบ่งว่าใครควรได้รับเงินต่อ และยากต่อการตามติดตาม
เมื่อไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจน นอกจากเป็นการเพิ่มงบประมาณมากกว่าประหยัดโดยใช่เหตุแล้วยังขัดกับมาตรการโอนเงินภาษีช่วยคนจนที่กระตุ้นให้ผู้มีรายได้น้อยทำงานมากขึ้นด้วย
ติดตามการวิเคราะห์ การปรับจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และข้อเสนอทางออกในเชิงนโยบายเพื่อรับมือกับสังคมสูงวัยและภาระทางการคลังของรัฐ