แผนงานการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและพฤฒพลังสำหรับผู้สูงอายุในภาวะวิกฤตและการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (โครงการวิจัยย่อยที่ 3 อุปสงค์ของการมีที่อยู่อาศัยในระยะปานกลางถึงระยะยาวที่สอดรับกับสถานการณ์สังคมสูงวัยของไทย)

ที่อยู่อาศัย” เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสําคัญต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์ ในขณะเดียวกันการตัดสินใจในเรื่องของการมีที่อยู่อาศัยก็เป็นการตัดสินใจที่สําคัญและส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางด้านการเงิน ตลอดจนส่งผลต่อสุขภาวะของคนไทยในระยะยาว เนื่องจากการซื้อขายที่อยู่อาศัยโดยมากจะต้องอาศัยการผ่อนชําระระยะยาว ซึ่งอาจจะสูงมากถึง 30 ปี หรือมากกว่า ทําให้การตัดสินใจดังกล่าวมีการสร้างภาระผูกพันให้กับผู้ซื้อบ้านเป็นเวลายาวนาน และตลอดระยะเวลาที่ชําระหนี้ยังทําให้ผู้ซื้อต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากวิกฤติต่างๆ ที่จะเข้ามากระทบต่อรายได้ เช่น ปัญหาการตกงาน ปัญหาอุบัติเหตุที่ทําให้ไม่สามารถทํางานได้ หรือแม้แต่วิกฤติโควิด-19 ที่เข้ามากระทบ

การตัดสินใจในการมีที่อยู่อาศัยในสังคมสูงวัย มีความซับซ้อนมากกว่าสถานการณ์ปกติ จํานวนของประชากรมีแนวโน้มลดลงในระยะยาว อุปสงค์ของการมีบ้านจึงมีแนวโน้มลดลงตาม และนําไปสู่สถานการณ์อุปทานล้นเกินที่การตัดสินใจในการมีที่อยู่อาศัยอาจจะไม่ใช่สินทรัพย์ที่สะสมมูลค่าและอาจจะทําให้ช่วงเวลาในการตัดสินใจ (timing decision) มีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อฐานะความเป็นอยู่ของบุคคล

อ่านเพิ่มเติมได้ใน รายงานการวิจัยและนวัตกรรมฉบับสมบูรณ์แผนงานการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและพฤฒพลังสำหรับผู้สูงอายุในภาวะวิกฤตและการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ (โครงการวิจัยย่อยที่ 3 อุปสงค์ของการมีที่อยู่อาศัยในระยะปานกลางถึงระยะยาวที่สอดรับกับสถานการณ์สังคมสูงวัยของไทย) ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

    Download