โครงการประเมินความก้าวหน้าและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเวลา: กรณีศึกษาที่ได้รับการหนุนเสริมผ่านสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ธนาคารเวลาเป็นรูปแบบกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชนได้รวมตัวกันเพื่อดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนทักษะ ประสบการณ์และการให้บริการพื้นฐานที่เป็นที่ต้องการในชุมชน การแลกเปลี่ยนทําให้เกิดการสะสมเวลา ซึ่งเปรียบเสมือนกับการออมเงินในบัญชีที่สามารถนํามาเรียกใช้ในยามจําเป็น หรือสะสมไว้เพื่อใช้ในช่วงสูงวัย หรือเรียกใช้ได้อย่างอิสระตามความต้องการ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในฐานะที่เป็นองค์กรสําคัญในการช่วยขับเคลื่อนแนวคิดเรื่องธนาคารเวลาให้บังเกิดผลในภาคปฏิบัติได้มีการดําเนินบทบาทสําคัญ ได้แก่ การสนับสนุนภาควิชาการ โดยอาศัยการทบทวนสถานการณ์ในต่างประเทศ การเสนอแนวทางในการขับเคลื่อน และการติดตามและประเมินผล นอกจากนี้ สสส. ยังให้การสนับสนุนการบริหารจัดการผ่านการสนับสนุนการจัดทําระบบฐานข้อมูล การจัดทําคู่มือเพื่อจัดตั้งและดําเนินการธนาคารเวลา การออกแนวทางปฏิบัติระเบียบกติกา ตลอดจนมาตรการสนับสนุนเพิ่มแรงจูงใจและเสริมเครือข่ายให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างมีพลัง

ผลการประเมิน พบว่า ธนาคารเวลาในไทยมีการพัฒนาธนาคารเวลาที่แตกต่างจากปรัชญาของธนาคารเวลาที่ดำเนินการในต่างประเทศ ในส่วนของความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ มีเพียงบางแห่งที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนทางสังคม โดยธนาคารเวลามีส่วนช่วยในการสร้างกิจกรรมและสร้างสัมพันธ์ในสังคมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติมได้ใน โครงการประเมินความก้าวหน้าและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเวลา: กรณีศึกษาที่ได้รับการหนุนเสริมผ่านสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งได้รับการอนุญาตจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการเผยแพร่งานวิจัย

Download