พินิจเศรษฐกิจการเมือง: แก้ปัญหา-ยกระดับ ใบอนุญาตก่อสร้าง กทม.

กรุงเทพมหานครมีการก่อสร้างในพื้นที่มีมูลค่าหลักแสนล้านบาทต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างที่พักอาศัย จากสถิติพบว่า กทม. พิจารณาออกใบอนุญาตก่อสร้างและดัดแปลงอาคาร ไม่น้อยกว่า 16,000 รายต่อปี 

แต่พบว่าการขอใบอนุญาตของกทม.มีปัญหาและอุปสรรคอยู่มาก โดยเฉพาะกฎระเบียบที่มีความซับซ้อน และไม่ “ชัดเจน” ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ “ดุลยพินิจ” ในการพิจารณา ซึ่งเอื้อต่อการเรียกรับประโยชน์จากการใช้ดุลยพินิจที่ “เกินสมควร”ได้

การศึกษาเรื่อง “โครงการกิโยตินกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร” ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ โดยการสนับสนุนขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน พบว่า  การขอใบอนุญาตก่อสร้างฯของ กทม. ไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามข้อแนะนำของธนาคารโลกเท่าที่ควร แบ่งเป็น “4 ไม่”  คือ ไม่เร็ว ไม่ชัด ไม่เชื่อม และไม่ทันสมัย

ดังนั้นจะต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักการการขออนุญาตก่อสร้างที่ดี คือ มีต้นทุนการขออนุญาตต่ำ มีความโปร่งใสสูง และที่สำคัญต้องไม่ลดมาตรฐานกำกับดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาคาร  โดยกทม.ควรดำเนินมาตรการ “4 เพิ่ม” คือ เพิ่มความเร็ว เพิ่มความชัดเจน เพิ่มการเชื่อมข้อมูล และเพิ่มความทันสมัย

ติดตามรับฟังพินิจเศรษฐกิจการเมือง: แก้ปัญหา-ยกระดับ ใบอนุญาตก่อสร้าง กทม. กับคุณ ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ นักวิจัยอาวุโส ทีมนโยบายการกำกับดูแลที่ดี ทีดีอาร์ไอ ในรายการพินิจเศรษฐกิจการเมือง ทางวิทยุจุฬาฯ