tdri logo
tdri logo
10 สิงหาคม 2023
Read in Minutes

Views

พินิจเศรษฐกิจการเมือง: บทเรียน หุ้น STARK สู่การเพิ่มคุณภาพระบบควบคุมการสอบบัญชี

4.3 หมื่นล้านบาทเป็นตัวเลขความเสียหายรวมจากกรณีหุ้น STARK ความเสียหายครั้งนี้ นับเป็นการเขย่าตลาดทุนอย่างรุนแรง มูลค่าความเสียหายมากกว่าครึ่ง หรือราว 2.5 หมื่นล้านบาท เกิดจากการ “ตกแต่งบัญชี” ซึ่งมีทั้งสร้างยอดขายปลอม และการทำธุรกรรมอำพราง

ปัญหาดังกล่าวตอกย้ำว่า บทบาทของการสอบบัญชีในตลาดหลักทรัพย์มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะผู้จัดทำรายงานทางการเงินที่บ่งบอกผลการดำเนินกิจการว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะส่งสัญญาณให้กับนักลงทุนในการเลือกลงทุนในกิจการนั้นๆ

แต่ถ้าผู้สอบบัญชีไม่ได้แสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงินตามมาตรฐาน หรือจริยธรรมการสอบบัญชีแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาคือ รายงานทางการเงินที่ไม่สะท้อนสภาพที่แท้จริงของกิจการ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้นักลงทุนได้รับความเสียหายจากการลงทุนในกิจการที่มีปัญหา

ขณะที่ในปัจจุบันกฎหมายมุ่งไปที่ผู้สอบบัญชีเป็นรายบุคคลเท่านั้น ทำให้เมื่อเกิดความบกพร่องในงานสอบบัญชี จะกลายเป็นความบกพร่อง “เฉพาะ” ผู้สอบบัญชีเพียงคนเดียว

ส่วนสำนักงานสอบบัญชีไม่ได้ถูกดึงเข้ามาร่วมรับผิดด้วย ซึ่งถือว่าเป็น”ช่องว่าง” ของกฎหมาย เพราะในความเป็นจริงแล้วข้อบกพร่องนั้นอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบควบคุมคุณภาพของสำนักงานสอบบัญชี อีกทั้งลักษณะการทำงานสอบบัญชีไม่ใช่งานที่จะทำโดยลำพังได้

ดังนั้นเพื่อให้การกำกับดูแลการสอบบัญชีของกิจการในตลาดทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องมีการกำกับดูแลควบคู่กันไประหว่างผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชี เชิญติดตามรับฟังได้ในรายการพินิจเศรษฐกิจการเมือง: บทเรียน หุ้น STARK สู่การเพิ่มคุณภาพระบบควบคุมการสอบบัญชี โดย “เขมภัทร ทฤษฎิคุณ” นักวิจัยทีมกฎหมายเพื่อการพัฒนา ทีดีอาร์ไอ

นักวิจัย

เขมภัทร ทฤษฎิคุณ
นักวิจัยอาวุโส

แชร์บทความนี้

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด