แผนที่งานวิจัยด้านความปลอดภัยทางถนนของจักรยานยนต์ในประเทศไทย

อุบัติเหตุทางถนนในไทยยังเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 20,000 ราย โดยจากข้อมูลของ World Health Organization (2018) พบว่าสัดส่วนผู้เสียชีวิตต่อจำนวนประชากรในไทยสูงที่สุดในทวีปเอเชีย และการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในไทยมีจำนวนสูงที่สุดในโลก ขณะเดียวกันจากข้อมูล 3 ฐานของกรมควบคุมโรคในปี 2559 ยังพบว่ารถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดและมีสัดส่วนการเสียชีวิตสูงกว่าร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับยานพาหนะประเภทอื่น ทั้งนี้ กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 15

จากสถานการณ์ความรุนแรงของอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความพยายามจากภาครัฐในการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ยังไม่สัมฤทธิ์ผลในปัจจุบัน เนื่องด้วยอุปสรรคที่ค่อนข้างซับซ้อนหลายประการ

ที่ผ่านมา งานวิชาการด้านอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม งานศึกษาที่ผ่านมายังขาดทิศทาง และอาจไม่ครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน การกำหนดแนวทางการทำงาน และการกำหนดหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องในเชิงบูรณาการได้ ยิ่งไปกว่านั้น ในด้านของการผลักดันผลงานวิจัยไปสู่การกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ

ดังนั้น การจัดทำแผนที่งานวิจัยด้านความปลอดภัยทางถนนของรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อบ่งชี้ช่องว่างทางความรู้ (knowledge gaps) ที่ควรได้รับการเติมเต็มด้วยงานวิจัย เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายในการลดอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์ได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นหลักฐา