tdri logo
tdri logo

ทำอย่างไร ให้รถเมล์ไทยดีกว่าเดิม

ระบบขนส่งสาธารณะเป็นรูปแบบการเดินทางที่สะดวก และจำเป็น ในเมืองที่มีประชากรคนเมืองหนาแน่น
เพราะสามารถรองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก จึงช่วยลดปัญหาการจราจร ปัญหาสิ่งแวดล้อม

แต่สำหรับประเทศไทย ระบบขนส่งสาธารณะที่มีมายาวนาน อย่างรถเมล์
กลับยังไม่ใช่ทางเลือกการเดินทางที่ได้รับความนิยมสำหรับคนเมือง

Policy Popup ชวนดูสาเหตุที่ทำให้รถเมล์ไทยยังไม่ใช่ตัวเลือกหลักการเดินทางของคนกรุง
และติดตามการปฏิรูปในปี 2562 ว่าจะช่วยเข้ามาตอบโจทย์แก้ปัญหารถเมล์ไทยอย่างไรบ้าง

ข้อเสนอจาก การศึกษาพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารจัดการรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ปี 2562

ปัญหารถเมล์ไทยที่ใครก็เจอรถเมล์ไทยไปต่อได้ ต้องปรับรับเมืองเปลี่ยน

รถเมล์ไทย ใครให้บริการ

รถเมล์ที่ “รัฐ” เป็นเจ้าของ

รถเมล์สีครีมแดง / รถปรับอากาศสีส้ม

เดินรถโดย องค์การขนส่งมวลชน หรือ ขสมก

รถเมล์ บริษัทเอกชน

รถเมล์มินิบัสหลากสี / รถปรับอากาศสีน้ำเงิน

เดินรถโดย บริษัทเอกชน ที่มีกว่า 100 บริษัท มีทั้งบริษัทที่ให้ ขสมก. เช่ารถ และบริษัทที่ทำกิจการเอง คือมีคนขับและกระเป๋ารถเมล์ในอู่ตนเอง

ปัญหารถเมล์ไทยที่ใครก็เจอ

บริการอื่นตอบโจทย์กว่า

รถเมล์เก่า

รถซิ่ง รอนาน

ตัวอย่าง สาย 8 แฮปปี้แลนด์ – สะพานพุทธ ในตำนาน

ทำไมต้องซิ่ง

ขสมก. มีจำนวนรถไม่พอ

รถเมล์สาย 8 เริ่มต้นให้บริการด้วยรถสีขาวครีมโดย ขสมก. ในปี 2519 แต่เนื่องจากมีผู้ใช้บริการในเส้นทางนี้เป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนรถไม่พอกับผู้โดยสาร ขสมก. จึงต้องเปิดให้เอกชนมาร่วมบริการ

เปิดให้ "ใบอนุญาต" เดินรถร่วมบริการ

4 บริษัทเอกชนผู้ให้บริการรถเมล์ จึงเริ่มเดินรถในเส้นทางสาย 8 ร่วมกัน ทั้งรถเมล์ร้อน รถปรับอากาศเอกชน 

รถเมล์แข่งกันทำยอด

การมีรถเมล์หลายบริษัทในหนึ่งสาย แต่ไม่มีการแบ่งระยะเวลา ข้อกำหนดในการเดินรถ จึงทำให้ต้องแข่งขันกันเอง แย่งรับผู้โดยสาร เพื่อทำยอดตั๋ว

ระบบใบอนุญาต
หนึ่งปัญหาของรถเมล์

ให้หนึ่งเส้นกับหลายบริษัท

ให้โดยไม่ต้องแข่งขัน

ให้โดยไม่กำหนดเงื่อนไขการบริการ

ระบบการให้ใบอนุญาตอย่างไม่เป็นระบบ และไม่มีข้อกำหนดให้แต่ละบริษัทวางแผนเดินรถร่วมกัน ทำให้สายนั้นไม่มีตารางเดินรถที่ชัดเจน เกิดปัญหาการขับขี่แข่งกัน และอีกหลายปัญหาที่ผู้ใช้บริการต้องเจอ

รถเมล์สายอื่น มีปัญหาคล้ายกัน

บางสายเจอปัญหารอนาน เพราะไม่มีกำหนดมาตรฐานจำนวนรถขั้นต่ำในหนึ่งเส้น บางสายเจอปัญหารถเมล์มีหลายบริษัทขับขี่แข่งกัน เพราะรถเมล์ไทยที่ผ่านมา ยังไม่มีการจัดการระบบเส้นทาง

บริการอื่นตอบโจทย์กว่า

อีกไม่นานเส้นทางรถเมล์ 70% จะทับซ้อนกับรถไฟฟ้า

ที่กำลังจะเกิดขึ้นทั่วเมือง

ผู้โดยสารรถเมล์ลด รถส่วนตัวกลับเพิ่ม

ที่มา: รวบรวมจากรายงานประจำปี 2560 ของสำนักการจราจารและขนส่ง กทม. โดยทีดีอาร์ไอ (2562)

รถเมล์ไทยไปต่อได้

แค่ปรับรับเมืองเปลี่ยน

จัดระเบียบการให้บริการ

เปลี่ยนบทบาท

ขสมก.ที่อดีตเคยเป็นผู้ให้ใบอนุญาตกับเอกชน ควรเปลี่ยนเป็นผู้เดินรถเทียบเท่ากันกับเอกชน และกรมการขนส่งทางบกจะเข้ามาเป็นผู้กำหนดมาตราฐานกำกับดูแลรถเมล์

เปลี่ยนเจ้าของเส้นทางในหนึ่งสาย ให้เหลือน้อยราย

ในเส้นทางเดินรถเมล์หนึ่งสายควรมีบริษัทเอกชนน้อยราย เพื่อลดการขับขี่แข่งกันแย่งผู้โดยสาร และผู้ประกอบการสามารถสร้างระบบตารางเวลาภายในสายเพื่อตอบสนองต่อจำนวนผู้โดยสารในเส้นทางได้

ผู้ใช้ให้เป็นหัวใจของการพัฒนา

ปรับปรุงระบบ KPI ให้คะแนนรถเมล์

ยกระดับการให้บริการของรถเมล์ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องปรับการบริการ และรายงานเพื่อต่อใบอนุญาต โดยหากคะแนนแย่กว่าเกณฑ์ ต้องยื่นคำขอใหม่และอาจโดนลงโทษ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับปรุงการให้บริการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น

บริการที่น่าเชื่อถือ 30 คะแนน

ตรงเส้นทาง ครบเที่ยว ตรงเวลา

คุณภาพการบริการ 30 คะแนน

ให้คะแนนจากความพอใจผู้ใช้

บริการที่น่าเชื่อถือ 30 คะแนน

ตรงเส้นทาง ครบเที่ยว ตรงเวลา

ปฎิรูปเส้นทางเดินรถ 

ปรับปรุงเส้นทางด้วยโครงสร้างเดิมประมาณ 70% เป็นเส้นทางเก่า​ เพื่อลดการทับซ้อนของเส้นทางลดความยาวเส้นทางที่ไม่จำเป็น

รวมไปถึงการปรับโซนการเดินรถ และเสนอหลักคิดในการพัฒนาเรียงเลขระบบสายรถเมล์ โดยกรมการขนส่งทางบก TDRI ร่วมกับ Mayday เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านการโหวต และแสดงความเห็นผ่านทางเว็บไซต์ จนได้มาเป็น 9 โซนเดินรถ และหลักคิดระบบเรียงสายรถเมล์ ซึ่งได้เสนอแนวทางการประชาสัมพันธ์สื่อสารก่อนการทดลองใช้อีกด้วย

\

ปรับปรุงโครงข่ายเส้นทางให้ครอบคลุม

เพิ่มขึ้น + 52.22%
โครงข่ายเดิม 2582.23 ตร.กม
โครงข่ายใหม่ 3,933.49 ตร.กม

\

9 โซนเดินรถ

ข้อเสนอครั้งนี้ มีปักหมุดโซนการเดินรถใหม่ จากเดิมที่โซนการเดินรถไม่ครอบคลุม มีการวิ่งรถทับเส้นทางกัน

โซนเดินรถใหม่มีลักษณะเป็นก้นหอย โดยวนจากเมืองชั้นในสุดออกมานอกสุด คำนึงถึงการแบ่งส่วนการปกครองแต่ละเขตในพื้นที่ กทม.

p

การเรียงเลขระบบสายรถเมล์ ระบบเดิม

ที่ผ่านมา ระบบเลขสายรถโดยสารประจำทางในไทยได้มาจากการเรียงลำดับ
ตามเส้นทางที่ให้ใบอนุญาต เส้นทางที่มาก่อน ได้ลำดับเลขก่อนไม่สามารถบอกได้ว่ารถเมล์ในแต่ละเลขสายไปที่ใดบ้างยากต่อการพัฒนา เมื่อมีการปฏิรูปรถโดยสารประจำทาง

\

หลักคิดในการพัฒนาเรียงเลขระบบสายรถเมล์ในอนาคต

การวางระบบเลขสายใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดระบบการเดินรถในอนาคต ที่จะต้องมีการปรับอย่างสม่ำเสมอจากการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้า หรือระบบขนส่งมวลชนอื่นที่มาทดแทน

ในปี 2562 จึงเสนอการทดลองเลขสาย 25 สาย ตาม “แนวทางกำหนดเลขสายตามโซน”  คือ 

 

หลักที่ 1 คือ โซนการเดินรถต้นทาง

หลักที่ 2 และ 3 คือ รันเลขรถในโซน

ป้ายหน้าของรถเมล์ไทย

ต่อจิ๊กซอว์ภาพใหญ่ระบบเดินทางคนเมือง ให้รถเมล์ เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งสาธารณะสำหรับทุกคน

โครงสร้างพื้นฐานที่ดี

คนมีส่วนร่วม

ระบบขนส่งสาธารณะของทุกคน

ระบบขนส่งสารธารณะสามารถรองรับผู้โดยสารต่อเที่ยวได้จำนวนมาก จึงใช้พื้นที่บนท้องถนนน้อยกว่าการขับขี่รถยนต์ การลดจำนวนรถยนต์บนท้องถนนและการมีรถเมล์จะช่วยแก้ปัญหาการจราจร และปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษทางอากาศของเมือง ที่ส่วนหนึ่งมาจากไอเสียการเผาไหม้ของรถ