การสัมมนาวิชาการประจำปี 2547 เรื่อง “เหลียวหลังแลหน้า: ยี่สิบปีเศรษฐกิจสังคมไทย”

คำกล่าวเปิด การสัมมนาประจำปี 2547 เรื่อง “เหลียวหลังแลหน้า : ยี่สิบปีเศรษฐกิจสังคมไทย”  โดย อานันท์ ปันยารชุน การเปลี่ยนแปลงของคนไทยและสภาพแวดล้อม กลุ่มย่อยที่ 1.1 การเปลี่ยนแปลงของคนไทย 1. การเปลี่ยนแปลงของคนไทยจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน  โดย วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ 2. โอกาสสุดท้ายของประเทศไทย: 6 ปีทองของการสร้างรากฐานการพัฒนาคนให้ก้าวไกลอย่างยั่งยืน  โดย สุวรรณี คำมั่น และ สุจิตราภรณ์ นาคะลักษณ์ 3. ความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพและชีวิตของคนไทย  โดย นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ กลุ่มย่อยที่ 1.2 การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคม 1. การสร้างชุมชนเพื่อรองรับกับความท้าทายของสังคมไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า  โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ 2. นวัตกรรมทางสังคมกับความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น  โดย จรัส สุวรรณมาลา 3. ระบบความยุติธรรมแห่งอนาคตกับสันติสุขในสังคมและชุมชน  โดย กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ และ […]

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2546 เรื่อง “ความมั่นคงของมนุษย์”

1. คุณภาพแห่งชีวิต ปฏิทินแห่งความหวัง : จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน  2. โครงร่างรายงานคณะกรรมการความมั่นคงของมนุษย์  3. อะไรนะ…”ความมั่นคงของมนุษย์”   โดย ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม 4. รายงานการสัมมนาวิชาการประจำปี 2546 เรื่อง ความมั่นคงของมนุษย์  กลุ่ม 1 ผลกระทบต่อความมั่นคงของคนไทยจากสภาพแวดล้อมภายนอกประเทศ 1. การก่อการร้าย : อาชญากรรมข้ามชาติที่กระทบต่อความมั่นคงของไทย  โดย ปณิธาน วัฒนายากร 2. มาตรการในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์เฉพาะสตรีและเด็ก  โดย สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ และ พยงค์ศรี ขันธิกุล 3. ยาเสพติดกับความมั่นคงของคนไทย  โดย นวลน้อย ตรีรัตน์ 4. การจ้างแรงงานต่างด้าวกับความมั่นคงของมนุษย์  โดย ยงยุทธ แฉล้มวงษ์, จักรกฤษณ์ จิระราชวโร และ กันยารัตน์ กิตติสารวุฒิเวทย์ กลุ่ม 2 สภาพแวดล้อมทางสังคมกับความมั่นคงของมนุษย์ 1. […]

มาตรการเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19

ภาคการก่อสร้างมีความสำคัญต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีการพึ่งพาแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก แต่หากปราศจากการบริหารจัดการที่ดีแล้ว มาตรการปิดแคมป์อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิดได้ และจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว เนื่องจากจำนวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดโครงการก่อสร้างคาดว่ามีถึงประมาณ 7 แสนคน และผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับค่าปรับตามสัญญาก่อสร้างและขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ เช่น การสั่งซื้อเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์มาใช้ในโครงการก่อสร้าง คณะผู้เขียนจึงขอนำเสนอมาตรการระยะสั้น โดยเน้นที่การดูแลและเข้าถึงแรงงานข้ามชาติให้สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุด ในระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุด ดังนี้ 1.การปิดแคมป์ด้วยหลัก 4อ (อาหาร อาการ อาศัย และอาชีพ) เพื่อให้สามารถยับยั้งการระบาดอย่างได้ผล ให้คนงานสามารถอยู่ในแคมป์ได้ตลอดระยะเวลากักตัว ดังนั้น จำเป็นต้องมีการจัดสรรพื้นที่ในแคมป์ให้เหมาะสม คนงานไม่ว่าสัญชาติใด และมีสถานะอย่างไร (รวมถึงแรงงานก่อสร้างคนไทยที่อยู่นอกระบบประกันสังคม) จำเป็นต้องได้รับอาหารที่เพียงพอและมีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและสามารถต้านทานเชื้อไวรัสได้ หรือหากติดเชื้อ ก็มีอาการไม่หนักจนต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล และต้องมีการตรวจหาเชื้อเพื่อคัดกรองเชิงรุกอย่างทั่วถึง หากพบเชื้อก็ต้องแยกตัวออก และหากมีอาการที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ก็ควรมีพื้นที่รักษาที่มีเครื่องมือพร้อมและเข้าถึงได้ตลอดเวลา ส่วนของที่พักอาศัยต้องลดความแออัดและโอกาสในการแพร่เชื้อ และที่สำคัญคือต้องให้สามารถประกอบอาชีพได้ หรือต้องมีเงินชดเชยการขาดรายได้ในอัตราที่เหมาะสมระหว่างที่ถูกปิดแคมป์ มิเช่นนั้นแล้วอาจไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนย้ายออกนอกแคมป์ได้  2.ไม่ใช้มาตรการเหมาโหล (one-size-fits-all) รัฐต้องทำความเข้าใจลักษณะที่อยู่ของแรงงานก่อสร้างเพื่อออกมาตรการควบคุมโรคให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ แคมป์คนงานแบ่งออกได้เป็นสามประเภท ได้แก่ (1) แคมป์ที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ค่อนข้างดีกว่าประเภทอื่นและมักเป็นของบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น ทำจากตู้คอนเทนเนอร์ คนงานในกลุ่มนี้น่าจะสามารถทำงานต่อไปได้ตามหลัก 4อ ข้างต้น เพราะคนงานส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานที่มีสุขภาพแข็งแรง แม้จะติดเชื้อก็ยังทำงานได้ตามปรกติ แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าคนงานที่เริ่มมีอาการมากต้องให้หยุดงานและแยกตัวออกมาจากแคมป์ หรือแยกที่อยู่ภายในแคมป์ (รวมทั้งสมาชิกครอบครัวที่มีอาการหนักด้วย) เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างโดยตรง แต่รัฐควรให้บริการด้านการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน (2) แคมป์ชั่วคราวของผู้รับเหมาที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างที่มักเป็นเพิงสังกะสี หากนายจ้างได้ปรับปรุงสภาพที่พักอาศัยและจัดให้มีส่วนพยาบาลแล้ว ก็ควรให้ทำงานต่อได้ตามหลัก 4อ เช่นกัน และมีเงื่อนไขเรื่องแยกตัวคนงานที่ป่วยหนัก/สมาชิกครอบครัว ออกจากการอยู่อาศัยรวมกับผู้อื่น  (3) แคมป์นอกพื้นที่ก่อสร้างของผู้รับเหมาช่วงหรือผู้รับเหมารายย่อยซึ่งแรงงานจะมาทำงานแบบเช้าไปเย็นกลับ แรงงานกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อในชุมชนที่พักอาศัย อาจพิจารณาโมเดล Bubble […]

ผลกระทบ COVID-19 ระบาดรอบ 2 ต่อเนื่องรอบ 3 กับทิศทางตลาดแรงงานไทย

รศ.ดร. ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์ และทีมวิจัย สถานการณ์ระบาด COVID-19 รอบ 1 ถึง 3 โดยสังเขป ประเทศไทยพบการระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส-2019 หรือ COVID-19 ตั้งแต่ต้นมกราคม 2563 จำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ จนถึงมีนาคม 2563 ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็นหลักร้อยและมียอดผู้ป่วยใหม่ 188 คน ในวันที่ 15 มีนาคม 2563 ซึ่งถือว่าเป็นวันที่สูงสุดของการระบาดรอบแรก แล้วจึงลดลงต่อเนื่อง รักษาระดับการติดเชื้อสองหลักเอาไว้ถึง 9 เดือนและมีผู้เสียชีวิตน้อยมากจนได้รับคำชมจากองค์การระหว่างประเทศว่า ประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นอีกไม่นานก็เกิดการระบาดรอบ 2 ขึ้น   ผู้เขียนได้ติดตามแบบแผนการระบาดของประเทศในแถบเอเชียที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก ตั้งแต่สิงหาคม 2563 ที่ก่อนหน้านั้นได้เกิดระบาดในคลัสเตอร์แรงงานต่างด้าวประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีมาตรฐานการดูแลและบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวกึ่งฝีมือ ที่สูงกว่าประเทศไทยมาก สำหรับประเทศไทย ในที่สุดก็เกิดการระบาดขึ้นที่ตลาดกลางกุ้งจังหวัดสมุทรสาคร เริ่มตั้งแต่ ประมาณวันที่ 19 ธันวาคม 2563 มียอดผู้ติดเชื้อ 576 […]

อัตราการว่างงานกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ?

รศ.ดร.ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์ มีประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าการว่างงานของประเทศไทยไม่สูงและไม่เป็นปัญหา แต่ระยะหลังเมื่อได้ฟังหรือได้อ่านเกี่ยวกับตัวเลขจำนวนและอัตราการว่างงาน เช่น ในไตรมาส 1 ปี 2560 ที่เผยแพร่โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่ามีคนว่างงาน 463,319 คน หรือร้อยละ 1.21 ของกำลังแรงงาน 38.21 ล้านคน ดูเหมือนจะไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนหรือในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์แรงงาน ถือว่าประเทศไทยมีการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) จึงไม่น่าห่วงแต่อย่างใดในภาพรวม แต่ถ้าจะวิเคราะห์ลึกลงไปสักนิดโดยนำตัวลขการว่างงานของปี 2560 ไปเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปี 2557 (ก่อนมี คสช.) จะพบว่า มีสิ่งที่เหมือนกันคือ อัตราการว่างงานสูงสุดเมื่อแรงงานมีอายุ 35-39 ปี ทั้งในปี 2557 และปี 2560 โดยปี 2560 มีจำนวนคนว่างงาน 463,379 คน ซึ่งสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2557 (จำนวน 341,117 คน) หรือเพิ่ม 122,162 คน เช่นเดียวกับอัตราการว่างงานในปี 2560 สูงกว่าปี 2557 […]

ตัวเลขว่างงานกับอนาคตอาชีพคนไทย ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์ ถึงแม้ว่าในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การบริหารงานของ คสช. ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยกลับมาเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่องอีกครั้งและถ้าจะเปรียบเทียบกับสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันแล้ว สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอาจจะยังคงไม่ดีนักถ้าเทียบกับบางประเทศในอาเซียน เช่น ในปี 2559 คาดว่า GDP ของประเทศไทยขยายตัวที่ 3.2% ซึ่งไทยเรามองว่าน่าจะเริ่มฟื้นตัวพ้นจุดต่ำสุด แต่เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชาขยายตัว 7% สปป.ลาว 7.2% เวียดนาม 6.5% ฟิลิปปินส์ 6.0% อินโดนีเซีย 5.1% และมาเลเซีย 4.4% เป็นต้น การที่ประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำต่อเนื่องมาหลายปี ย่อมจะมีผลต่อเนื่องถึงการจ้างงานในตลาดแรงงาน ซึ่งไทยมีกำลังแรงงานในเดือน ม.ค. 2560 ประมาณ 37.8 ล้านคน มีขนาดตลาดแรงงานเป็นลำดับที่ 4 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ตลาดแรงงานของไทยเริ่มมีกำลังแรงงานลดลง โดยปี 2559 มีกำลังแรงงาน 38.7 ล้านคน ปีปัจจุบันเหลือ 37.8 ล้านคน หายไปจากตลาดประมาณ […]

ถึงเวลาปรับค่าจ้างขั้นต่ำได้หรือยัง

ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์ นับตั้งแต่ประเทศไทยขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ (สำหรับแรงงานแรกเข้า) เมื่อเดือนเมษายน 2555 จำนวน 7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล 5 จังหวัด และจังหวัดภูเก็ตเป็น 300 บาท และขึ้นจังหวัดที่เหลือเป็น 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ทำให้ทุกจังหวัดมีค่าจ้างเท่ากันต่อเนื่องมาอีก 2 ปี คือ ปี 2557-2558 โดยไม่มีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพื่อเปิดโอกาสให้สถานประกอบการมีการปรับตัวกับค่าจ้าง ซึ่งผลปรากฏว่า ในภาพรวมยังมีแรงงานทั่วประเทศไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ 2.11 ล้านคน หรือ 14.8% โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีคนทำงานไม่เกิน 50 คน ((1-9 คน (33.6%) 10-49 (12%)) แสดงให้เห็นว่า สถานประกอบการขนาดเล็กยังไม่สามารถปรับตัวจ่ายค่าจ้างเต็ม 300 บาทได้เป็นจำนวนมาก ตารางที่ 1     ร้อยละของแรงงานยังไม่ได้ค่าจ้าง 300 บาท ปี 2558      […]

ข้อควรพิจารณาในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2559

ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์ เมื่อใกล้ถึงวันแรงงานก็มีเสียงเรียกร้องจากตัวแทนภาคแรงงานขอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ(ตามสัญญา) อีกแล้วครับ คำถามก็คือถึงเวลาที่ค่าจ้างของลูกจ้างเอกชนหลังจากแช่แข็งมาแล้ว 3 ปีควรจะขึ้นได้หรือยัง ที่จริงคงยังจำกันได้ว่าคณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติได้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตั้งแต่ต้นปี 2556 หลังจากทดลองขึ้นเฉพาะ 7 จังหวัดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีเมื่อกลางปี 2555  โดยขอแช่แข็งค่าจ้างขั้นต่ำ ไปอีก 3ปี  แต่ถึงแม้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่ค่าจ้างของแรงงานก็ยังเพิ่มอยู่ดีตามการขึ้นค่าจ้างประจำปี เช่น จากข้อมูลการสำรวจการมีงานทำของประชากรไตรมาส 3 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าค่าจ้างเฉลี่ยจะยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะช่วงปี 2556 ถึง 2557 เพิ่มขึ้นถึง 11.5% สำหรับแรงงานโดยทุกกลุ่มอายุ   ขณะที่แรงงานวัย 20-24 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานทำงานได้ไม่นาน เงินเดือนเพิ่มขึ้น 9.7%  เช่นกัน สาเหตุที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงทั้งแรงงานโดยรวมและแรงงานใหม่ ก็เนื่องจากสถานประกอบการจำนวนมากยังขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้แรงงานแรกเข้ายังไม่ครบ จึงทยอยปรับขึ้นค่าจ้างค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาค่าจ้างเฉลี่ยของปี 2557 ถึง 2558 หลังสิ้นสุดข้อตกลงแช่แข็งค่าจ้างขั้นต่ำจะพบว่าค่าจ้างกลับมาสะท้อนความเป็นจริงของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผลก็คือ ในภาพรวมทุกอายุค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียง 1.7% และกลุ่มแรงงานใหม่อายุ 20-24 ปี เพิ่มขึ้นเพียง 0.7% เท่านั้น […]

กระทรวงแรงงานติดกลุ่มหน่วยงานระดับกระทรวงที่มีการวิจัยน้อยที่สุดในประเทศไทย

รศ.ดร. ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านพัฒนาแรงงาน, TDRI จากการศึกษาของโครงการพัฒนาระบบจำแนกงบประมาณภาครัฐซึ่งทำการวิจัย โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ซึ่งเป็นโครงการของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พบว่า หน่วยงานที่มีงบประมาณการวิจัยน้อยที่สุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558  จำนวน 6 ลำดับแรก คือ หน่วยงาน งบประมาณ (ล้านบาท) สัดส่วนร้อยละงบประมาณวิจัย (%) กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 22.49 0.11 หน่วยงานตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ 11.69 0.06 กระทรวงการคลัง 9.88 0.05 กระทรวงพาณิชย์ 7.14 0.03 กระทรวงแรงงาน 2.20 0.01 หน่วยงานของศาล 1.50 0.01 รวมย่อย 54.90 0.27 งบประมาณวิจัยโดยรวมของประเทศ 20,709.00 100.00 ที่มา:   โครงการ “พัฒนาระบบจำแนกงบประมาณภาครัฐเพื่อการวิจัย”รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สิงหาคม 2557 บทที่ 6 จากตารางข้างต้นเป็นที่น่าสังเกตก็คือ มีหน่วยงานระดับกระทรวงสำคัญๆ […]

“สมรรถนะ” โอกาสรอดของผู้จบอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในอนาคต

“ดร.ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์  ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)   กล่าวถึง การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน(ความต้องการกำลังคน)และนโยบายการศึกษา  ระบุว่า ผู้จบอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในอนาคต  ต้องมีสมรรถนะหรือคุณภาพสูงเท่านั้นจึงจะเอาตัวรอดได้” โดยการศึกษาพบว่า  เศรษฐกิจไทยในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมามีความผันผวนค่อนข้างมากส่งผลให้ตลาดแรงงานของไทยโดยเฉพาะด้านอุปสงค์มีความผันผวนค่อนข้างมากเช่นกัน เท่าที่ผ่านมาภาคการผลิตและบริการของไทยในยุคต้นๆ ใช้ผู้ที่จบการศึกษาในระดับบนคือ มัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไปเป็นสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 20 และเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี 2553  ที่จริงหลังจากปี 2533 เป็นต้นมา ภาคเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตแบบกึ่งเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว กอปรกับทางรัฐบาลมีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาให้เรียนฟรีจาก 9 ปี เป็น 12 ปี ทำให้มีผู้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้นและกลายเป็นกำลังแรงงานให้ภาคการผลิตและบริการได้ขยายตัวถึงร้อยละ 8 ต่อปี ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า ความจริงแล้วควรจะมีผู้จบการศึกษาระดับกลางสายสามัญและสายอาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงานมากกว่านี้ แต่ผู้เรียนทั้งสองกลุ่มกลับมุ่งเรียนต่อปริญญาตรีและ ปวส. โดยคิดว่าจะได้ค่าตอบแทนและอนาคตที่สดใสและมั่นคงกว่า แต่สภาพเป็นจริงอุปสงค์ของตลาดแรงงานภาคการผลิตและบริการยังไม่สามารถขยายตัวได้ทันกับการเพิ่มขึ้นของผู้จบทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้ ถึงแม้ในปี 2553 การขยายตัวของภาคการผลิตและบริการสามารถจ้างงาน 2 กลุ่มนี้เพิ่มขึ้นสัดส่วนถึงร้อยละ 9.9 และ […]

1 11 12 13