เถียงให้รู้เรื่อง: ปฏิรูปการศึกษาไทย ไปทางไหนดี? กับ ยงยุทธ แฉล้มวงษ์

รายการเถียงให้รู้เรื่อง ไทยพีบีเอส ออกอากาศ วันที่ 22 มิถุนายน 2556 ตอน “ปฏิรูปการศึกษาไทย ไปทางไหนดี?” ผู้ดำเนินรายการ: คุณจอม เพชรประดับ คู่ถกเถียง: นายเนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล ประธานสมาพันธ์นักเรียนไทย เพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย และ น.ส.พัทธ์ธีรา วงศ์ตั้งตน นักเรียนโรงเรียนสาธิต มศว. ประสานมิตร ผู้เชี่ยวชาญ: รศ.สมพงษ์ จิตระดับ และ รศ.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์: จับจังหวะแรงงานไทยขาขึ้น เรียนรู้ รอด ในปี 2556

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย  สรุปไฮไลท์แรงงานไทยในปี 2555 และโอกาสและความท้าทายในปี2556  ระบุเป็นช่วงแรงงานไทยขาขึ้นเกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ของโครงสร้างตลาดแรงงานไทยอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  ก่อผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของทั้งผู้ประกอบการและตัวแรงงาน พร้อมโอกาสที่ยังมีมาต่อเนื่องจากแรงกดดันตลาดแรงงานเสรีในประชาคมอาเซียน ทั้งนายจ้างลูกจ้างจึงต้องปรับตัวเรียนรู้จึงอยู่รอด ที่สำคัญทำให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักเศรษฐกิจแรงงานราคาถูกสู่การใช้แรงงานที่มีความรู้ความสามารถมากขึ้น ไฮไลท์แรงงานไทยในปี 2555 :  โอกาสที่มาแบบไม่ตั้งตัว ในภาพรวมด้านจำนวนแรงงานแนวโน้มการจ้างงานยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงการฟื้นตัวจากผลกระทบน้ำท่วมปลายปี2554 แต่ความตึงตัวของแรงงานไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลง เนื่องจากบางสาขาการผลิตที่ฟื้นตัวมาแล้วแต่ก็ยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะสาขาการก่อสร้างหรืออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้น  เช่น สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์  ตัดเย็บกระเป๋า รองเท้า ฯลฯ  ซึ่งมีภาวะการเข้าออกสูง จึงมีความต้องการแรงงานต่อเนื่องและยังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ขณะที่ผลจากการปรับขึ้นค่าจ้างตามนโยบายค่าจ้าง 300 บาทของรัฐบาลรอบแรกเมื่อเดือนเมษายน ดึงดูดให้มีคนเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น โดยส่วนหนึ่งมาจากผู้ที่ว่างงานอยู่แล้วปรับตัวเองมาสู่ตลาดแรงงาน ทำให้สถานการณ์ตึงตัวของตลาดแรงงานผ่อนคลายลงเล็กน้อย แต่หากดูในเชิงคุณภาพความขาดแคลนในเชิงคุณภาพยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสมรรถนะและทัศนคติของแรงงานบางอย่างที่สืบเนื่องมาจากระบบการศึกษา แรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานยังมีปัญหาเรื่องพื้นฐานความรู้ทางการศึกษาเป็นภาระของผู้ประกอบการในการจัดฝึกอบรมเพิ่มเติมให้ ขณะที่แรงงานในสายอาชีวศึกษาเกิดความต้องการสูงขึ้นมากซึ่งมีลักษณะพิเศษต่างจากปีก่อน ๆ คือมีภาพของการปรับเปลี่ยนในการใช้ขบวนการปรับปรุงการผลิตที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาซึ่งเกิดขึ้น 2 ช่วง  ช่วงแรกเมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาทรอบแรก ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ปรับตัวปรับขบวนการใช้แรงงานระหว่างปี มีการเพิ่มผลิตภาพมากขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ตัวเลขที่ยืนยันประเด็นนี้จากผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงานคือผลิตภาพแรงงานที่สูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยเพิ่มสูงถึง […]

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์: ทีดีอาร์ไอเสนอมาตรการ “3 : เลิก เร่ง รุก โล๊ะ” คุมต่างด้าวยั่งยืน

ผอ.วิจัยทีดีอาร์ไอเห็นด้วยไม่ขยายจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวเพิ่มอีก  ภายหลังจะสิ้นสุดผ่อนผันการขึ้นทะเบียนครั้งสุดท้าย ในวันที่ 14 ธันวาคมนี้  ระบุถ้าบริหารจัดการให้ดีแรงงานต่างด้าวที่มีอยู่ในระบบถูกต้องและที่รอตรวจสอบมีเพียงพอใช้งาน  เสนอมาตรการแก้ปัญหาครบวงจร  “3เลิก 3เร่ง 3รุก 3โล๊ะ” และหากจำเป็นต้องรับเพิ่มก็ควรนำเข้าภายใต้ความตกลงรัฐต่อรัฐ  ปัจจุบันแรงงานต่างด้าวส่วนหนึ่งโดยเฉพาะแรงงานระดับล่างได้กลายเป็นแรงงานหลักในหลายอุตสาหกรรมที่แรงงานไทยขาดแคลน  การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวที่เรื้อรังมาเกือบสองทศวรรษยังทำได้ไม่ครบถ้วน  จำเป็นต้องพิจารณาในทุกมิติ  และในวันที่ 14 ธันวาคม 2555 จะครบกำหนดการพิสูจน์สัญชาติและต่อทะเบียนแรงงานต่างด้าวเป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน  สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัญหาแรงงานต่างด้าวมาถึงช่วงสุดท้ายที่ต้องมีความชัดเจน เพราะเราไม่ต้องการให้มีการจดทะเบียนเพื่อเอาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้ามาสู่ระบบเพิ่มอีก โดยขณะนี้คาดว่ามีจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบราว 4.6 แสนคน เมื่อสามารถเข้าสู่ระบบการจดทะเบียนได้ทั้งหมด จะทำให้มีจำนวนแรงงานต่างด้าว(ระดับล่าง) ราว 1.7 ล้านคน  เมื่อไปรวมกับกลุ่มแรงงานบุคคลบนที่ราบสูงและกลุ่มอื่นๆก็จะมีจำนวนราว 2 ล้านคนเศษ  ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยประมาณ 2.5 ล้านคน  ถึงกระนั้นก็ยังน่าจะมีจำนวนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ทำงานอยู่อีกราว 3-4 แสนคนที่ยังไม่ได้เข้าระบบ  จึงไม่มีความจำเป็นที่จะจดทะเบียนเพิ่ม/รับใหม่  แต่ควรใช้วิธีอื่นในการที่จะแก้ปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าว สำหรับแนวทางดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ ดร.ยงยุทธระบุว่า ควรดำเนินการ “3เลิก 3เร่ง 3รุก และ 3 […]

ดร.ยงยุทธ มองปัญหาน่าห่วง เด็กจบใหม่ว่างงานสะสม ซ้ำการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวช้า

“ดร. ยงยุทธ” ห่วงแนวโน้ม จ้างงานภาคเกษตรลด ขณะแรงงานไร้ทักษะเคลื่อนย้าย ประกอบอาชีพอื่นลำบาก ด้านตัวแทนภาคเกษตรระบุแนวโน้มรายได้หดตัวต่อเนื่อง วอนรัฐเพิ่มความสามารถในการทำอาชีพเสริม เข้าสู่งานภาคบริการอุตสาหกรรม ด้านผู้นำแรงงานชี้สินค้าราคาแพง แรงงานหลายกลุ่มรายได้ไม่พอใช้ จากข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)หรือสภาพัฒน์ แถลงถึงภาวะสังคมไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2560 โดยชี้ถึงภาวะการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลง หลังการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวช้า รวมถึงแนวโน้มการจ้างงานภาคเกษตรที่จะหดตัวในไตรมาส 3- 4 จากผลผลิตล้นตลาดและปัญหาน้ำท่วม นั้น ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงภาวะการว่างงานของบัณฑิตจบใหม่ ที่พอใจกับการไม่มีงานทำ ว่าเรื่องนี้ถือว่าอยู่ในระดับอันตราย เพราะแนวโน้มของคนว่างงานโดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากทัศนคติของการเลือกงานทำ ซึ่งความน่ากลัวของภาวะว่างงานของคนกลุ่มนี้ มาจากสาเหตุของ ตลาดแรงงานในบ้านเรา ไม่สามารถรับนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ได้ทั้งหมด จึงเกิดปัญหาสะสมการว่างงานของแรงงานกลุ่มนี้มาโดยตลอด โดยพบข้อเท็จจริงของภาคอุตสาหกรรม ที่ไม่สามารถรับแรงงานที่มีการศึกษาสูงได้ทั้งหมด ที่ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง เพราะ ค่าแรงสูง และยังไม่ถึงเวลาต้องใช้ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยี แต่สิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมขาดแคลนกลับเป็นแรงงานระดับอนุปริญญา หรือ ปวส. และหลายคนที่ทำงานอยู่ในตอนนี้ ยอมรับใช้วุฒิต่ำกว่าที่เรียนมา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ในด้านความสูญเปล่าของบุคลากรที่ผลิตออกมา ทั้งหมดนี้ […]

ดร.ยงยุทธ แนะออกฎหมายคุมแรงงานต่างด้าว

สังคมไทยหลายพื้นที่ในปัจจุบัน ย่านชุมชน ย่านการค้าธุรกิจ หรือแม้กระทั่งตลาดสด มักพบชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งถือว่าเป็นคนต่างด้าวเข้ามาจับจองพื้นที่ขายสินค้าให้กับคนไทย จึงทำให้ปัจจุบันคนไทยที่เป็นเจ้าของประเทศกำลังอยู่ในอารมณ์ร่วมว่า คนต่างด้าวเหล่านี้จะเข้ามาแย่งอาชีพคนไทยทำ ซึ่งสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ฉายภาพการพัฒนาแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยว่ามีการต่ออายุทำงานในไทยมาตลอดตั้งแต่ปี 2539 ซึ่ง รูปแบบส่วนใหญ่อาจมีการเปลี่ยนนายจ้างบ้าง แต่ก็เดินทางเข้า-ออกประเทศไทยอยู่ตลอด ฉะนั้นจึงทำให้แรงงานเหล่านี้ได้ทักษะภาษาไทยติดตัว เห็นได้จากแรงงานต่างด้าว 100 คน จะพบว่าพูดไทยได้ดีเกิน 25% ส่วนอีก 60% อยู่ในกลุ่มที่พอสื่อสารได้ และที่เหลือจะเป็นกลุ่มที่พอฟังได้ แต่อาจพูดไม่ได้ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่เข้ามาใหม่ ดังนั้น ข้อได้เปรียบของแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในไทยมานาน จึงมีวิวัฒนาการทางอาชีพสูงขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาไทยไม่ได้เข้มงวด เรื่องอาชีพที่อนุญาตให้ต่างด้าวทำงานตาม พ.ร.บ.ต่างด้าว ปี 2551 จึงทำให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะแอบแฝง ประกอบอาชีพอื่นที่ไม่ตรงกับอาชีพที่ได้รับอนุญาต อาทิ กรรมกร ผู้รับใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงมาก เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีแรงงานต่างด้าวเข้าไปทำงานในโรงแรม ร้านค้าต่างๆ ในรูปแบบประกอบอาชีพแฝง และเมื่อมีวิวัฒนาการทางธุรกิจมากขึ้น ก็อาจซื้อหรือเช่าแผงค้าขายเอง ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ปัจจุบันเมื่อแรงงานต่างด้าวเข้ามาได้มีการผ่อนผันตามมาตรา 17 ของ […]

ยงยุทธ แนะบูรณาการร่วมกับชุมชนลดข้อขัดแย้งจัดระเบียบผังเมือง

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) การพัฒนาเมืองด้วยการวางผังเมืองในระดับต่างๆ ของจังหวัดให้สามารถรองรับกับการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเชื่อว่า ผังเมืองคือจุดเริ่มต้นและเป็นตัวแปรสำคัญของการจัดแบ่งโซนสำหรับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดินให้เป็นสัดส่วนอย่างลงตัวที่สุด แต่ที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบันคือ ผลกระทบจากช่องว่างผังเมืองทยอยหมดอายุ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงานทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงการศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำผังเมือง ผังภาคและอนุภูมิภาคว่า ผังเมืองจะทำหน้าที่ควบคุมการใช้ที่ดินให้เหมาะสม ซึ่งเป็นเรื่องของกายภาพของจังหวัดหรือชุมชนนั้นๆ และมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการออกแบบเมืองในอนาคต ปัจจุบันระบบผังเมืองรวมในประเทศเริ่มทยอยเข้าสู่การหมดอายุไปแล้วราว 44 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากผังเมืองหมดอายุจะกลายเป็นสุญญากาศและขาดความต่อเนื่องในการดำเนินการควบคุมการใช้ที่ดินนั้นๆ โดยกฎหมายได้กำหนดให้แต่ละผังเมืองมีอายุบังคับใช้ 5 ปี ต่ออายุได้ครั้งละ 1 ปี และสามารถต่ออายุได้ 2 ครั้ง ทั้งนี้ การจัดทำผังเมืองแต่ละครั้งเปรียบเสมือนการหยิบจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นมาวางเรียงอย่างเป็นระบบ ภายใต้การเชื่อมโยงข้อมูลจากผังเดิมในอดีตมาเป็นแนวทางในการวางแผนบูรณาการสู่การพัฒนาผังเมืองในอนาคต จากองค์ประกอบทางกายภาพ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1. ความยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่ หรือกระทบต่อพื้นที่โดยรวมของภูมิศาสตร์ชุมชนหรือไม่ เพื่อความสมดุลของพื้นที่ 2. อัตลักษณ์ของชุมชน หรือการมองถึงรากเหง้าหรือวัฒนธรรมทางสังคมของชุมชน และ 3. การเชื่อมโยง โดยต้องมีความเกี่ยวเนื่องกับผังเมืองในอดีต เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงของผังเมืองในอนาคต ดังนั้น บทบาทของนักวิชาการในการจัดทำผังเมืองต้องกำหนดขอบเขตการทำงานด้วยการวิเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาพื้นที่เพื่อกำหนดบทบาท หน้าที่และจุดยืนการพัฒนาพื้นที่นั้นๆ แล้วนำมาศึกษาและวิเคราะห์ทิศทางการพัฒนาพื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ และชุมชน ภายใต้วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของฐานข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ […]

‘ยงยุทธ’ แนะเพิ่มสิทธิ-สวัสดิการคุ้มครองแรงงานภาคเกษตร หลังเจอพิษค่าแรง 300

ผอ.วิจัยทีดีอาร์ไอเผย การคุ้มครอง-รับสิทธิประกันสังคมแรงงานนอกระบบยังเชื่องช้า เหลื่อมล้ำมาก ชี้ขึ้นค่าแรง 300 บาทกระทบภาคเกษตรหนัก จี้หาสวัสดิการรองรับแรงงานสูงวัย ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาในภาพรวมดูเหมือนแรงงานได้รับการดูแลมากขึ้นในเรื่องค่าจ้างพื้นฐาน 300 บาท แต่ในด้านการคุ้มครองแรงงานยังเป็นไปอย่างเชื่องช้าและมีความเหลื่อมล้ำ ลักลั่นกันตั้งแต่การเข้าสู่ระบบ การได้รับบริการจากระบบ และสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากระบบ ทั้งกองทุนประกันสังคมที่ดูแลเฉพาะแรงงานในระบบหลัก ส่วนกองทุนเงินทดแทน ซึ่งลูกจ้างจะได้รับเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุจากการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานเต็มเวลา ขณะนายจ้างที่จ้างแรงงานจำนวนมากเป็นบางช่วงเวลาหรือช่วงฤดูกาล ไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ไม่ได้รับการสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน ถึงเวลาที่เราควรสร้างระบบที่ครอบคลุมไม่เหลือมล้ำและเป็นธรรม “หากมองในรายละเอียดจะเห็นว่ารูปแบบการคุ้มครองแรงงานระหว่างแรงงานในระบบ กับแรงงานนอกระบบยังมีความเหลื่อมล้ำหรือเขย่งกันอยู่ค่อนข้างชัดเจน แรงงานในระบบได้รับการดูแลค่อนข้างดีมาตลอด แต่ในส่วนของแรงงานนอกระบบยังไม่ได้รับการเอาใจใส่ที่จริงจังนัก จะเห็นได้จากการให้ความคุ้มครองทั้งหลายที่ยังมีข้อยกเว้นอยู่หลายเรื่องและหากดูสิทธิประโยชน์ระยะยาวที่จะได้รับจากประกันชราภาพและกองทุนเงินออมแห่งชาติก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะเริ่มอย่างจริงจังเมื่อไร ข้อตกลงในการเก็บอัตราสมทบก็ยังไม่มีข้อยุติและดำเนินไปอย่างล่าช้า แม้แต่แรงงานในระบบเมื่อถึงวัยได้รับสิทธิประโยชน์ชราภาพถึงจะรวมกับเบี้ยยังชีพชราภาพแล้วก็จะมีรายได้เพื่อการยังชีพเพียง 3,000 – 4,000 บาทต่อเดือน ซึ่งนับว่าไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่เปลี่ยนแปลงไป” ผอ.วิจัยทีดีอาร์ไอ กล่าวต่อว่า คนกลุ่มนี้ได้แก่ คนทำงานบ้าน แรงงานประมง แรงงานภาคเกษตร ที่ไม่ได้ทำงานต่อเนื่องตลอดปี หรือทำงานตามฤดูกาล รวมถึงแรงงานพาร์ทไทม์ที่คนกลุ่มนี้มีสัดส่วนค่อนข้างสูง ล้วนแต่จะมีปัญหาความมั่นคงในระยะยาว จึงเป็นจุดอ่อนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการคุ้มครองแรงงานให้ครอบคลุม “โดยหลักการตามกฎหมายคนทำงานทุกคนมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง โดยกองทุนประกันสังคมควรปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม และสามารถนำสัดส่วนของผลประโยชน์มาสมทบ เพื่อทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น ขณะที่กองทุนเงินทดแทนยังมีช่องว่างไม่ครอบคลุมการคุ้มครองของกลุ่มแรงงานพาร์ทไทม์ซึ่งมีจำนวนหลายล้านคน ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมกำลังพิจารณาให้ทีดีอาร์ไอศึกษาแนวทางการขยายความคุ้มครองกลุ่มเหล่านี้” […]

1 2 3 4 13