การปฏิรูปพลังงานของไทย กับ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

รายการ CEO VISION โดย วรพงศ์ แจ้งจิตต์ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ นักวิชาการ TDRI พูดถึงเรื่องมองหลายมุมการปฏิรูปพลังงานของไทย เพื่อสร้างยั่งยืนให้ระบบการจัดการพลังงานไทย

คม-ชัด-ลึก: พลังงง..พลังงาน กับ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

รายการ คม-ชัด-ลึก เรื่อง “พลังงง..พลังงาน” กับ มนูญ ศิริวรรณ รสนา โตสิตระกูล และเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ วันที่ 16 มิถุนายน 2557

“เดือนเด่น นิคมบริรักษ์” เตือนรัฐบาลคุมความเสี่ยงแบงก์รัฐ-แนะโอนให้ ธปท. กำกับเงินกู้

‘ทีดีอาร์ไอ’ ชำแหละแบงก์รัฐ จวกสร้างภาระบาน ไม่คุ้มหนี้ เผย ‘เอสเอ็มอีแบงก์’ นำโด่ง รัฐแบกต้นทุนสูงสุด 2.2 หมื่นล้าน แนะโอนให้ ธปท. กำกับ เสนอคุมเพดานปล่อยกู้เอสเอ็มอี ประเมินความคุ้มค่าทุกโครงการ นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในหัวข้อ บทบาทของภาครัฐในการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงินและการคลัง งานสัมมนาวิชาการประจำปี 2556 ของทีดีอาร์ไอ ว่ามาตรการกึ่งการคลังในการให้สินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยเฉพาะการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสนับสนุน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ปัจจุบันช่องว่างการเข้าถึงเงินทุนของเอสเอ็มอีไทยยังอยู่ในวงจำกัด บทบาทของภาครัฐผ่านธนาคารเฉพาะกิจ ยังไม่สามารถลดช่องว่างลงได้ “การเติบโตทางสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่สินเชื่อที่ปล่อยให้ลูกค้าเอสเอ็มอีมีวงเงินเฉลี่ยต่อราย 3 ล้านบาท มากกว่าธนาคารพาณิชย์ปล่อยให้ลูกค้าเอสเอ็มอีที่วงเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 2 แสนบาทต่อราย แสดงว่าไม่ได้ปล่อยกู้ให้เอสเอ็มอีที่แท้จริง และเป็นการปล่อยสินเชื่อโดยไม่กำหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจน” นาง เดือนเด่นกล่าว และว่า นอกจากนี้ ยังไม่มีกลไกติดตามตรวจสอบและไม่มีทิศทางที่ชัดเจน เพราะขึ้นกับนโยบายของรัฐบาลแต่ละยุค นางเดือนเด่นกล่าวว่า ขณะที่ต้นทุนของภาครัฐที่รับภาระจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สูงสุดคือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ที่ต้นทุนของภาครัฐจะอยู่ที่ 2.24 หมื่นล้านบาทต่อหนี้เสียที่มีอยู่สูงถึง 31% […]

ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ซีพีซื้อแม็คโคร ไม่ใช่การควบรวมกิจการ

การเข้าซื้อกิจการ บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) ของ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) มูลค่า 1.89 แสนล้านบาท ได้สร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบการค้าปลีก-ค้าส่ง ซัพพลายเออร์ และผู้บริโภค ในแง่ของการผูกขาดธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ภายใต้ความเชื่อที่ว่า หลังการควบรวมกิจการ ซีพี ออลล์จะกลายเป็นโมเดิร์นเทรดครบวงจร ที่รวมทั้งธุรกิจสะดวกซื้อและธุรกิจค้าส่งเข้าด้วยกัน จากความจริงที่ว่า MAKRO เองก็เป็นผู้ประกอบการที่มีส่วนแบ่งรายได้และสัดส่วนทางการตลาดสูงสุดในธุรกิจค้าส่ง ขณะที่ 7-Eleven เป็นผู้มีส่วนแบ่งรายได้กับส่วนแบ่งทางการตลาด Convenience Store สูงสุดเช่นกัน “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ฝ่ายการวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ภายใต้บริบทของ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ที่มีต่อการควบรวมกิจการครั้งนี้ – การเข้าซื้อแม็คโครของ CP กรณี CP กับแม็คโคร มองว่าไม่ใช่การควบรวม เพราะซีพีถือหุ้นผ่าน 7-Eleven และบริหาร ดังนั้นในทางปฏิบัติการบริหารจัดการยังไม่เปลี่ยน ถ้าพูดถึงในเชิงนิตินัยมันคือการควบรวม […]

1 2 3 4 22