เกี่ยวกับเรา

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

 

เป็นสถาบันวิจัยเชิงนโยบายแห่งแรกในประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2527
โดยความริเริ่มของ ดร.เสนาะ อูนากูล เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้อยู่ในรูปแบบ “มูลนิธิที่ไม่แสวงหากำไร” มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ ไม่ใช่หน่วยงานราชการ เพื่อให้สถาบันทำหน้าที่เป็น “คลังสมอง” ของประเทศ ผ่านการสะสมข้อมูล องค์ความรู้ และต่อยอดการวิจัยได้อย่างเต็มที่ มีความคล่องตัว และไม่ติดอยู่กับกฎเกณฑ์ในระบบราชการ

ในช่วงแรกตั้ง ทีดีอาร์ไอ ได้รับเงินสนับสนุนจาก หอการค้าไทย สมาคมอุตสาหกรรมไทย และ สมาคมธนาคารไทย ในการจดทะเบียนจัดตั้ง และต่อมา องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งแคนาดา (Canada International Development Agency: CIDA) โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลแคนาดาได้มอบเงินอุดหนุนก้อนแรกจำนวน 4.48 ล้านดอลลาร์แคนาดา สำหรับการดำเนินงานของสถาบันในช่วง 5 ปีแรก

(ภาพพิธีลงนามข้อตกลงความช่วยเหลือระหว่าง CIDA-TDRI ที่กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา)

 

ทีดีอาร์ไอดำเนินการวิจัยเชิงนโยบายในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านเศรษฐกิจ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานระหว่างประเทศ ตลอดจนริเริ่มการวิจัยเอง เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยให้เป็นนโยบายที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ

ภารกิจหลักของทีดีอาร์ไอ คือ

  • ผลิตงานวิจัยเชิงนโยบายที่มีคุณภาพสูง อยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ และข้อมูลที่ถูกต้อง
  • สร้างเครือข่ายการวิจัยระหว่างสถาบันและนักวิชาการที่เกี่ยวข้องในประเด็นวิจัยเชิงนโยบายทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
  • เผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายของประเทศ

ทีดีอาร์ไอ ดำเนินงานโดยประธานสถาบัน (ปัจจุบัน คือ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์)
ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารสถาบัน
(ประธานสภาสถาบัน ปัจจุบัน คือ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล)

ที่ผ่านมา ทีดีอาร์ไอ ดำเนินงานภายใต้การบริหารของประธานสถาบัน ดังนี้

ดร.อาณัติ อาภาภิรม

ดร.อาณัติ อาภาภิรม

ดร.ไพจิตร เอื้อทวีกุล

ดร.ไพจิตร เอื้อทวีกุล

ดร.อัมมาร สยามวาลา

ดร.อัมมาร สยามวาลา

ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์

ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

หากสนใจ ประวัติ ความเป็นมา และแนวคิดผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม คุณสามารถ ดาวน์โหลดหนังสือ “30 ปี ทีดีอาร์ไอ 30 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจไทย ได้ที่ ลิงค์นี้