การรายงานสถานการณ์การระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพของประเทศในปี พ.ศ. 2560 จะเน้นการรายงานข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี (ปี พ.ศ. 2556-2560) พร้อมทั้งการวิเคราะห์สถานการณ์ โดยแบ่งการรายงานแยกตาม 7 สาขาปฏิบัติการ
- สถานการณ์การระดมทุนในสาขา A : แหล่งเงินทุนของภาครัฐภายในประเทศ (Domestic Public Resource)
- สถานการณ์การระดมทุนในสาขา B : การประกอบธุรกิจและการระดมทุนภาคเอกชนภายในประเทศและระหว่างประเทศ (Domestic and international private business and finance)
- สถานการณ์การระดมทุนในสาขา C : ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Cooperation)
- สถานการณ์การระดมทุนในสาขา D : การค้าระหว่างประเทศในฐานะตัวขับเคลื่อนการพัฒนา (International Trade as an engine for development)
- สถานการณ์การระดมทุนในสาขา E : หนี้และการบริหารจัดการหนี้อย่างยั่งยืน (Debt and debt sustainability)
- สถานการณ์การระดมทุนในสาขา F : การแก้ไขประเด็นเกี่ยวกับระบบ (Addressing systemic issues)
- สถานการณ์การระดมทุนในสาขา G : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรม และการสร้างศักยภาพ (Science, technology and capacity building)
ผลการประเมินพบว่า สถานการณ์ระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับที่ดีในทั้ง 7 สาขาปฏิบัติการ โดยสิ่งที่ต้องปรับปรุงมีหลายประการ เช่น เพิ่มการเก็บภาษีให้มากกว่าในปัจจุบัน เพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพในการจัดทำงบประมาณ ควบคุมการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ นอกจากนี้ยังมีตัวชี้วัดที่สำคัญแต่ยังไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูล ประกอบไปด้วย ข้อมูลในเรื่องการใช้จ่ายเพื่อบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมและการเสริมสร้างขีดความสามารถของเมือง การให้บริการทางการเงินแก่แรงงานต่างชาติ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติมได้ใน รายงานสถานการณ์การระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพประเทศไทย พ.ศ. 2560 (ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) เสนอต่อ สำนักงานสถิติแห่งชาติ