(ร่าง) โครงการศึกษาที่มาของขยะทะเล และมาตรการการจัดการปัญหาขยะ

“ขยะทะเล” ปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจ เนื่องจากประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลําดับที่ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA) ได้ให้นิยามของขยะทะเลว่าเป็นของเสียที่เกิดจากมนุษย์ทิ้งลงสู่ทะเลทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ มีคลื่น ลม กระแสน้้าที่เป็นปัจจัยพัดพาลงสู่ทะเล ดังนั้น ขยะทะเลจึงถูกพบในทุกพื้นที่ของทะเลทั่วโลก ไม่เพียงแต่บริเวณชายฝั่งเท่านั้น แต่ยังสามารถพบได้ในสถานที่ห่างไกลจากแหล่งกําเนิดอย่างชัดเจน เช่น กลางมหาสมุทร และบริเวณขั้วโลก

โดย แหล่งที่มา ของขยะทะเลที่สําคัญสําหรับประเทศไทย ประกอบด้วย ชุมชนและร้านค้าที่อยู่บริเวณริมชายฝั่งหรือริมแม่น้ำลําคลอง การท่องเที่ยวริมชายหาด และการฝังกลบที่ไม่ได้มาตรฐาน แหล่งกําเนิดขยะทะเลประเภทอื่นๆ ที่มีความสําคัญลดหลั่นลงมา ได้แก่ เรือประมง เรือขนส่งสินค้า การท่องเที่ยวในทะเล เช่น การดําน้ำ การท่องเที่ยวบนเกาะ เป็นต้น

การศึกษานี้แบ่ง มาตรการในการจัดการปัญหา ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ มาตรการแนวตัดขวาง (Cross-cutting measures) และมาตรการเฉพาะสําหรับแหล่งที่มาของขยะทะเลแต่ละประเภท (Source-specific measures) โดยมาตรการแนวตัดขวางพัฒนาโดยอิงกับเส้นทางของขยะทะเล การลดการสร้างขยะจากการบริโภค มาตรการจูงใจให้ผู้บริโภคคัดแยกขยะและทิ้งในสถานที่ที่กําหนด มาตรการเก็บขนและกําจัดอย่างถูกสุขอนามัยเพื่อลดการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นไปที่ขยะประเภทถุงพลาสติก ขวดเครื่องดื่ม โฟมเป็นหลัก เนื่องจากขยะเหล่านี้ถูกพบเป็นสัดส่วนที่สูงในขยะทะเลในประเทศไทย

อนึ่ง การบังคับใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่งนั้น รัฐบาลไม่จําเป็นต้องบังคับใช้พร้อมกันทั้งประเทศ แต่อาจเลือกดําเนินการในพื้นที่นําร่องที่มีศักยภาพหรือพื้นที่ที่มีปัญหามากเป็นพิเศษก่อน โดยต้องมีการเก็บข้อมูลพื้นฐาน (Baseline data) ตั้งแตก่อนเริ่มดําเนินมาตรการ และมีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องเป็นระยะเพื่อประเมินประสิทธิผลของนโยบาย ก่อนที่จะมีการขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

Download