สถานการณ์ผลกระทบ Covid-19 ต่อตลาดแรงงาน: ข้อมูลเชิงประจักษ์ (2)

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์

สืบเนื่องจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้เผยแพร่ข้อมูล “ภาวะการมีงานทำของประชากรไตรมาส 2 พ.ศ. 2563” ซึ่งเป็นข้อมูลที่เสนอต่อสาธารณชนล่าสุด ผู้เขียนจึงต้องการนำเสนอผลกระทบการระบาดของ Covid-19 ที่มีต่อตลาดแรงงานอีกครั้ง ดังนี้

1) จำนวนประชากรประมาณ 68 ล้านคน มีผู้อยู่ในวัยทำงาน (ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป) ในไตรมาส 2 ปี 2563 จำนวน 56.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น  0.1% เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสกับไตรมาส 1 และถ้าเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี2562 เพิ่มขึ้น 0.5%

2) กำลังแรงงานในไตรมาส 2 ของปี 2563 จำนวน 38.17 ล้านคน ลดลง 0.1% จากไตรมาส 1 แต่ลดลงประมาณ 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2562

3) จากกำลังแรงงานทั้งหมดดังกล่าว มีผู้มีงานทำในไตรมาส 2 จำนวน 37.07 ล้านคน ลดลง 0.9% จากไตรมาส 1 ขณะที่ไตรมาส 1 ตลาดแรงงานยังไม่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 มากนัก

4) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ต่อตลาดแรงงานเห็นภาพชัดเจน มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (y-o-y) ซึ่งไตรมาส 1 ปี 2563 ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบทำให้การมีงานทำลดลง 28,000 คน (0.7%) และความรุนแรงของผลกระทบเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2  ทำให้การมีงาน ลดลงถึง 71,000 คน (1.9%)

5) จุดที่น่าสนใจเป็นพิเศษจากตัวเลขการมีงานทำที่เปิดเผยโดย สศช. คือ ในจำนวนผู้มีงานทำในปี 2563 ไตรมาส 2 จำนวน 37.07 ล้านคน มีผู้ไม่ทำงาน (ทั้งๆ ที่มีงานประจำ) ถึง 2.62 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ถึง 47.9% ขณะที่ไตรมาส 1 ของปี 2563 เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2562 ผู้มียังมีตำแหน่งงานอยู่แต่ไม่ทำงานเพียง 17.6% เท่านั้น

6) หลังจากเริ่มมีการระบาดของ Covid-19 มา 6 เดือน พบว่ามีผู้ว่างงานในไตรมาส 2 ของปี 2563 สูงขึ้นเป็น 0.74 ล้านคน คิดเป็นอัตราว่างงาน 2% ขณะที่ไตรมาส 1 ของปี 2563 อัตราว่างงานประมาณ 1% หรือ 0.39 ล้านคน หรือคิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น (Q1 to Q2)  88.9% เทียบในปี 2562 เพิ่มเพียง 7.3% เท่านั้น ซึ่งปัญหาการว่างงานจะยังคงรุนแรงอยู่หรือไม่ในไตรมาส 3 และ 4 ขึ้นกับนโยบายความมั่นคงทางสุขภาพซึ่งดูแลโดย ศบค. โดยชั่งน้ำหนักนโยบายทางเศรษฐกิจ ถ้ายังให้น้ำหนักกับความมั่นคงทางสุขภาพ (อันเนื่องมาจากการระบาดของ Covid-19 มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและลามต่อมายังการตลาดแรงงานให้สามารถฟื้นตัวได้ช้าลงมากขึ้นเช่นกัน)

7) ข้อควรห่วงใยคือ ผู้ที่มีงานประจำแต่ไม่ได้ทำงานซึ่งถือว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงตกงานมากที่สุดมีจำนวนถึง 2.52 ล้านคน และเมื่อรวมกับผู้ว่างงานจริงในไตรมาส 2 อีก 0.746 ล้านคน เป็น 3.266 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในข่ายว่างงานจำนวนสูงสุดที่เป็นไปได้ คิดเป็น 8.55% ของกำลังแรงงาน ซึ่งต้องใช้นโยบายในการดูแลสถานประกอบการให้สามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งถ้ารัฐบาลดำเนินการได้ดี ไม่มีการปิดกิจการหรือปรับลดคนงาน จะทำให้คนไม่ได้ทำงานกับคนว่างงานลดต่ำลงจาก 3.25 ล้านคน แต่ก็คงเป็นไปได้ยาก

8) ผลกระทบการระบาด covid-19 ไม่เพียงแต่ทำให้แรงงานตกงานเท่านั้น ยังก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงกว่าคือ มีแรงงานที่ทำงานอยู่ไม่ถึง 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จนถึงน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้นถึง 14 ล้านคน และถ้าเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2562 พบว่าแรงงานทำงานต่ำระดับเหล่านี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 4.12 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นถึง 41.7% ของช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลกระทบต่อรายได้ของแรงงานต้องลดลงเป็นอย่างมากอันเนื่องจากไม่สามารถทำงานได้เต็มที่

1) จำนวนประชากรประมาณ 68 ล้านคน มีผู้อยู่ในวัยทำงาน (ผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป) ในไตรมาส 2 ปี 2563 จำนวน 56.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น  0.1% เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสกับไตรมาส 1 และถ้าเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี2562 เพิ่มขึ้น 0.5%

2) กำลังแรงงานในไตรมาส 2 ของปี 2563 จำนวน 38.17 ล้านคน ลดลง 0.1% จากไตรมาส 1 แต่ลดลงประมาณ 0.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2562

3) จากกำลังแรงงานทั้งหมดดังกล่าว มีผู้มีงานทำในไตรมาส 2 จำนวน 37.07 ล้านคน ลดลง 0.9% จากไตรมาส 1 ขณะที่ไตรมาส 1 ตลาดแรงงานยังไม่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 มากนัก

4) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ต่อตลาดแรงงานเห็นภาพชัดเจน มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (y-o-y) ซึ่งไตรมาส 1 ปี 2563 ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบทำให้การมีงานทำลดลง 28,000 คน (0.7%) และความรุนแรงของผลกระทบเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2  ทำให้การมีงาน ลดลงถึง 71,000 คน (1.9%)

5) จุดที่น่าสนใจเป็นพิเศษจากตัวเลขการมีงานทำที่เปิดเผยโดย สศช. คือ ในจำนวนผู้มีงานทำในปี 2563 ไตรมาส 2 จำนวน 37.07 ล้านคน มีผู้ไม่ทำงาน (ทั้งๆ ที่มีงานประจำ) ถึง 2.62 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ถึง 47.9% ขณะที่ไตรมาส 1 ของปี 2563 เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 2562 ผู้มียังมีตำแหน่งงานอยู่แต่ไม่ทำงานเพียง 17.6% เท่านั้น

6) หลังจากเริ่มมีการระบาดของ Covid-19 มา 6 เดือน พบว่ามีผู้ว่างงานในไตรมาส 2 ของปี 2563 สูงขึ้นเป็น 0.74 ล้านคน คิดเป็นอัตราว่างงาน 2% ขณะที่ไตรมาส 1 ของปี 2563 อัตราว่างงานประมาณ 1% หรือ 0.39 ล้านคน หรือคิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น (Q1 to Q2)  88.9% เทียบในปี 2562 เพิ่มเพียง 7.3% เท่านั้น ซึ่งปัญหาการว่างงานจะยังคงรุนแรงอยู่หรือไม่ในไตรมาส 3 และ 4 ขึ้นกับนโยบายความมั่นคงทางสุขภาพซึ่งดูแลโดย ศบค. โดยชั่งน้ำหนักนโยบายทางเศรษฐกิจ ถ้ายังให้น้ำหนักกับความมั่นคงทางสุขภาพ (อันเนื่องมาจากการระบาดของ Covid-19 มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและลามต่อมายังการตลาดแรงงานให้สามารถฟื้นตัวได้ช้าลงมากขึ้นเช่นกัน)

7) ข้อควรห่วงใยคือ ผู้ที่มีงานประจำแต่ไม่ได้ทำงานซึ่งถือว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงตกงานมากที่สุดมีจำนวนถึง 2.52 ล้านคน และเมื่อรวมกับผู้ว่างงานจริงในไตรมาส 2 อีก 0.746 ล้านคน เป็น 3.266 ล้านคน เป็นผู้อยู่ในข่ายว่างงานจำนวนสูงสุดที่เป็นไปได้ คิดเป็น 8.55% ของกำลังแรงงาน ซึ่งต้องใช้นโยบายในการดูแลสถานประกอบการให้สามารถดำเนินต่อไปได้ด้วยนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งถ้ารัฐบาลดำเนินการได้ดี ไม่มีการปิดกิจการหรือปรับลดคนงาน จะทำให้คนไม่ได้ทำงานกับคนว่างงานลดต่ำลงจาก 3.25 ล้านคน แต่ก็คงเป็นไปได้ยาก

8) ผลกระทบการระบาด covid-19 ไม่เพียงแต่ทำให้แรงงานตกงานเท่านั้น ยังก่อให้เกิดปัญหาที่รุนแรงกว่าคือ มีแรงงานที่ทำงานอยู่ไม่ถึง 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์จนถึงน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพิ่มสูงขึ้นถึง 14 ล้านคน และถ้าเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2562 พบว่าแรงงานทำงานต่ำระดับเหล่านี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 4.12 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นถึง 41.7% ของช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่งผลกระทบต่อรายได้ของแรงงานต้องลดลงเป็นอย่างมากอันเนื่องจากไม่สามารถทำงานได้เต็มที่

9) จำนวนคนว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 มีทั้งแรงงานหญิงและชาย ซึ่งไม่ต่างกันมากนัก ดังจะเห็นได้จากผู้ว่างงานเป็นหญิงจำนวน 0.336 ล้านคนเทียบกับแรงงานชายจำนวน 0.410 ล้านคน คิดเป็น 44.1% และ 100.7% ตามลำดับ

10) เมื่อพิจารณาผลกระทบของ Covid-19 ที่มีต่อแรงงานตามประเภทอุตสาหกรรมในภาพรวมโดยการเปรียบ y-o-y ในไตรมาส 2 พบว่า

– ภาคเกษตรมีจำนวน 11.47 ล้านคน        ลดลง –0.30%

– อุตสาหกรรมมีจำนวน 6.27 ล้านคน        ลดลง -4.20%

– อุตสาหกรรมการผลิตมีจำนวน 6.0 ล้านคน          ลดลง -4.49%

– ภาคบริการมีจำนวน 19.28 ล้านคน        ลดลง -1.80%

โดยภาพรวมของตลาดแรงงานมหภาคซึ่งมีการจ้างงาน 37.03 ล้านคน ตลาดแรงงานยังอยู่ท่ามกลางมรสุมการระบาดของ Covid-19 ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ ซึ่งมีการจ้างงานมากที่สุดแต่ก็ถูกกระทบมากเช่นกัน คิดเป็นการจ้างงานที่หายไปเทียบ y-o-y เป็นจำนวนประมาณ 648,790 คน (สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปี 2562)

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขประมาณ 0.643 ล้านคน (648,790 คน) นี้ไม่สูงอย่างที่คาด เนื่องจากบางสาขาย่อยๆ นั้นมีทั้งที่การจ้างงานถูกผลกระทบตั้งแต่ไตรมาสแรกและต่อเนื่องในไตรมาส 2 แต่บางส่วนเพิ่งจะปรากฏการจ้างงานลดลงในไตรมาส 2 บางสาขาทางเศรษฐกิจจำนวนมากเริ่มฟื้นตัวกลับมาจ้างงาน และสุดท้ายยังมีสาขาการผลิตและบริการที่มีภูมิคุ้มกันและ/หรือยังดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ทำให้การจ้างงานยังเพิ่มต่อเนื่องกันมาทั้ง 2 ไตรมาส ซึ่งแบ่งเป็น 4 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 เป็นกรณีที่ตลาดแรงงานเริ่มถูกระทบมาตั้งแต่ไตรมาสแรกต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาส 2 โดยมีสาขาภายใต้ ภาคเกษตร 1 สาขา สาขาภายใต้ภาคอุตสาหกรรมจำนวน 10 สาขา และที่เหลือเป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการ 5 สาขา

กรณีที่ 2 เป็นกรณีที่ตลาดแรงงานตอบสนองต่อการใช้มาตรการควบคุมการระบาด Covid-19 ในไตรมาส 2 อุตสาหกรรมกลุ่มนี้มีอยู่ทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตเพียง 3 สาขา แต่เป็นสาขาบริการ 3 สาขาที่เห็นได้ชัดคือ บริการที่พักโรงแรมร้านอาหาร บริการการเงินและประกันภัย และบริการจ้างงานในครัวเรือน

อุตสาหกรรมที่ไตรมาสแรกเคยเติบโต (เป็นบวก) แต่พอถึงช่วงที่ใช้มาตรการ lock down และ Social  Distancing กับสถานประกอบการหลายกลุ่ม ทำให้ไตรมาส 2 เปรียบเทียบกับ y-o-y มีผลการจ้างงานลดลง จากที่เคยเป็นบวกในไตรมาสแรกแต่กลายเป็นติดลบในไตรมาส 2

กรณีที่ 3 แสดงให้เห็นการจ้างงานฟื้นตัว โดยที่อาจจะยังไม่ได้รับการเยียวยาอะไรมากนักจากรัฐบาลแต่จากการเริ่มผ่อนคลายของ ศบค. ทำให้ผู้ประกอบการอาจช่วยตัวเองจนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ถึง 10 สาขา เช่น สาขาเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ป่าไม้ เป็นสาขาย่อยในภาคอุตสาหกรรม ถึง 6 สาขา และสาขาบริการเพียง 3 สาขาที่เริ่มฟื้นตัว

กรณีที่ 4 เป็นทั้งกลุ่มที่สถานประกอบการค่อนข้างเข้มแข็ง มีสาขาการผลิตที่ยังดำเนินการเพิ่มการจ้างงานอยู่ 7 สาขา และสาขาบริการจำนวน 5 สาขาถึงบางสาขาอุตสาหกรรมหรือบริการจะชะลอการจ้างงานอยู่บ้างแต่ยังรับแรงงานเพิ่มจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เท่าที่เสนอตัวเลขมากมายมาถึง ณ จุดนี้ แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ทั้ง 44 สาขาก็จริง แต่ที่อยู่รอดมาได้คือ กรณีที่ 4 มีจำนวน 12 สาขา และที่ถดถอยไปบ้างและอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มไฟฟ้า ก๊าซ กลุ่มบริการสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ยางและบริการด้านการศึกษา กลุ่มที่ฟื้นตัวได้เร็วคือ กลุ่มที่ 3 กลุ่มนี้โดยรวมที่ 10 สาขาย่อยที่ฟื้นตัวเร็วที่สุดคือ กลุ่มที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี อุปกรณ์ขนส่งอื่นๆ บริการซ่อมบำรุง ติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ และท้ายที่สุดที่ฟื้นตัวเติบโตมากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ

อย่างไรก็ตามกว่าจะสามารถเปิดประเทศได้อาจจะยังต้องควบคุมการแพร่ระบาดไปจนถึงกลางปี 2564 หรือสิ้นปี 2564 จึงจะมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาได้บ้าง ขณะนี้จึงเป็นเรื่องของคนไทยเที่ยวไทยไปก่อน

ทางออกของประเทศไทย คือต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศด้วยการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน การบริโภคของภาคเอกชน และที่สำคัญที่สุดคือ ฟื้นฟูธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ซึ่งขณะนี้เริ่มส่งออกได้บ้างแล้วในกลุ่มสินค้าเกษตร เป็นต้น และผ่านตลาดที่มีข้อตกลงกันเป็นพิเศษ ในระยะแรก ถ้าทำได้เช่นนี้ การจ้างงานของอุตสาหกรรมส่งออกจะเริ่มฟื้นตัวและสามารถชะลอการปลดคนงาน และ/หรือเพิ่มชั่วโมงทำงานให้กับแรงงานได้มากขึ้น

ส่วนการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และลดการตกงานของบัณฑิตจบใหม่รวมถึงคนที่ตกงาน การผ่อนผันมาตรการต่างๆ โดย ศบค. ให้กิจการบางประเภทเปิดดำเนินการได้ จะเป็นแหล่งจ้างงานให้คนกลุ่มนี้ แต่กิจการต้องได้รับมาตรการฟื้นฟูของรัฐที่เหมาะสม ทำให้ธุรกิจเข้มแข็งขึ้น สำหรับกลุ่มที่ธุรกิจยังดำเนินอยู่ได้และกลุ่มที่เริ่มฟื้นตัว (กลุ่ม 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดูว่าพวกเขายังขาดปัจจัยด้านใดก็ควรส่งเสริม/สนับสนุนให้ตรงเป้าเพื่อให้พวกเขาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

การเข้าไปช่วยฟื้นฟูธุรกิจอุตสาหกรรมกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ให้กลับมาฟื้นตัวและอยู่ได้กลับมามีกำไรเป็นงานยาก แต่จะต้องช่วยเหลือพวกเขาโดยจะต้องเข้าไปศึกษาพวกเขาอย่างใกล้ชิดว่าพวกเขาต้องการอะไรเช่น การผ่อนชำระหนี้เก่าหรือพักหนี้เก่าเอาไว้ก่อน หาเม็ดเงินใหม่มาใช้เป็นทุนหมุนเวียนไปจนกว่าจะฟื้นตัว การใช้มาตรการด้านภาษี การสนับสนุนในการหาช่องทางตลาดใหม่ๆ โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็จะต้องปรับปรุงตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม (ก่อนวิกฤติโควิด-19) จึงจะสามารถแข่งขันและอยู่รอดได้

ถ้าทำได้เช่นนั้น ความต้องการแรงงานจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ความต้องการแรงงานอาจจะไม่เหมือนเดิม แรงงานเก่า แรงงานใหม่ต้องตื่นตัวในการ up-skill และ re-skill เน้นด้านพหุทักษะ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกครั้ง เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในปีต่อๆไป อย่างไรก็ตามมีข้อเสนอแนะเร่งด่วนที่ควรทำดังนี้

ข้อเสนอแนะเร่งด่วน (Quick win)

จากข้อมูลประมาณการข้างต้นจะเห็นว่าสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทั้งทั่วโลกและในประเทศไทยยังน่าจะยืดยาวไปอีกนานนับปีกว่าจะกลับมาเป็น New Normal ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลกและของประเทศไทยไปอีกหลายปีเนื่องจากการค้าขายในตลาดโลกและการเดินทางท่องเที่ยวจากต่างประเทศยังจำกัด ประเทศไทยต้องพึ่งปัจจัยในประเทศเป็นสำคัญในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างน้อยจนกว่าจะเห็นการเติบโตเศรษฐกิจของไทยเป็นบวก ซึ่งจากการประเมินของสถาบันทางเศรษฐกิจมองว่าน่าจะลากยาวไปจนถึงปี 2565

ถ้าเป็นเช่นนี้ด้านตลาดแรงงานก็จะมีคนว่างงานและคนอยู่ในข่ายที่จะตกงานสูงดังที่ได้ประมาณการไว้เป็นจำนวนมากกว่า 3 ล้านคนซึ่งรวมถึงคนทำงานไม่เต็มเวลามากกว่า 14 ล้านคน (ในไตรมาส 2) ซึ่งตลาดแรงงานต้องการรูปแบบการทำงานที่แตกต่างไปจากเดิมนั่นก็คือการทำงานในตลาดแรงงานที่ยืดหยุ่น (Flexible works) เนื่องจากมีตำแหน่งงานเต็มเวลาจำกัดแต่ยังมีงาน part-time ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของนายจ้างที่ธุรกิจบางประเภทไม่สามารถดำเนินกิจการได้เต็มเวลา ถ้าจะต้องจ้างงานเต็มเวลาคงสู้ค่าใช้จ่ายไม่ไหวในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำจากการระบาดของ Covid-19 อาจเลือกที่จะปิดกิจการทำให้โอกาสในการจ้างงานลดลงไปอีก

อีกทั้งจริตการทำงานในตลาดแรงงานยุคใหม่ในรูปแบบของ work from home โดยเฉพาะของคน generation Z ที่ทำงานโดยใช้ multiple skills ทำงานหลายอย่างกับนายจ้างหลายคนการทำงานในลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะเป็นงาน part-time หรือการจ้างงานไม่เต็มเวลาใน 1 วันเป็นการจ้างงานรายชั่วโมงแต่กฎหมายคุ้มครองแรงงานฯและกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำฯไม่คุ้มครองการทำงานในลักษณะนี้

จากที่ผู้เขียนเคยได้รับข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงแรงงานซึ่งเคยใช้ประกาศของกระทรวงแรงงานผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการจ้างงานในรูปแบบ part-time และ/หรือการทำงานเป็นรายชั่วโมงได้ และผู้เขียนเห็นว่าช่วงเวลานี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะเปิดโอกาสให้มีการให้ค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงและ/หรือการจ้างงานไม่เต็มเวลาเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานของผู้ที่ตกงานและผู้ประกอบการที่ยังไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้เต็มที่ โดยที่ผู้ทำงานยังสามารถได้รับการคุ้มครองการทำงานจากกระทรวงแรงงานได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นผู้เขียนมีข้อเสนอดังนี้

  1. ส่งเสริมสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษาที่สนใจทำงาน part-time หรือเมื่อมีเวลาว่างเสาร์-อาทิตย์ สามารถทำงานได้ เพื่อเป็นการหารายได้เสริมและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยใช้ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง อัตราค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง สำหรับนิสิต นักเรียน นักศึกษา (ฉบับที่2) เพื่อให้สถานประกอบการใช้เป็นข้อแนะนำในการจ่ายค่าจ้าง ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไปในขณะนั้นกำหนดค่าจ้างไว้ไม่ต่ำกว่า 40 บาทต่อชั่วโมง (ซึ่งใช้มามากกว่า 6 ปีแล้ว)
  2. สำหรับแรงงานทั่วไป(รวมทั้งผู้สูงอายุ) ที่ประสบความยากลำบากในการหางานทำประจำ (เป็นรายวัน) และนายจ้างก็มีข้อจำกัดในการจ่ายค่าจ้างเป็นรายวัน (ตามกฎหมายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ) แต่มีความประสงค์จะจ้างแรงงาน part-time หรือจ่ายค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ซึ่งขอให้ทางกระทรวงแรงงานโดยคณะกรรมการค่าจ้างได้ออกประกาศอัตราค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ทำนองเดียวกันกับ นิสิต นักเรียน นักศึกษา เช่น วันละไม่ต่ำกว่า 55 บาทต่อชั่งโมง (ค่าจ้างเมื่อคิดเป็นวันจะต้องไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ) โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ อัตราค่าจ้าง เงื่อนไขการทำงาน ลักษณะงานที่ทำได้ (เช่น ไม่ใช้กับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ เป็นต้น) การดูแลคุ้มครองสิทธิประโยชน์ (ถ้า พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานดูแลไม่ถึง) เป็นต้น
  3. สนับสนุนให้กรมการจัดหางานขยายขอบเขตของศูนย์บริการจัดหางานให้ครอบคลุม บริการในรูปแบบ Part-time ให้เกิดผลโดยเร็วเพื่อเป็นทางเลือกให้กับตลาดแรงงานแบบยืดหยุ่น (Flexible labor Market)