สถานการณ์โควิด-19 และประเด็นที่ส่งผลต่อ SMEs

  1. ผลการสำรวจความคิดเห็นของ MSME (ข้อมูลรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มกราคม 2564)  
  1. สถานการณ์แรงงาน การขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนการว่างงานและการเลิกจ้างของผู้ประกันตน  
  1. มาตราการสนับสนุนให้ MSME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ  
  1. การส่งออกของ MSME ในเดือน ธ.ค. 63 มีมูลค่า 74,134.9 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.3% แต่เมื่ออยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐจะมีมูลค่า 2,469.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเท่ากับ 7.4% โดยสัดส่วนของมูลค่า การส่งออกของ MSME ต่อมูลค่าการส่งออกรวม เท่ากับ 12.3% 

การส่งออกของ MSME ในเดือน ธ.ค. 63 มีมูลค่า 74,134.9 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.3% แต่เมื่ออยู่ในรูปดอลลาร์สหรัฐจะมีมูลค่า 2,469.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเท่ากับ 7.4% โดยสัดส่วนของมูลค่า การส่งออกของ MSME ต่อมูลค่าการส่งออกรวม เท่ากับ 12.3% 

การปรับตัวสู่ยุค New Normal ของผู้ประกอบการ MSME  

New Normal คืออะไร ราชบัณฑิตยสภา ได้บัญญัติศัพท์ “New Normal” เพิ่มเข้ามา โดย รศ.มาลีบุญศิริพันธ์คณะกรรมการ บัญญัติศัพท์นิเทศศาสตร์ราชบัณฑิตยสภา ได้อธิบายคํานี้เอาไว้ว่า New Normal แปลว่า ความปกติใหม่ ฐานวิถี ชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนื่องจากมีบางสิ่งมากระทบ จนแบบแผน และแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยอย่างเป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ จึงต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย โดยการปรับเปลี่ยนความปกติใหม่ ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ ชีวิตมนุษย์พฤติกรรม รายได้อาชีพ หรือ แม้กระทั่งความต้องการบริโภค อุปโภค ในชีวิตประจำวัน ด้วยกระบวนการ ที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของ MSME ในการให้บริการหรือการผลิตสินค้า ซึ่งพบว่า พฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่  

1. ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นธุรกิจที่ขายสินค้า/บริการที่ฟุ่มเฟือย จะมีความต้องการ น้อยลง ขณะที่สินค้า/บริการจําเป็น น่าจะยังขายได้แต่ปริมาณอาจลดลง  

2. ผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องสุขภาพ ความสะอาด ความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง ดังนั้นธุรกิจต้องปรับตัวให้ผู้บริโภครู้สึกเชื่อมั่นและมั่นใจในเรื่องความสะอาด และความปลอดภัย ของสินค้า/บริการ  

3. ประชาชนต้องทำ social distancing ต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวรองรับระยะห่าง ทางสังคมของผู้บริโภค  

4. ผู้บริโภคต้องการความมั่นใจ (trust) คือ การตัดสินใจซื้อสินค้า/บริการใดๆ ผู้บริโภคต้องมีความมั่นใจ ในแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคถึงเรื่องความสะอาด ความปลอดภัย และปลอดเชื้อโรค ในด้านผู้ประกอบการ MSME ต้องมีการปรับตัว และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สามารถ รับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสามารถได้ประโยชน์จากโอกาส ทางการตลาดใหม่ๆ จากสถานการณ์นี้ดังนี้  

1. ผู้ประกอบการพิจารณา product design/ service design และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อปรับตัว รองรับสถานการณ์ COVID-19  

2. ช่องทางการขายออนไลน์จะกลายเป็นทั้งช่องทางปกติ และช่องทางรอดในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ COVID-19  

3. บริหารธุรกิจด้วยความยืดหยุ่น เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการ ต้องปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว  

4. ผู้ประกอบการพิจารณาการปรับเปลี่ยนโครงสร้างต้นทุนของธุรกิจ ให้สามารถอยู่รอดได้ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เช่น ลดการจ้างงาน หรือใช้เทคโนโลยี ช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อลดต้นทุนในช่วงของการแพร่ระบาดดังกล่าว  

5. คาดว่าตลาดในประเทศจะฟื้นตัวจากสถานการณ์ COVID-19 ก่อน ดังนั้นการทำธุรกิจช่วงนี้ ควรเน้นตลาดในพื้นที่ ในท้องถิ่น และในประเทศกันก่อน นอกจากนี้ สถานการณ์ COVID-19 ยังเป็นตัวเร่ง megatrend ที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่อง digital transformation โดยในช่วงของการแพร่ระบาดนี้ เป็นโอกาสให้ผู้บริโภคได้มีความคุ้นเคยกับการซื้อของ ทางออนไลน์มากขึ้น/ คนนิยมสั่งอาหาร delivery มากขึ้น/ การ work from home ทำให้ค้นพบว่า งานบางอย่างสามารถใช้ digital ช่วยได้เช่น งานประชุม/ การเรียนการสอน สามารถทำผ่าน e-learning ได้ ซึ่งจากตัวอย่างเหล่านี้ หากธุรกิจสามารถปรับตัวได้ จะสามารถอยู่รอดและอยู่ได้ในระยะยาวเมื่อสถานการณ์ COVID-19 จบลง เช่น บางโรงแรมเริ่มมีการนำเทคโนโลยี touchless มาใช้/ ร้านอาหารต้องพิจารณา ช่องทาง delivery/ ร้านขายสินค้าต้องพิจารณาช่องทางขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์  

แนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการ MSME  

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ MSME จำนวน 2,746 ราย จาก 21 สาขาธุรกิจ ใน 6 ภูมิภาค เรื่อง “ความพร้อมและการปรับตัวของ MSME หลังวิกฤติ COVID-19” ระหว่างวันที่ 23 – 30 เมษายน 2563 พบว่า • กิจการส่วนใหญ่ ทั้งธุรกิจรายย่อย (Micro) ขนาดย่อม (Small) และขนาดกลาง (Medium) จะไม่ให้เครดิตลูกค้าและไม่ได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้ คิดเป็นร้อยละ 70.7 รองลงมาคือ ให้เครดิต กับลูกค้าน้อยกว่าที่ได้รับจากเจ้าหนี้ร้อยละ 16.1 ให้เครดิตลูกค้ามากกว่าที่ได้รับจากเจ้าหนี้ ร้อยละ 9.7 และให้เครดิตกับลูกค้าเท่ากับที่ได้รับจากเจ้าหนี้ร้อยละ 3.5 

รูปที่ 1: ระยะเวลาเครดิตการค้าของธุรกิจ SME ที่ให้กับลูกค้าและได้รับจากเจ้าหนี้  

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, 2564 

รูปที่ 2: จำแนกตามขนาดวิสาหกิจ   

ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) 

ธุรกิจ MSME ส่วนใหญ่ยังไม่มีการให้บริการ delivery ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 64.1 ในขณะที่ธุรกิจ MSME ที่มีบริการ delivery เป็นการขนส่งเอง ร้อยละ 24.0 และใช้บริการ delivery ภายนอก ร้อยละ 11.9  

ธุรกิจ MSME สามารถรับชําระเงินผ่านทางออนไลน์ได้ (โอนเงิน/ Prompt Pay/ หรือ อื่นๆ) มีร้อยละ 79.3 แต่อีกร้อยละ 20.7 ยังไม่สามารถรับชําระเงินผ่านทางออนไลน์ โดยส่วนใหญ่ เป็นผู้ประกอบการร้านอาหารและร้านโชห่วย 

รูปที่ 3: ธุรกิจ MSME ที่ให้บริการส่งสินค้าและบริการ (Delivery) 

ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) 

รูปที่ 4: ธุรกิจ MSME ที่สามารถชำระเงินผ่านทางออนไลน์ 

ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) 

ธุรกิจ MSME ส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 61.4 ยังไม่มีช่องทางการขายผ่านทางออนไลน์ในขณะที่ ธุรกิจ MSME ที่มีช่องทางการขายผ่านทางออนไลน์คิดเป็นร้อยละ 38.6 ซึ่งช่องทางการขายผ่าน ทางออนไลน์ที่ขายดีที่สุดของ 2 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่  

1. กลุ่มธุรกิจทั่วไป ช่องทางการขายผ่านทางออนไลน์ที่ขายดีที่สุดคือ Facebook ร้อยละ 69.9 Line ร้อยละ 15.7 และ Website ร้อยละ 6.1 ตามลำดับ  

2. ธุรกิจร้านอาหาร ช่องทางการขายผ่านทางออนไลน์ที่ขายดีที่สุดคือ Facebook ร้อยละ 36.4 Grab ร้อยละ 33.5 และ food panda ร้อยละ 15.1 ตามลำดับ 

รูปที่ 5: เปรียบเทียบธุรกิจ MSME ที่มีช่องทางการขายออนไลน์  

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์, 2564 

รูปที่ 6: เปรียบเทียบช่องทางการขายออนไลน์ของสินค้าทั่วไป และประเภทร้านอาหาร 

ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), 2564  

พฤติกรรมของลูกค้าหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้ 3 ระดับด้วยกัน คือ ในระดับเพิ่มขึ้น คงเดิมและลดลง จากการที่ ผู้ประกอบการประเมินกลุ่มลูกค้า พบว่า  

1. จะมีการสั่งอาหารผ่านเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเคยชินกับความสะดวกสบาย และมีโปรโมชั่นหลากหลาย ร้อยละ 69.00 

2. การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเลือกร้านและสินค้า ได้หลากหลาย และยังได้รับส่วนลดราคา ร้อยละ 71.70  

3. การหลีกเลี่ยงไปในพื้นที่ที่มีคนจำนวนมากเพิ่มขึ้น เนื่องจากประชาชนยังคงมีความกังวล ต่อการติดเชื้อ ร้อยละ 70.60 

4. การทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากความสะดวกสบายและลดการติดเชื้อโรค จากการสัมผัสเงินสด ร้อยละ 81.90 

5. การทำงานที่บ้าน (Work from home) คงเดิม เนื่องจากรูปแบบงานบางประเภท ไม่สามารถนำกลับมาทำที่บ้านได้และการทำงานที่ทำงานได้ประสิทธิภาพมากกว่า ร้อยละ 60.80 

6. การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องการลดการพบปะ กับกลุ่มเพื่อนและคนใกล้ชิด ร้อยละ 63.40  

7. การเลือกสินค้า/บริการที่ดีและปลอดภัยต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากลูกค้าต้องการดูแล รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ร้อยละ 78.50 

รูปที่ 7: ความคิดเห็นของธุรกิจ SME ต่อพฤติกรรมของลูกค้าในช่วงสถานการณ์โควิด-19  

ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 

แผนการปรับตัวทางธุรกิจ SME หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่า ผู้ประกอบการ MSME ส่วนใหญ่มีแผนการปรับตัวทางธุรกิจร้อยละ 84.80 และ ยังไม่มีแผนการปรับตัวและรอดูสถานการณ์ร้อยละ 15.20 โดยผู้ประกอบการ MSME ที่มีแผนการ ปรับตัวทางธุรกิจส่วนใหญ่จะปรับตัวในด้านการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น รองลงมา คือ การพัฒนาคุณภาพสินค้าและรูปแบบบรรจุภัณฑ์และการเพิ่มประเภทสินค้าและรูปแบบการให้บริการ 

รูปที่ 8: แผนการปรับตัวของธุรกิจในช่วงสถานการณ์โควิด-19  

ที่มา:  สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 

ปัญหาและอุปสรรคในการขอรับความช่วยเหลือจากมาตรการของภาครัฐ พบว่า การขาดคุณสมบัติ ในการขอรับความช่วยเหลือ เป็นปัญหาและอุปสรรคสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ความล่าช้า ข้อผิดพลาด ในการตรวจสอบและขั้นตอนที่ยุ่งยากของระบบ จำนวนมาตรการและปริมาณการเยียวยามีน้อยเกินไป ข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึง ขาดความชัดเจนและเข้าใจยาก และรูปแบบเงินให้กู้และพักชําระหนี้ ไม่ตรงความต้องการที่แท้จริง 

รูปที่ 9: ปัญหาและอุปสรรคในการขอรับความช่วยหลือจากมาตรการของภาครัฐ  

ที่มา:  สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 

จากรูปที่ 9 พบถึงปัญหาและอุปสรรคในการขอรับความช่วยหลือจากมาตรการของภาครัฐ มากที่สุดได้แก่ ขาดคุณสมบัติในการขอรับความช่วยเหลือ ร้อยละ 39.9 รองลงมา ได้แก่ ความล่าช้า ข้อผิดพลาดในการตรวจสอบ และขั้นตอนที่ยุ่งยากของระบบ ร้อยละ 38.60 และจำนวนมาตรการและปริมาณการเยียวยามีน้อยเกินไปคิดเป็นร้อยละ 8.2   ข้อมูลข่าวสารไม่ทั่วถึง ขาดความชัดเจนและเข้าใจยาก คิดเป็นร้อยละ 7.7 รูปแบบเงินให้กู้และพักชำระหนี้ไม่ตรงความต้องการที่แท้จริง คิดเป็นร้อยละ 3.9 และน้อยที่สุด ได้แก่ อื่นๆ  คิดเป็นร้อยละ 1.6  

รูปที่ 10: มาตรการที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน  

ที่มา:  สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 

จากรูปที่ 10 พบว่า สถานประกอบการมีความต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน มากที่สุดได้แก่ เพิ่มมาตรการช่วยเหลือและเงินเยียวยาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายและทั่วถึง คิดเป็นร้อยละ 32.9 รองลงมาได้แก่ ปรับปรุงขั้นตองของมาตรการความช่วยเหลือให้รวดเร็วและถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 24.4 และ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คิดเป็นร้อยละ 11.0 ควบคุมการระบายของไวรัสโควิด-19 คิดเป็นร้อยละ 8.4 ควบคุมราคาสินค้าและสาธารณูปโภค คิดเป็นร้อยละ 5.7 ลดภาษีเกี่ยวกับธุรกิจ เช่น ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างและภาษีป้าย คิดเป็นร้อยละ 4.9 อยากให้ภาครัฐออกนโยบายเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ คิดเป็นร้อยละ 4.7 การประชาสัมพันธ์ข้อมูลมาตรการให้ทั่วถึงและชัดเจน คิดเป็นร้อยละ 3.2 อยากให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาเรื่องอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 2.6 และน้อยที่สุดได้แก่ อยากให้ภาครัฐช่วยจัดการและแก้ไขปัญหาการว่างงาน 2.3  

ตารางที่ 1: สรุปการจัดตั้งและยกเลิกกิจการของนิติบุคคล 

การจัดตั้งธุรกิจใหม่ ในเดือน ธ.ค. 63 มีจำนวน 3,287 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.1% โดยประเภทธุรกิจ จัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 320 ราย คิดเป็น 9.7% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 200 ราย คิดเป็น 6.1% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 116 ราย คิดเป็น 3.5% ตามลำดับ 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ MSME มาตั้งแต่ต้นปี 2563 และยังมีการแพร่ระบาดครั้งใหม่ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนั้น ในช่วงระหว่างวันที่ 1 – 15 ก.พ. 64 ที่มีต่อมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมทั้งวิธีการ ปรับตัวฝ่าวิกฤตโควิด-19 ของ MSME เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐกำหนดมาตรการช่วยเหลือ และจัดทำนโยบายส่งเสริมได้ตรงความ ต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวบรวมความเห็นจากผู้ประกอบการจำนวน 660 ราย ดังนี้ 

รูปที่ 11 ผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 ต่อธุรกิจ SMEs จำแนกตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 

ที่มา : ฝ่ายวิเคราะห์สถานการณ์และเตือนภัยทางเศรษฐกิจ, (2564) 

ผลกระทบต่อธุรกิจ MSME จำแนกตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พบว่า ธุรกิจในภาคบริการได้รับผลกระทบมากกว่ากิจกรรมทาง เศรษฐกิจอื่น ๆ ในทุกด้าน เนื่องจากธุรกิจในภาคบริการมีความเกี่ยวข้องกับการเดินทาง และภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่หายไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ในขณะที่มาตรการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวของภาครัฐ ทั้งโครงการเราเที่ยวด้วยกัน หรือ การเพิ่มวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ แม้ว่าจะช่วยกระตุ้นการเดินทางภายในประเทศได้บ้าง แต่ยังไม่กลับสู่ระดับปกติก่อนการแพร่ระบาดฯ นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครั้งใหม่ตั้งแต่ช่วงปลาย ธ.ค. 63 ซึ่งเป็นช่วงใกล้เทศกาลปีใหม่ ซึ่งโดยปกติประชาชนจะมีการเดินทาง ท่องเที่ยว ทำให้ในช่วงต้นปี 2564 ธุรกิจภาคบริการยังคงได้รับผลกระทบอยู่ค่อนข้างมาก รวมทั้งการขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวไทย จะทำให้ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ช้ากว่าธุรกิจในภาคอื่น ๆ  

นอกจากนี้ การสำรวจ ดังกล่าว MSME ยังได้ประเมินระยะเวลาที่คาดว่าจะสามารถประคองธุรกิจต่อไปได้ภายใต้สถานการณ์การ แพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่า MSME ในภาพรวมมีระยะเวลาที่คาดว่าจะสามารถประคอง ธุรกิจต่อไปได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 6.1 เดือน 

จากการสำรวจช่วงปลายปี 2563 พบว่า ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคมจำนวน 485,053 แห่ง มีลูกจ้าง ผู้ประกันตนจำนวน 16,432,965 คน แบ่งออกเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (พนักงานบริษัทเอกชน, ลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีนายจ้าง) จำนวน 11,124,209 คน เป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แต่ลาออกจากงานมีความประสงค์ส่งประกันสังคมต่อ) จำนวน 1,799,786 คน และผู้ประกันตนมาตรา 40 (ฟรีแลนซ์หรือแรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระ) จำนวน 3,508,970 คน 

ตารางที่ 2: สินค้าส่งออก  

ลำดับที่ รายการ อัตราการเติบโต 
อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ +48.8% 
อัญมณีและเครื่องประดับ -10.5% 
เครื่องจักรและคอมพิวเตอร์น -1.1% 
ยางและผลิตภัณฑ์ยาง +23.6% 
ผลไม้สด -11.6% 

จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดการจ้างงานหรือต้องเลิกกิจการ ส่งผลกระทบต่อแรงงานนอกระบบ ที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากไม่ได้รับความคุ้มครองในระบบประกันสังคม ที่ช่วยจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงาน เจ็บป่วยหรือถูกเลิกจ้าง ซึ่งช่วงเดือนธันวาคมปี 2563 พบว่า มีแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมขอรับสิทธิประโยน์ทดแทนกรณีว่างงาน จำนวน 395,013 คน เพิ่มขึ้นถึง 131.7% (YoY) โดยสาขาธุรกิจ 3 อันดับแรกที่มีการขอรับสิทธิดังกล่าวขยายตัว ได้แก่ สาขาที่พักแรม/ร้านอาหาร เพิ่มขึ้น 474.1% สาขาการผลิตเพิ่มขึ้น 129.4% และสาขาขนส่ง เพิ่มขึ้น 190.7% สำหรับในกรณีเลิกจ้าง พบว่า มีการขอรับสิทธิประโยชน์ ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างจำนวน 190,079 คน เพิ่มขึ้นถึง 563.9% (YoY) โดยสาขาธุรกิจ 3 อันดับแรกที่มีการขอรับสิทธิดังกล่าว ได้แก่ สาขาที่พักแรม/ร้านอาหาร เพิ่มขึ้น 3,811.1% รองลงมาคือ สาขาขนส่ง และสาขาการผลิต เพิ่มขึ้น 814.2% และ 430.9% ตามลำดับ (ข้อมูลเศรษฐกิจแรงงาน-ธันวาคม 2563 สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน) 

ตารางที่ 3: อัตราการเติบโตของประเภทของตลาดส่งออก ตลาดหลัก  

ลำดับ ประเภท/กลุ่มประเทศ อัตราการเติบโต ของตลาดส่งออก 
1. กลุ่มอาเซียน -22.1% 
2. ญี่ปุ่น -14.6% 
3. สาธารณรัฐประชาชนจีน -0.5% 
4. สหรัฐอเมริกา +56.2% 
5. สหภาพยุโรป -14.8% 

จากตารางที่ 3 พบกว่า กลุ่มประเทศที่อัตราการเติบโตของตลาดส่งออกขยายตัวมากที่สุดได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีอัตราการเติบโต ร้อยละ 56.2 ส่วนกลุ่มประเทศอื่นๆ  มีอัตราการขยายตัว ได้แก่ กลุ่มประเทศอาเซียน ร้อยละ -22.1 รองลงมาได้แก่ ญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ -14.6 สหภาพยุโรป คิดเป็นร้อยละ -14.8 และน้อยที่สุดได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน คิดเป็นร้อยละ -0.5 

รูปที่ 12: มูลค่าการส่งออกของ MSME ไตรมาสแรกของปี 2563 จำแนกตามตลาดส่งออกหลัก  

ที่มา:  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2564) 

GDP MSME ไตรมาสแรกของปี 2563 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (GDP MSME) ไตรมาสแรก ของปี 2563 หดตัวร้อยละ 3.3 ลดลงจากในไตรมาสก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยมีมูลค่า 1,450,476 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP รวมทั้งประเทศเท่ากับกับร้อยละ 34.7 ลดลงจากร้อยละ 35.7 ในไตรมาสที่แล้ว ในขณะที่ GDP ของประเทศหดตัวร้อยละ 1.8 (ตามการประกาศของสภาพัฒน์ ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2563) การที่ GDP MSME ไตรมาสแรกของปี 2563 หดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2558 นั้น เป็นผลมาจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นหลัก โดย GDP ของวิสาหกิจ รายย่อย (Micro) ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฯ มากที่สุด คือหดตัวถึงร้อยละ 4.3 รองลงมาได้แก่ วิสาหกิจ ขนาดย่อม (SE) และวิสาหกิจขนาดกลาง (ME) ที่หดตัวร้อยละ 3.8 และ 2.6 ตามลำดับ ในส่วนของ GDP MSME ในสาขาธุรกิจที่หดตัวอย่างเห็นได้ชัด คือ ธุรกิจบริการที่พักแรมและบริการ ด้านอาหาร ซึ่งหดตัวถึงร้อยละ 24.1  

รวมทั้ง GDP MSME ภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 2.7 จากการหดตัวของ อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมวัตถุดิบ ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งยังคงขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังส่งผลกระทบทั้งในด้านส่งออก และด้านการท่องเที่ยว ที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของ MSME ค่อนข้างมาก โดยพบว่า GDP MSME มีการหดตัวในวิสาหกิจทุกขนาด และ หดตัวมากกว่าภาพรวมทั้งประเทศ และคาดว่าในไตรมาสที่สองของปี 2563 ผลกระทบจะยิ่งทวีความรุนแรง มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการหยุดกิจการ หรือแม้กระทั่งการปิดกิจการ ซึ่งจะส่งผลทางลบต่อการจ้างงาน รายได้และการบริโภคภายในประเทศ 

รูปที่ 13: อัตราการขยายตัวของ GDP และ GDP MSME ปี 2557 ถึงปี 2563  

ที่มา:  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2564) 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ 
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เกียรติศักดิ์  จันทร์แก้ว
29 มกราคม 2564