tdri logo
tdri logo
บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG
11 มีนาคม 2022

เนื้อหา บทคัดย่อ

รัฐบาลไทยได้กำหนดเป้าหมายให้เศรษฐกิจ BCG เป็นกลจักรสําคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยและกระจายรายได้ให้แก่เศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจ BCG ประกอบไปด้วย

  • B = เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เป็นการนําความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาพัฒนาต่อยอดจากฐานความเข้มแข็งเดิม นั่นก็คือ ทรัพยากรชีวภาพ หรือผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีธาตุอาหารสูง เป็นต้น
  • C = เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การนําทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุด ที่สําคัญคือการมุ่งไปที่ zero waste หรือการลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ ด้วยการปรับกระบวนการผลิต เช่น การเปลี่ยนของเสียจากการผลิต
  • G = เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้เอนไซม์จากจุลินทรีย์เพื่อการฟอกกระดาษ การใช้สารชีวภัณฑ์กําจัดแมลงศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมี เป็นต้น

รัฐบาลไทยควรมีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ของภาคธุรกิจไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศควรมีบทบาทสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านต่างประเทศ และสอดคล้องกับพันธกิจของกระทรวง ทั้งการสนับสนุนทางตรงแก่ภาคธุรกิจและการสนับสนุนผ่านหน่วยงานรัฐอื่นๆ โดย กระทรวงการต่างประเทศ สามารถมีบทบาทในการสนับสนุนได้ใน 3 แนวทาง คือ 1) สนับสนุนการเรียนรู้และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ 2) ส่งเสริมการทําตลาดของสินค้าและบริการของผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศ 3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้าน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด