tdri logo
tdri logo
แนวปฏิบัติการตรวจแรงงานโดยให้ความสำคัญแก่แรงงานหญิงข้ามชาติ ขจัดความรุนแรง และการคุกคามลูกจ้างทำงานบ้านและแรงงานบังคับ
7 มีนาคม 2022

เนื้อหา บทคัดย่อ

การตรวจแรงงาน เป็นการที่เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อดูแลให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และคุ้มครองให้ลูกจ้างมีสภาพการจ้าง ค่าตอบแทนในการทำงาน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่ดีจากนายจ้าง รวมไปถึงสภาพการทำงาน ความปลอดภัยในขณะที่ลูกจ้างปฏิบัติงานให้แก่นายจ้าง

มาตรฐานในการตรวจแรงงาน อนุสัญญาว่าด้วยการตรวจแรงงาน ค.ศ. 1947 (ฉบับที่ 81) ถือเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการตรวจแรงงาน ซึ่งกำหนดให้ระบบการตรวจแรงงานต้องดำเนินการ 3 ประการดังนี้

  1. ให้ความมั่นใจในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสภาพการทำงานและการคุ้มครองคนทำงานในขณะที่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน อาทิ บทบัญญัติว่าด้วย ชั่วโมงการทำงาน ค่าจ้าง ความปลอดภัย สุขภาพอนามัยและสวัสดิการ การจ้างงานเด็กและผู้เยาว์ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เท่าที่อยู่ภายใต้อำนาจการบังคับใช้กฎหมายของพนักงานตรวจแรงงาน
  2. จัดให้มีคำแนะนำและข้อมูลข่าวสารทางวิชาการเกี่ยวกับวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการปฏิบัติตามบทบัญญัติทางกฎหมายแก่นายจ้างและคนทำงาน
  3. แจ้งให้หน่วยงานที่มีอำนาจทราบถึงข้อบกพร่องหรือการละเมิดที่ไม่อยู่ภายใต้บทบัญญัติทางกฎหมายซึ่งบังคับใช้อยู่

แนวปฏิบัติการตรวจแรงงานโดยให้ความสำคัญแก่แรงงานหญิงข้ามชาติ ขจัดความรุนแรง และการคุกคามลูกจ้างทำงานบ้านและแรงงานบังคับ ฉบับนี้ นำเนื้อหาบางส่วนของคู่มือการตรวจแรงงานฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) มาปรับปรุงตามข้อค้นพบในโครงการ “Developing an updated National Labour Inspection Guideline with attention to Women Migrant Workers; Violence and Harassment; Domestic Workers; and Forced labour” และประเด็นที่ได้จากการอบรมพนักงานตรวจแรงงานภายใต้โครงการเดียวกัน รวมทั้งสิ้นจำนวน 11 รุ่น ในปี พ.ศ. 2564-2565 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Safe and Fair:Realizing women migrant workers’ rights and opportunities in the ASEAN region และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด