การศึกษาผลกระทบและแนวทางการขับเคลื่อนเชิงปฏิบัติในระยะเปลี่ยนผ่านของนโยบายยานยนต์ไร้มลพิษ (ZEV) ต่อเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สังคม ภาคการเกษตร และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้กำหนดวิสัยทัศน์ ให้ในปี พ.ศ. 2578 ประเทศไทยผลิตรถยนต์ใหม่ในประเทศเป็นยานยนต์ไร้มลพิษ Zero Emission Vehicle (ZEV) ทั้งหมด

เร่งรัดให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก (EV hub) และแสดงจุดยืนในการลดภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านไปสู่การยานยนต์ไฟฟ้าส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งสะท้อนผ่านตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่วิเคราะห์จากการบริโภคภายในประเทศ การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคัฐ การส่งออกและการนำเข้า อีกทั้งจำเป็นต้องมีเตรียมความทางด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้า การวางแผนการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้เพียงพอและครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชน

เพราะฉะนั้น ภาครัฐควรสนับสนุนนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าควบคู่กับการส่งเสริมยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (xEV) จนกระทั่งประเทศไทยมีความพร้อมในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด จึงค่อยเน้นสนับสนุนยานยนต์ไร้มลพิษที่สามารถพัฒนาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในอนาคตอย่างเทคโนโลยียานยนต์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้

โดยในช่วงเริ่มต้นควรเน้นขับเคลื่อนกับรถโดยสารสาธารณะเป็นกลุ่มแรก นอกจากนี้ การศึกษาได้นำเสนอ แผนที่นำทางในการปฏิบัติ สำหรับปี 2564-2583 ได้แก่ (1) การสร้างอุปสงค์ในประเทศต่อยานยนต์ไฟฟ้าและเชื้อเพลิงชีวภาพ (2) การส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า (3) การวางแผนและเตรียมพร้อมด้านพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษต่ำ แล ะ(4) การกำหนดแนวทางการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการขับเคลื่อนนโยบาย

Download