โครงการย่อย 2 นโยบายและมาตรการเพื่อรองรับและป้องกันผลกระทบของ COVID-19 ต่อแรงงานและการจ้างงาน ระยะที่ 2

โครงการย่อย 2 นโยบายและมาตรการเพื่อรองรับและป้องกันผลกระทบของ COVID-19 ต่อแรงงานและการจ้างงาน ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาต่อเนื่องมาจากระยะที่ 1 การวิเคราะห์การใช้นโยบายและมาตรการของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นความช่วยเหลือในการหางาน การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ การฝึกอบรม เงินอุดหนุนค่าจ้าง การจ้างงาน เป็นต้น ปัจจุบันสถานการณ์ตลาดแรงงานของไทยมีแนวโน้มดีขึ้นแต่ยังมีมาตรการด้านแรงงานหลายอย่างที่มีความทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงานและขาดประสิทธิภาพ

โครงการวิจัยนี้จึงนำเสนอแนวทางการพัฒนาแรงงานเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศรายได้สูง (High-income Thailand : HIT) ด้วยอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สอดคล้องกับ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวหรือ “Green S-Curve Plus : GSCP” ซึ่งประกอบไปด้วย อุตสาหกรรมพลังงานสีเขียว อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารสีเขียว อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสีเขียว อุตสาหกรรมการแพทย์และการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมดิจิทัล เมื่อนำมาใช้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาแรงงานให้มีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงขึ้น เพิ่ม แรงงานทักษะสูงในกลุ่ม STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) ยกระดับ ทักษะในกลุ่มที่ไม่ได้จบการศึกษาสาย STEM สร้าง ศักยภาพของผู้ประกอบการ กลุ่ม SMEs

ทั้งนี้การปรับโครงสร้างแรงงานเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศไปสู่ HIT ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน เพื่อจัดทำนโยบายด้านแรงงานที่พาประเทศไทยไปสู่ประเทศรายได้สูงภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงในอนาคต

อ่านเพิ่มเติมได้ใน รายงานการวิจัยและนวัตกรรมฉบับสมบูรณ์โครงการย่อย 2 นโยบายและมาตรการเพื่อรองรับและป้องกันผลกระทบ ของ COVID-19 ต่อแรงงานและการจ้างงาน ระยะที่ 2 (Policies and measures to support and prevent the impact of COVID – 19 on Labor and Employment Phase 2) ซึ่งได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ