tdri logo
tdri logo
15 มกราคม 2024
Read in Minutes

Views

ความรู้เท่าทันก่อนการตัดสินใจใช้กัญชา

ความรู้เท่าทันก่อนการตัดสินใจใช้กัญชาเป็นเรื่องที่สำคัญ นักวิชาการ TDRI รวบรวมกลุ่มคำถามเบื้องต้นเพื่อใช้ในการประเมินว่า ผู้ที่เสพกัญชาหรือผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกัญชามีความรู้ที่เพียงพอหรือไม่

การบริโภคอย่างชาญฉลาด ในแง่หนึ่งหมายถึง การมีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอในการเลือกบริโภคอย่างเหมาะสม ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองในการ “เลือก” บริโภคผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัยและสมประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดี (สสส.) การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกัญชาก็เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ผู้บริโภคควรที่จะต้องมีความเข้าใจที่เพียงพอ เพื่อที่จะรู้เท่าทันและตัดสินใจเลือกบริโภคโดยพิจารณาผลประโยชน์และความเสี่ยงต่างๆ อย่างรอบด้าน

ผู้เขียนได้รวบรวมกลุ่มคำถามเบื้องต้นเพื่อใช้ในการประเมินว่า ผู้ที่เสพกัญชาหรือผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกัญชามีความรู้ที่เพียงพอหรือไม่?

ซึ่งผู้เขียนคิดว่าจะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก หากผู้ที่กำลังเสพกัญชาหรือกำลังบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกัญชาอยู่ หรือ ผู้ที่กำลังคิดว่าจะทดลองใช้ ได้ทำแบบทดสอบนี้ดูเพื่อประเมินตัวเองว่ามีความรู้เพียงพอที่จะบริโภคอย่างชาญฉลาดหรือไม่? ดังนี้

คำถาม คำตอบ
1.อาการแพ้กัญชาเป็นอย่างไร? เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจไม่ออก เหงื่อแตก ผื่นขึ้น หมดสติ
2.อาการเสพกัญชาเกินขนาด เป็นอย่างไร?ปากแห้ง เมา วิงเวียนศีรษะ อาเจียน ขยับตัวไม่ได้
3.ผู้ที่ทดลองเสพกัญชา 100 คนจะมีโอกาสที่จะเสพติดกัญชากี่คน?9 คน
4.ผู้ที่เสพกัญชาเป็นประจำเป็นเวลานาน จะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างไร?อารมณ์แปรปรวน เกียจคร้าน
5.กัญชาสามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคอะไรได้บ้าง?โรคปลอกเส้นประสาทแข็ง โรคลมชักที่ดื้อต่อยาแผนปัจจุบัน โรคที่มีอาการปวดตามเส้นประสาท อาการคลื่นไส้ อาเจียน ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS ที่มีน้ำหนักตัวน้อย และการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และมีอีก 5 โรคที่เป็นการรักษาทางเลือก ได้แก่ โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรควิตกกังวลทั่วไป โรคปลอกปลายประสาทอักเสบ โรคมะเร็งระยะสุดท้าย
6.ใครบ้างที่ไม่ควรใช้กัญชาเพราะมีผลเสียต่อสุขภาพสูง?เด็กและเยาวชนที่อายุน้อยกว่า 25 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่รับประทานยาที่การใช้กัญชาส่งผลต่อการรักษา เช่น ผู้ป่วยไตวาย ผู้ป่วยที่มีอาการการทำงานของตับบกพร่อง ผุ้ป่วยที่กินยาวาร์ฟาริน เป็นต้น
7.ผู้ที่กำลังเสพกัญชาไม่ควรทำกิจกรรมใดบ้าง?ขับรถ ใช้งานเครื่องจักร
8.การบริโภคอาหารที่ผสมกัญชา จะรู้สึกถึงฤทธิ์ของกัญชาเมื่อใด?30 นาที- 1.5 ชั่วโมง (แล้วแต่คน)
9.การเสพกัญชา จะรู้สึกถึงฤทธิ์ของกัญชาเมื่อใด?ทันที
10.ปริมาณการบริโภคสาร THC ในกัญชาที่เหมาะสม ไม่ควรเกินกี่มิลลิกรัมต่อวัน?5 มิลลิกรัม
11.ผู้ที่ใช้กัญชาเป็นเวลานานมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอะไรบ้างที่สูงมากกว่าผู้ที่ไม่ใช้?โรคทางจิตเวช โรคทางปอด โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคทางช่องปาก
12.การปฐมพยาบาลผู้ที่แพ้ หรือ เสพกัญชาเกินขนาดต้องทำอย่างไรบ้าง?ดื่มน้ำ ทานมะนาวผสมเกลือ เคี้ยวพริกไทย ดื่มน้ำขิง อาบน้ำ ทานของหวาน ให้นอนในที่อากาศถ่ายเท (แล้วแต่อาการ)
13.หากพบผู้ที่มีอาการติดกัญชา ต้องติดต่อหน่วยงานไหน?สถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด หรือ สายด่วน 1165
14.หากพบผู้ป่วยจิตเวชที่ติดกัญชา ต้องติดต่อหน่วยงานไหน?สถานบำบัดผู้ป่วยทางจิต หรือ สายด่วน 1669
15.ท่านทราบถึงแหล่งที่มาและคุณภาพของกัญชามากน้อยเพียงใด? กัญชามีการแบ่งเกรดตามคุณภาพ แต่ความน่ากังวลใจ คือ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบคุณภาพจะสูงมากทำให้กัญชาอาจจะมีคุณภาพต่ำหรือมีสารปนเปื้อนได้ หากไม่ได้ซื้อจากแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ

ท่านที่ได้ทำแบบสอบถามข้างต้นคงพอจะประเมินตนเองได้ในระดับหนึ่งว่าตนเองมีความรู้เพียงพอที่จะบริโภคกัญชาได้อย่างชาญฉลาดมากน้อยเพียงใด?

บทความโดย : ดร. นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส ทีมนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ทีดีอาร์ไอ

ข้อเขียนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจเพื่อรองรับการปลดล็อกกัญชาของภาครัฐ: ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ด้านกฎหมาย และภาษีสรรพสามิต ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เผยแพร่ครั้งแรก : เว็บไซต์ ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 5 ธันวาคม 2566

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด