ทีดีอาร์ไอ ร่วมกับ ทีซีเอ เสนอปรับ กม. จัดจ้างก่อสร้างภาครัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย

ทีดีอาร์ไอร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือทีซีเอ จัดงานสัมมนาสาธารณะเรื่อง “ปรับกฎหมายจัดจ้างก่อสร้างภาครัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย”  เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยนางสาวลิซ่า งามตระกูลพานิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ เปิดการสัมมนาถึงความเป็นมาของการศึกษานี้ โดยที่พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีบทบาทอย่างสูงต่อการพัฒนาของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในโอกาสที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับใช้มาครบระยะ 5 ปี ตามที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้ต้องมีการทบทวน สมาคมฯ จึงร่วมกับทีดีอาร์ไอจัดให้มีการศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุง ร่วมกับการปรึกษาหารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่ง ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและหัวหน้าคณะนักวิจัยประจำโครงการกล่าวถึงภาพรวมของการศึกษาว่า การจัดจ้างก่อสร้างของภาครัฐมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 60 ของตลาดก่อสร้าง จึงมีผลอย่างมากในการกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย หากสามารถปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติบางส่วน เช่น ให้เบิกจ่ายตรงเวลามากขึ้น และลดเวลาการหยุดชะงักของงานลงได้ จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ขยายตัวได้มากกว่าร้อยละ 0.5 ต่อปี  ข้อเสนอการปรับปรุงได้แก่ การปรับแนวคิดในกฎหมายจากการเน้น “ประโยชน์หน่วยงานของรัฐ” ไปเป็น “ประโยชน์สาธารณะ” การปรับแบบสัญญาจัดจ้างก่อสร้างให้เป็นธรรมมากขึ้น และสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติสากล โดยยึดตามแบบสัญญามาตรฐานของ FIDIC การปรับกลไกการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง การกำหนดเงื่อนไขการจัดจ้างที่โปร่งใส ไม่สร้างต้นทุนโดยไม่จำเป็น และไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของอุตสาหกรรม รวมถึงการสร้างกลไกในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบ ในการนำเสนอผลการศึกษาโดยนายศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ นักวิชาการประจำโครงการ ได้ยกตัวอย่างปัญหาสำคัญที่ผู้ประกอบการก่อสร้างพบ เช่น ผู้ก่อสร้างต้องรับภาระต้นทุนการแก้ไขงานจากแบบก่อสร้างที่ผิดพลาด ทั้งที่ควรเป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบหรือผู้ตรวจแบบ การคำนวณราคากลางที่ไม่สอดคล้องกับต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง หรือสูตรค่า K ที่ไม่ได้ทบทวนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป […]

ทีดีอาร์ไอ ประเมินคุณภาพภาครัฐไทย ชี้ไม่พร้อมรับโลกใหม่ ตอบสนองล่าช้า แก้ปัญหาซับซ้อนไม่ได้ แนะปรับสู่ “รัฐเครือข่าย” ขยายความร่วมมือ ลดรวมศูนย์

งานสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอ ประจำปี 2564 “ความท้าทายและจินตนาการแห่งโลกใหม่: โมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศหลังโควิด-19”  นักวิชาการทีดีอาร์ไอเผยภาครัฐไทยแบบเดิมไปต่อไม่ไหวในโลกใหม่หลังโควิด-19 ทั้งตอบสนองช้า ทำงานแยกส่วนและมีปัญหาด้านการจัดการ แนะหนทางปรับตัวทันโลกใหม่ ต้องทำงานแบบเครือข่าย กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ขยายความร่วมมือกับภาคธุรกิจ-ภาคประชาสังคม ลดยึดติดกฎระเบียบและเปิดกว้างทางการเมือง เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน วันสุดท้ายของงานสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอประจำปี 2564 นาย ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ กล่าวในการนำเสนอ “ปรับรัฐราชการไทย สู่รัฐเครือข่าย ให้ตอบสนองโลกใหม่”ว่าระบบราชการไทยแบบเดิมไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นในโลกใหม่ได้ ภาครัฐไทยตอบสนองช้าต่อปัญหาที่เกิดขึ้นฉับไว อย่างการจัดหาวัคซีนเพื่อรับมือกับวิกฤตโควิดล่าช้า และการทำงานแยกส่วนกันจนไม่สามารถแก้โจทย์ซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับหลายมิติอย่างมลพิษทางอากาศได้ และมีประสิทธิภาพถดถอยลงในด้านการบริหารจัดการโครงการพัฒนาประเทศ ซึ่งตัวอย่างหนึ่งคือการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ที่ไม่น่าจะเพียงพอต่อความต้องการการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในโครงรางรถไฟทางคู่ระยะที่หนึ่งที่กำลังจะเสร็จในปี 2565 ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน    ศุภณัฏฐ์เสนอว่า “ภาครัฐไทยต้องปรับตัวจากการบริหารงานแบบราชการรวมศูนย์ไปสู่“รัฐเครือข่าย” ซึ่งมีหัวใจสำคัญ 2 ประการ ประการแรกคือความร่วมมือกับภาคส่วนอื่น นั้นก็คือการที่ภาครัฐส่วนกลางเองมองเห็นศักยภาพของภาคส่วนอื่นนอกหน่วยรัฐ ทั้งท้องถิ่น ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม และเห็นประโยชน์ร่วมของการทำงานกับภาคส่วนอื่น  หัวใจอีกประการคือความยืดหยุ่น ซึ่งภาครัฐต้องมุ่งที่ไปผลลัพธ์มากกว่าการยึดติดขั้นตอนของตัวเอง และปรับขั้นตอนการทำงานให้เชื่อมต่อเข้ากับภาคส่วนอื่นได้ง่าย พร้อมทั้งกล้าทดลองและยอมรับความล้มเหลวได้” ในการทำงานแบบเครือข่าย รัฐส่วนกลางเองก็ไม่ควรยึดว่าตนเองต้องเป็นผู้ริเริ่ม แต่เปิดกว้างให้ภาคส่วนอื่นนำได้ ทั้งเครือข่ายท้องถิ่น เครือข่ายประชาสังคม และเครือข่ายภาคธุรกิจ ซึ่งที่จริงแล้วประเทศไทยมีตัวอย่างการทำงานเครือข่ายหลากหลายแบบ เช่น กรมสรรพากรจัดกิจกรรม “Hackatax” โดยเชิญภาคธุรกิจเข้ามาทำงานกับเจ้าหน้าที่สรรพากรและแข่งขันกันปรับปรุงบริการด้านภาษี ในจังหวัดเชียงใหม่ มีการสร้างเครือข่ายสุขภาพ “ผ่อดีดี” ในการเฝ้าระวังโรคระบาดในสัตว์ โดยมีการทำแอปพลิเคชันให้คนในพื้นที่รายงานการตายของสัตว์ที่ผิดปกติเข้ามาให้ทีมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทราบ เพื่อการรับมือรักษาพร้อมป้องกันปัญหาได้ทันท่วงที และได้รับความร่วมมือจากภาคธุรกิจเพื่อสังคมอย่างบริษัท OpenDream วิเคราะห์ความเสี่ยงการเกิดโรคระบาด ซึ่งหากมีโอกาสสูง ก็จะส่งข้อมูลให้เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์และสาธารณสุขจังหวัดลงพื้นที่ […]

ทีดีอาร์ไอ เร่ง รัฐตื่นตัว หนุนประชาชนยกระดับทักษะ รับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ทันโลกเปลี่ยน หลังโควิด-19เพื่อให้คนไทยมีงานทำและรายได้ดี

การสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอประจำปี 2564 “ความท้าทายและจินตนาการแห่งโลกใหม่: โมเดลใหม่ในการพัฒนาประเทศหลังโควิด-19” ผู้อำนวยการวิจัย ทีดีอาร์ไอ เผยโควิด-19 เร่งเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจใส่ใจ และเศรษฐกิจสีเขียว เติบโต กระทบโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำให้งานบางอย่างหายไป และคนต้องมีทักษะใหม่ ๆ รับโลกเปลี่ยนแปลง กระตุ้นเตือนรัฐตื่นตัว หนุนให้คนไทยยกระดับทักษะให้สูงขึ้นเพื่อให้มีงานทำและรายได้ดี โดยสร้างความรับผิดรับชอบของระบบการศึกษา ควบคู่ไปกับการขยายโอกาสของคนไทยในการเข้าถึงการพัฒนาทักษะ ด้วย4 แนวทาง ‘แจกคูปองฝึกทักษะ สร้างความรับผิดชอบของสถานศึกษาต่อผู้เรียน ลดข้อจำกัดเพื่อเร่งผลิตวิชาชีพที่มีความต้องการสูง และเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล’  เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ในงานสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอประจำปี 2564 ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทีดีอาร์ไอ กล่าวในการนำเสนอหัวข้อ “งานและทักษะสำหรับโลกใหม่” ว่า  โลกใหม่หลังโควิด-19 เป็นโลกของเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจใส่ใจ และเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด-19 และเมื่อเกิดโควิด-19 ยิ่งกระตุ้นให้เศรษฐกิจเหล่านี้เติบโตมากขึ้น การเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่มากับเศรษฐกิจเหล่านี้ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของงานที่เกิดขึ้น  หลายงานในโลกใหม่จะต้องการทักษะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้าความดันสูง ซึ่งเป็นทักษะที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากทักษะของช่างซ่อมรถยนต์ที่ใช้นำมันแบบเดิม ดังนั้น หากประเทศไทยไม่ปรับตัวให้ทัน จะทำให้คนจำนวนหนึ่งตกงาน  งานในในโลกใหม่ที่มีรายได้ดีล้วนต้องการทักษะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ในต่างประเทศ รัฐบาลของหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ และอังกฤษ มีการตื่นตัวอย่างมากในการสนับสนุนประชาชนให้ยกระดับทักษะเพื่อให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หากประเทศไทยต้องการให้คนไทยมีงานทำและรายได้ดีในโลกใหม่ ภาครัฐควรช่วยให้คนไทยสามารถยกระดับทักษะให้สูงขึ้น โดยการสร้างความรับผิดรับชอบของระบบการศึกษา ควบคู่ไปกับการขยายโอกาสของคนไทยในการเข้าถึงการพัฒนาทักษะ โดย ดร. เสาวรัจ รัตนคำฟู ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในการดำเนินการ […]

สะกิด คิดออกแบบ ให้ระบบราชการตอบสนองประชาชน

ภาครัฐไทยมีขีดความสามารถค่อนข้างต่ำในหลายด้าน เพื่อเร่งเพิ่มขีดความสามารถของภาครัฐ หน่วยงานรัฐจะต้องเข้าใจปัญหาในมุมของประชาชนมากขึ้น กล้าทดลองนวัตกรรมบริการพร้อมทั้งยอมรับความล้มเหลวเพื่อการเรียนรู้ และมีแผนงานที่นำไปสู่การปฏิบัติและมีการติดตามจนเกิดผลลัพธ์ กพร OPDC ร่วมกับ ทีดีอาร์ไอ ได้จัดงานเสวนาสาธารณะ “สะกิด คิดออกแบบ ให้ระบบราชการตอบสนองประชาชน” วันพุธที่ 8 กันยายน 2564 เวลา ทาง Facebook Live: tdri.thailand เพื่อรับฟังผลการศึกษาตัวอย่างนวัตกรรมบริการ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็นจากผู้ร่วมเสวนาซึ่งจะเป็นแนวทาง พร้อมเครื่องมือในการปรับบทบาทภาครัฐ ให้บริการโดยตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนให้ได้รับบริการอย่างสะดวก เร่งเพิ่มขีดความสามารถของภาครัฐไทยให้พร้อมรับอนาคต เปิดงาน โดย คุณวิริยา เนตรน้อย ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการระบบราชการ นำเสนอผลการศึกษา “ภาพอนาคตภาครัฐไทย ตัวอย่างนวัตกรรมและการใช้จริงในหน่วยงานรัฐ: บทเรียนจากการลงมือปฏิบัติจริง” โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธาน ทีดีอาร์ไอ และ คุณศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ เสวนา “สะกิดคิดออกแบบ ให้ระบบราชการตอบสนองประชาชน”  ผู้ร่วมเสวนา: ‣ ดร. เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ […]

การขยายผลโรงเรียนคุณภาพดีในประเทศไทย: บทสำรวจและข้อเสนอเบื้องต้น

ที่มา: รายงานการศึกษาเรื่อง การขยายผลโรงเรียนคุณภาพดีในประเทศไทย: บทสำรวจและข้อเสนอเบื้องต้น, งานวิจัยศึกษาในระหว่างปี 2559-2560 โดยนายศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ และ โชษิตา สลักคำ, ภายใต้โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยระบบการเรียนรู้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2561.

ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี

ที่มา : การสัมมนาสาธารณะทีดีอาร์ไอประจำปี 2561 เรื่อง “ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี” วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เปิดเรื่อง: อนาคตประเทศไทยในยุคแห่งความปั่นป่วน โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์สรุปโดย กิตติพัฒน์ บัวอุบล, กัญจน์ จิระวุฒิพงศ์, ชวน หวังสุนทรชัย ปรับโมเดลการพัฒนาประเทศให้โตได้ในความปั่นป่วน โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ ดร.นณริฏ พิศลยบุตรสรุปโดย ชาคร เลิศนิทัศน์, กัญจน์ จิระวุฒิพงศ์, ชวน หวังสุนทรชัย ปรับการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่ โดย คุณณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์ คุณศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ และ คุณเทียนธันย์ ณีศะนันท์สรุปโดย กชกร ความเจริญ การปรับระบบสวัสดิการสังคมพร้อมรับโลกใหม่ที่ผันผวน โดย รศ.ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ดร.วิชสิณี วิบูลผลประเสริฐ ดร.บุญวรา สุมะโน เจนพึ่งพรสรุปโดย พสิษฐ์ […]

ปรับการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่

สรุป TDRI Annual Public Conference 2018 ปรับการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่ – คุณณัฐสิฎ รักษ์เกียรติวงศ์ ทีดีอาร์ไอ คุณศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ ทีดีอาร์ไอ และคุณเทียนธันย์ ณีศะนันท์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Skillsolved Recruitment สรุปโดย กชกร ความเจริญ เมื่อการรับเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานไม่ใช่ทางเลือกสำหรับโลกที่กำลังจะมาถึง หลายอาชีพจะถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยี บทความนี้จะพาผู้อ่านจินตนาการถึงโลกอนาคต เราคาดเดาได้หรือไม่ว่า งานประเภทไหนจะยังคงอยู่ งานประเภทไหนจะหายไป ทักษะใดเป็นที่ต้องการ ผู้อ่านจะได้ออกไปสำรวจประเทศที่เป็นผู้ฉุดโลกไปข้างหน้า ว่าแต่ละภาคส่วนในประเทศเหล่านั้นสร้างการศึกษาขั้นพื้นฐานและเตรียมแรงงานที่ตอบโจทย์โลกอนาคตอย่างไร และสุดท้ายกลับมาทบทวนประเทศไทยและทบทวนตนเองว่าเราพร้อมแค่ไหน ปัจเจกจะต้องปรับตัวอย่างไร และรัฐจะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อสนับสุนนและเตรียมพร้อมประชากรให้อยู่ได้ในโลกยุคใหม่ ในโลกอนาคตที่กำลังจะมาถึง มีงานหลายประเภทจะหายไปจากเทคโนโลยีที่เข้ามาทำงานแทนมนุษย์ด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่าและต้นทุนที่ต่ำกว่า เมื่อคิดในทางกลับกัน โจทย์ที่ควรตั้งคำถามต่อมาคืองานใดที่มนุษย์จะยังคงทำได้ดีกว่าและควรค่าแก่การฝึกฝนเพื่อรับมือโลกอนาคต นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford 2 ท่าน ได้ศึกษาพบว่ามีงานคอขวดทางวิศวกรรมที่จะทำให้ไม่สามารถพัฒนา AI มาทำงานแทนคนได้ในเวลาอันใกล้ 3 งานหลัก ได้แก่ ใช้ความละเอียด (Hand) ใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Head) และ ใช้ความฉลาดทางสังคม (Heart) อาชีพทีจำเป็นต้องเชี่ยวชาญในคุณสมบัติทั้ง […]

รับมือยุคเทคโนโลยีปั่นป่วน ด้วยเศรษฐกิจกิจ 3C และการพัฒนาทักษะ

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ จัดงานสัมมนาประจำปี 2561 “TDRI Annual Public Conference 2018: ปรับทิศทางเศรษฐกิจไทยให้พร้อมสู่ยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี” โดยช่วงเช้า ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบัน ทีดีอาร์ไอ กล่าวเปิดประเด็น “อนาคตประเทศไทยในยุคแห่งความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี” ว่าในช่วงปีที่ผ่านมาโลกได้เห็น AlphaGo Zero ชนะ AlphaGo ซึ่งเคยชนะคนมาก่อนแล้ว, เห็น Libratus เล่นโป๊กเกอร์ชนะคน ซึ่งสะท้อนความสามารถที่เหนือจากการชนะด้วยกฎกติกาอย่างเกมโกะ เนื่องจากเป็นเกมที่ต้องอาศัยการการข่มเกทับ (Bluff), เห็น Xiaoy ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่สามารถสอบผ่านใบอนุญาตแพทย์ด้วยคะแนนที่เหนือกว่ามนุษย์ และเห็น Sophia เป็นหุ่นยนต์เหมือนคนที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่างๆ กับคนจริงๆ ได้และปัจจุบันถึงขั้นได้สัญชาติจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อว่า หากเจาะลึกลงไป ปัจจุบันเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงโลกใน 3 สาขาอย่างมาก ได้แก่ อะตอม (Atom), ชีวภาพ (Bio) และ ดิจิทัล (Computing) หรือ ABC โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านการใช้ Sensors, […]

สไลด์ประกอบการนำเสนอ ปรับการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่

สไลด์ประกอบการนำเสนอ ปรับการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่ โดย คุณณัฐสิฎ รักษ์เกียรติวงศ์ และ คุณศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) แขกรับเชิญ: คุณเทียนธันย์ ณีศะนันท์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ Skillsolved Recruitment

1 2 3 4