Intelligence : ตั้งหลักทบทวนจำนำข้าว กับ วิโรจน์ ณ ระนอง

มรสุมการเมืองเรื่องจำนำข้าวดูเหมือนคลี่คลายไปบ้างหลังปรับคณะรัฐมนตรี และมีมติคืนราคาจำนำข้าว 15,000 บาทจนหมดฤดูกาล หลังจากนั้นจะกำหนดราคาใหม่อิงตลาดโลก แต่ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะทบทวนนโยบายช่วยเหลือชาวนาด้วยวิธีอื่น ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ยืนยันว่านักเศรษฐศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายจำนำข้าวไม่ใช่พวกจ้องล้มรัฐบาลเสมอไป เพราะแม้แต่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ก็ยังเตือนว่ารัฐบาลจะพังเพราะจำนำข้าว ทั้งนี้ นโยบายจำนำข้าวทำให้ชาวนาได้ประโยชน์มากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ได้เพียง 17% ดังที่นักวิชาการบางส่วนอ้าง แต่ปัญหาคือผู้คิดนโยบายคิดฝันว่าถ้าประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกรายสำคัญกักตุนข้าวไว้แล้วราคาข้าวในตลาดโลกจะสูงขึ้น ซึ่งไม่เป็นจริง จึงทำให้ขาดทุนสูงเป็นประวัติการณ์ ประกอบกับการระบายข้าวแบบลับ ใช้ผู้ส่งออกเพียงบางราย จึงถูกวิจารณ์ว่าไม่โปร่งใส ทั้งนโยบายจำนำข้าว และประกันราคาข้าวของ ปชป. ที่ต่างก็ให้ราคาสูงกว่าตลาดโลก ทำให้เกิดความเสียหายเช่นกัน เรื่องที่รัฐควรให้ความช่วยเหลือชาวนามากกว่าคือการประกันความเสี่ยง ว่าจะชดเชยให้หากขายได้ราคาต่ำกว่าประมาณการ และหาทางช่วยให้เกษตรกรเปลี่ยนไปสู่อาชีพอื่น

สถานีทีดีอาร์ไอ: วิเคราะห์นโยบายจำนำข้าว กับ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง

สถานีทีดีอาร์ไอ: วิเคราะห์นโยบายจำนำข้าว กับ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง หมายเหตุ ถ่ายทำก่อนการปรับลดราคารับจำนำข้าว

ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง: นโยบายจำนำข้าว ประกันราคา ทิศทางที่ไทยควรเลือกเดิน

SIU สัมภาษณ์ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ในวันที่ฤดูกาลจำนำข้าวประจำปี 2556 กำลังจะมาถึง เราจะมาคุยกันตั้งแต่เรื่องนโยบายช่วยหลือเกษตรกร เกษตรพันธสัญญา วิกฤตอาหาร และพืชพลังงานเพื่อทบทวนทิศทางนโยบายที่ควรจะเป็น SIU: ตอนนี้สิ่งที่เป็นข้อถกเถียงกันมากที่สุด น่าจะเป็นเรื่องของนโยบายจำนำข้าว โดยเฉพาะตอนนี้กำลังใกล้ถึงฤดูกาลใหม่ของปีนี้ อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรกับนโยบายนี้บ้างครับ ดร.วิโรจน์: ที่ผ่านมา ถ้ามีใครลุ้นว่ารัฐบาลอาจขายข้าวได้ราคาดีกว่าที่คิด ตอนนี้ผมยังไม่เห็น จากข้อมูลที่คุณณัฐวุฒิตอบกระทู้ในสภา ก็เหมือนจะคอนเฟิร์มว่าที่ผ่านมาการระบายข้าวมีปัญหามาตลอด ทั้งในด้านปริมาณและราคา เมื่อการระบายมีปัญหา เงินก็จมอยู่ตรงนั้น ตัวเลขที่เราเคยพูดกันว่ารัฐบาลจะขาดทุนนั้น คิดจากส่วนต่างราคา จากการซื้อแพงแล้วขายถูก ซึ่งอย่างต่ำก็คงปีละแสนล้าน อาจจะแสนต้นๆ แต่ถ้าขายขาดทุนมากก็จะกลายเป็นแสนปลายๆ ยิ่งถ้าระบายข้าวได้น้อย เงินก็จะยิ่งจมอยู่ตรงนั้นมากขึ้น เพราะปีหนึ่งใช้เงินซื้อสามแสนล้าน และข้าวที่เก็บไว้นานก็จะเสื่อมคุณภาพและราคาก็ตกลงด้วย SIU: สมมุติว่าถ้าจะปรับในเชิงระบบในเรื่องข้าวของไทย มันมีทางออกอะไรที่ดีกว่า นโยบายทั้งประกัน หรือจำนำบ้างไหมครับ? ดร.วิโรจน์: ทุกมาตรการที่เอามาใช้ต่างก็มีปัญหาของตัวเอง เราต้องยอมรับความจริงว่าเกษตรกรของเราส่วนหนึ่งฐานะไม่ได้ดีมาก และการที่ฐานะไม่ได้ดีมากก็ทำให้แทบทุกมาตรการที่กระทบต่อราคาหรือรายได้มีผลที่แรง เพราะเมื่อไหร่ที่พืชผลตัวไหนราคาดี ก็จะมีเกษตรกรหันมาผลิตเพิ่ม ตราบที่ผลิตแล้วยังมีกำไรบ้าง ถึงแม้จะไม่มากก็ตาม การผลิตเพิ่มเกิดกับพืชที่ราคาดีไม่ว่าจะเป็นข้าว อ้อย มันสำปะหลัง […]

สัมภาษณ์ วิโรจน์ ณ ระนอง: ค่าแรง 300 บาท กับแรงงานนอกระบบ

สัมภาษณ์โดย เทวฤทธิ์ มณีฉาย คุยกับ “ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง” นักวิจัยจาก TDRI ถึงผลกระทบการขึ้นค่าแรง 300 บ. ประเมิน 6 มาตรการการเงิน-คลัง รัฐ อุ้ม SMEs และข้อเสนอการสร้างสวัสดิการแก่แรงงานนอกระบบ ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาหลังจากที่นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 300 บาท มีผลในวันที่ 1 ม.ค.56 ส่งผลให้เกิดกระแสข่าวการปิดโรงงานเลิกจ้างคนงานโดยอ้างถึงผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงดังกล่าว เกิดวาทกรรม “พิษค่าแรง 300 บาท” หรือไปถึง “ฆาตกรรมหมู่แรงงานไทย” จากที่คุณมัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ออกมาแถลงถึงผลกระทบจากนโยบายนี้เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา อ้างว่าเกิดผลกระทบต่อภาคธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนเกิดปรากฎการณ์ “ปิดโรงงาน ย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น งดโอที งดสวัสดิการต่างๆ เลิกจ่ายประกันสังคม เงินเดือนช้า หมุนไม่ทัน” เห็นผลกันไปแล้ว ดังนั้น นโยบายนี้จึงหักดิบหนุ่มสาวโรงงานมีฝีมือให้ตกงานกระทันหัน เป็นการฆาตกรรมหมู่คนงาน 14.6 ล้านคนโดยเฉพาะ“แรงงานนอกระบบ” 24.1 ล้านคน ไม่ได้รับประโยชน์จากโยบายนี้ […]

วิโรจน์ ณ ระนอง: การแทรกแซงด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย

ผมขอแสดงความเห็นเพิ่มเติม (เพื่อตอบ comment ที่มีกับ บทความของ อ.อัมมารและนิพนธ์ และบทความของ อ.โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์ ) กว้างๆ สั้นๆ นะครับ (แต่ไม่ได้มาตอบแทน อ.อัมมารและนิพนธ์ นะครับ เพราะในบางประเด็นผมก็ไม่ได้เห็นเหมือนกับในบทความนั้น) เดี๋ยวว่างกว่านี้อาจมาเพิ่มในประเด็นย่อยๆที่เกี่ยวข้อง ) กว้างๆ สั้นๆ นะครับ เดี๋ยวว่างกว่านี้อาจมาเพิ่มในประเด็นย่อยๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.ในระบอบประชาธิปไตยนั้น การแทรกแซงของรัฐบาล (เช่น การเอาเงินภาษีไปอุดหนุนคนบางกลุ่มเป็นพิเศษไม่ว่าชาวนา นายทุน หรือผู้มีบารมี การกู้และนำเงินกู้มาใช้ในโครงการต่างๆ การกำหนดราคา ค่าจ้างขั้นต่ำและกติกาต่างๆ) เป็นสิทธิ (และในบางกรณีเป็นหน้าที่ด้วย) ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่จะตัดสินใจ 2.การตัดสินใจเหล่านี้ ถือเป็นการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลย่อมได้รับเครดิตและในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบทางการเมืองจากผลการตัดสินใจเหล่านั้น ซึ่งรวมถึงเสียงสะท้อนทั้งบวกและลบ การถกเถียงทั้งในและนอกสภา ความนิยมซึ่งอาจมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งต่อๆไป และอาจยาวไปถึงผลที่ตามมา (และสิ่งที่ประวัติศาสตร์จะจารึก) ในอนาคต (ถึงแม้ว่ากรณีหลังนี้จะไม่มีผลกระทบโดยตรงกับผู้ตัดสินใจแล้วก็ตาม) [ส่วนการกระทำใดๆที่ผิดกฎหมาย เช่น ตั้งศาลเตี้ย/สั่งฆ่าคน ก็เป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายของแต่ละบุคคลเอง และควรต้องตัดสินกันในกระบวนการยุติธรรม– –ที่ทำให้เชื่อกันได้ว่ามีความเป็นธรรม–ในระดับไหนก็แล้วแต่กรณี ] 3.แต่นโยบาย มาตรการ […]

วิโรจน์ ณ ระนอง: งานสัมมนา “ชะตากรรมคนไทยหลังควบคุมค่าใช้จ่าย 30 บาท 3 ปี”

งานนำเสนอของ ดร.วิโรจน์ ณ ระนองในงานสัมมนา “ชะตากรรมคนไทยหลังควบคุมค่าใช้จ่าย 30 บาท 3 ปี” ที่จัดโดย คณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 หัวข้อนำเสนอคือ “แช่แข็ง(งบ)สาธารณสุขไทย 3 ปี?”

วิโรจน์ ณ ระนอง: ปัญหาและทางออกนโยบายจำนำข้าว

วิโรจน์  ณ ระนอง นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ไม่กี่คนของประเทศไทยที่เคยศึกษาวิจัยเรื่องข้าวมายาวนาน เราจึงแลกเปลี่ยนเรื่องที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก “โครงการรับจำนำข้าว” ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ คงเป็นดังที่วิโรจน์ว่าไว้ว่า นักเศรษฐศาสตร์โดยส่วนใหญ่นั้น “เสียงไม่แตก” เกี่ยวกับปัญหาของโครงการในลักษณะนี้ ซึ่งเขาเห็นว่าไม่เฉพาะ “การรับจำนำ” แบบเพื่อไทย แต่รวมถึงแนวทาง “ประกันรายได้” แบบประชาธิปัตย์ ซึ่งทีดีอาร์ไอมีส่วนร่วมเป็นต้นทางของแนวคิดด้วย สำหรับโครงการจำนำข้าว เขามองว่าโครงการนี้นำผลประโยชน์สู่มือชาวนาอย่างค่อนข้างกว้างขวางเป็นครั้งแรก พร้อมๆ กับภาระทางงบประมาณก้อนมหึมา จุดเสี่ยงจุดใหญ่คือความสามารถในการระบายหรือขายข้าวของรัฐบาล ซึ่งทุกฝ่ายจับตาอย่างไม่กระพริบ สรุปคำแนะนำแบบสั้นกระชับก็คือ ควรเร่งระบายข้าวในสต๊อกออกแม้ขาดทุน ถึงที่สุดในทางเศรษฐศาสตร์ อาจต้องถามกันว่า บทบาทของรัฐควรอยู่ตรงไหน รัฐควรอุดหนุนเกษตรกรหรือไม่ เพียงไร และอย่างไร ซึ่งคำตอบของโมเดลที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าเหมาะสม และเห็นว่าเป็นไปได้ ก็ปรากฏอยู่ในบทสัมภาษณ์นี้ด้วย  หรือประเทศนี้ควรมีชาวนาน้อยลง ? —— มาตรการจำนำข้าวครั้งนี้ต่างจากมาตรการก่อนๆ ในอดีตอย่างไร สมัยก่อนเราเคยมีโครงการแทรกแซงราคาหรือพยุงราคา กับโครงการรับจำนำ สลับหรือผสมกันไป  โครงการจำนำในช่วงแรกเป็นการจำนำที่ราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าตลาดเล็กน้อย (สำหรับชาวนาที่ต้องการเงินแต่ยังไม่อยากขายข้าวในช่วงต้นฤดูที่ราคาอาจจะต่ำ)  ส่วนโครงการแทรกแซงราคาหรือพยุงราคานั้นมักจะตั้งราคาให้สูงกว่าตลาด แต่ทุกโครงการที่ทำมาในอดีตที่ตั้งราคาที่สูงกว่าตลาดไม่ได้รับซื้อข้าวทุกเม็ดจากชาวนาทุกคน  แต่จะจำกัดโควต้ารับซื้อ  ในช่วงรัฐบาลทักษิณเองก็ยังเป็นแบบนั้น  โครงการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่รัฐบาลประกาศว่าจะรับจำนำ (ซึ่งจริงๆ กลายเป็นการซื้อข้าว) ในราคาสูงกว่าตลาดโดยไม่จำกัดจำนวน […]

1 2 3 4 5 14