TDRI Annual Public Conference 2020 “แฮกระบบราชการ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ”

แฮกระบบราชการ

เปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ 

จากบทเรียนการรับมือวิกฤติโควิด-19
สู่ความพร้อมรับมือความท้าทายในโลกใหม่

 (Hacking the Operating System of the Thai State: Learning from Handling the Covid-19 Crisis to Prepare for New Challenges)

 5 – 7 ตุลาคม 2563 เวลา 13:00-16:45 น
*Virtual Conference*

ปาฐกถา “รัฐ และระบบราชการไทยกับความท้าทายข้างหน้าของประเทศ”

โดย ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานสภาสถาบัน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

PART 1 บทนำ “ขีดความสามารถของภาครัฐกับอนาคตประเทศไทย”

โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ

PART 2 “ระบบราชการในฐานะระบบปฏิบัติการประเทศไทย”

โดย ดร.บุญวรา สุมะโน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ

PART3 กฎหมายในฐานะชุดคำสั่งประเทศ

ดร.กิรติพงศ์ แนวมาลี สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และ ดร. สลิลธร ทองมีนสุข สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ

PART4 “ระบบข้อมูลกับความสมาร์ทของภาครัฐ”

โดย อ. อิสร์กุล อุณหเกตุ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ

PART5 “อินเตอร์เฟสของระบบรัฐไทยกับการมีส่วนร่วมของประชาชน”

โดย ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ และ คุณธิปไตร แสละวงศ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ

 

เสวนา 5 ประเด็น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Part 1 "จะรีบูทรัฐไทยอย่างไรดี"

โดย ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้ก่อตั้ง EdTech “Start Dee”

ดำเนินรายการ โดย
ดร. กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

Part 2 “จะแฮกระบบราชการ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศอย่างไร?”

โดย คุณอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการ ก.พ.ร.

คุณ ศิริกัญญา ตันสกุล สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล

ดร.ทวิดา กมลเวชช คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย คุณพีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์ ผู้จัดการอาวุโส ด้านงานสร้างสรรค์และสื่อสารสาธารณะ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

Part 3 “ชุดคำสั่งมีปัญหา ประชาชนจะดีบักอย่างไร?”

โดย คุณปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกฤษฎีกา

รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw

ดำเนินรายการโดย คุณกัญจน์ จิระวุฒพงศ์ นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

Part 4 “สร้างระบบข้อมูลอย่างไร ประมวลผลให้ได้รัฐที่สมาร์ท?”

โดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA)

ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ CEO บริษัท สยามเมทริกซ์ คอนซัลติ้ง

อ.ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

Part 5 “จะออกแบบอินเตอร์เฟสรัฐไทยอย่างไร ให้ประชาชนได้บริการที่ดีขึ้น?”

ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ เลขาธิการร่วม ภาคีเพื่อการศึกษาไทย (TEP)

คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) จำกัด

ดร.มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

ดำเนินรายการโดย ณิชา พิทยาพงศกร นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

 

 

ขีดความสามารถของภาครัฐมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และรับมือกับภาวะวิกฤติต่างๆ ดังตัวอย่างของการรับมือกับวิกฤติโควิด-19 ที่เป็นทั้งวิกฤติด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐไทยมีขีดความสามารถในแต่ละด้านที่แตกต่างกัน  ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ดูเหมือนว่ารัฐไทยมีขีดความสามารถในการแก้ปัญหาและรับมือกับภาวะวิกฤติต่างๆ ลดลง  เพราะปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพของระบบราชการ ที่เปรียบเสมือน “ระบบปฏิบัติการ” (Operating System หรือ OS) ของประเทศ ทั้งที่ยังมีบุคลากรที่มีขีดความสามารถสูงและมีความตั้งใจทำงานอยู่ไม่น้อย

ระบบปฏิบัติการของรัฐไทย เป็นระบบที่ตอบสนองช้า มีหน่วยความจำน้อย ชุดคำสั่งหรือกฎหมายล้าสมัย หรือมีข้อผิดพลาด (bug) มาก ทำให้ให้เกิดต้นทุนสูงต่อสังคม ข้อมูลที่ใช้ก็มีความไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องและทันสมัยพอ ทำให้ไม่สามารถบริหารประเทศและให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อ (interface) ระหว่างโมดูล และการเชื่อมต่อกับภาคส่วนอื่นในสังคมมีปัญหา ทำให้เกิดปัญหาระบบล่ม (crash) บ่อยๆ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศได้  และทำให้ประสบการณ์ของประชาชนที่ได้รับบริการ (user experience) ไม่ดี

การพัฒนาประเทศในระยะต่อไป จึงไม่สามารถนำได้ด้วยระบบราชการเท่านั้น แต่ต้องอาศัยส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และประชาสังคมในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมกันแก้ไขปัญหา  ด้วยการ “แฮกระบบราชการ เปลี่ยนระบบปฏิบัติการประเทศ”