tdri logo
tdri logo
22 กุมภาพันธ์ 2023
Read in Minutes

Views

เปิด Big Data ตลาดแรงงาน Q4 ปี 65 ตำแหน่งงานกระจุกตัว-จำนวนลดลง…เผยทักษะ “งานด้านการตลาด” ที่นายจ้างต้องการ 

ทีมวิจัย “โครงการวิเคราะห์การประกาศหางานออนไลน์” ของทีดีอาร์ไอ ได้พัฒนาระบบติดตามการจ้างงานในประเทศไทย โดยใช้ Big Data จากประกาศรับสมัครงานของนายจ้าง ซึ่งมีความละเอียดสูงและทันสมัย และการวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อวิเคราะห์สถานะความต้องการแรงงานมีทักษะและทักษะต่างๆ ของแรงงานที่นายจ้างต้องการ   

ในปัจจุบัน โครงการเก็บข้อมูลประกาศหางานจาก 14 เว็บไซต์หางานในประเทศไทย ซึ่งแบ่งออกเป็นเว็บไซต์หางานระดับประเทศ 8 เว็บไซต์ เว็บไซต์หางานตามกลุ่มอาชีพเฉพาะ 5 เว็บไซต์ และเว็บไซต์หางานตามกลุ่มภูมิภาค 1 เว็บไซต์ 

ล่าสุดในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 (1 ตุลาคม 2565–31 ธันวาคม 2565) พบว่า มีประกาศรับสมัครงานทั้งหมด 163,829 ตำแหน่งงาน  ลดลง 5.8% จากช่วงไตรมาสที่ 3 ที่มีประกาศรับสมัครงานทั้งหมด 173,942 ตำแหน่งงาน  แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว 57.8% 

กราฟที่ 1 จำนวนประกาศรับสมัครงาน

จำแนกประกาศรับสมัครงานตามวุฒิการศึกษาขั้นต่ำที่ระบุในประกาศรับสมัครงาน พบว่าประกาศรับสมัครงานวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวน 12,431 ตำแหน่งงาน (7.1%) มัธยมศึกษาปีที่ 6 13,692  ตำแหน่งงาน (7.9%) ปวช. 18,433 ตำแหน่งงาน (10.6%) ปวส. 10,151 ตำแหน่งงาน (5.8%) ปริญญาตรี 68,301 ตำแหน่งงาน (39.3%)  สูงกว่าปริญญาตรี 1,902 ตำแหน่งงาน (1.1%) และที่ไม่ระบุวุฒิการศึกษาขั้นต่ำมีจำนวน 49,032 ตำแหน่งงาน (28.2%)

ภาพที่ 1เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามภูมิภาคที่ระบุในประกาศ พบว่าประกาศรับสมัครงานในกรุงเทพและปริมณฑล มีจำนวนมากที่สุด 100,843 ตำแหน่งงาน (61.6%)  ตามด้วยไม่ระบุภูมิภาค 39,653 ตำแหน่งงาน (24.2%) ภาคตะวันออก 8,529 ตำแหน่งงาน (5.2%) ภาคใต้5,754 ตำแหน่งงาน (3.5%) ภาคกลาง 4,280 ตำแหน่งงาน (2.6%) ภาคเหนือ 2,483ตำแหน่งงาน (1.5%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,753 ตำแหน่งงาน (1.1%) และภาคตะวันตก 514 ตำแหน่งงาน (0.3%)

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามกลุ่มประเภทธุรกิจที่ระบุในประกาศรับสมัครงาน โดยอ้างอิงข้อมูลจากฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในการช่วยจำแนกข้อมูล พบว่าประกาศรับสมัครงานในกลุ่มธุรกิจการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์มีจำนวนมากที่สุด 29,754 ตำแหน่งงาน (18.2%) 

กราฟที่ 2 จำนวนประกาศรับสมัครงานแบ่งตามภูมิภาค

ไม่สามารถระบุได้ 25,647 ตำแหน่งงาน (15.7%) การผลิต 19,764 ตำแหน่งงาน (12.1%) กิจกรรมทางวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และเทคนิค 14,953 ตำแหน่งงาน (9.1%) กิจกรรมการบริหารและการบริการสนับสนุน 12,965 ตำแหน่งงาน (7.9%) 

ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 12,953 ตำแหน่งงาน (7.9%) กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์ 9,583 ตำแหน่งงาน (5.9%) กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย 9,366 ตำแหน่งงาน (5.7%) ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 7,957 ตำแหน่งงาน(4.9%) การก่อสร้าง 7,834 ตำแหน่งงาน (4.8%) 

การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 5,933 ตำแหน่งงาน (3.6%) กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ 2,278 ตำแหน่งงาน (1.4%) กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 1,683 ตำแหน่งงาน (1.0%) ศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ 1,326 ตำแหน่งงาน (0.8%) การศึกษา 1,053 ตำแหน่งงาน (0.6%) และกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ 760 ตำแหน่งงาน (0.5%)

กราฟที่ 3 จำนวนประกาศรับสมัครงานแบ่งตามประเภทธุรกิจ

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามกลุ่มอาชีพที่ระบุในประกาศรับสมัครงาน โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยจำแนกกลุ่มอาชีพ พบว่าประกาศรับสมัครงานในกลุ่มอาชีพบัญชี/การเงินมีจำนวนมากที่สุด 28,436 ตำแหน่งงาน (17.4%)  ตามด้วยการตลาด 28,285 ตำแหน่งงาน (17.3%) ช่างเทคนิค 21,485 ตำแหน่งงาน (13.1%) วิศวกร 19,534 ตำแหน่งงาน (11.9%) ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง 15,633 ตำแหน่งงาน (9.5%) งานไอที 12,954 ตำแหน่งงาน (7.9%)  ไม่สามารถระบุได้ 11,535 ตำแหน่งงาน (7.0%) งานฝ่ายบุคคล 6,945 ตำแหน่งงาน (4.2%) ตำแหน่งงานอื่นๆ 4,193 ตำแหน่งงาน (2.6%) พนักงานขายของ 4,183 ตำแหน่งงาน (2.6%) แม่บ้าน 2,094 ตำแหน่งงาน (1.3%) พนักงานคิดเงิน 2,045 ตำแหน่งงาน (1.2%) นักออกแบบกราฟิก 1,938 ตำแหน่งงาน (1.2%) ครู/ครูสอนพิเศษ 1,435 ตำแหน่งงาน (0.9%) สถาปนิก 1,053 ตำแหน่งงาน (0.6%) นักแปล/ล่าม 1,038 ตำแหน่งงาน (0.6%) และคนขับรถ 1,033 ตำแหน่งงาน (0.6%)

กราฟที่ 4 จำนวนประกาศรับสมัครงานแบ่งตามกลุ่มอาชีพ

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามวุฒิการศึกษาและภูมิภาค จะเห็นว่า ตำแหน่งงานส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งนายจ้างต้องการผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งงานอีกไม่น้อยที่ไม่ระบุระดับการศึกษาและไม่ระบุภูมิภาค

กราฟที่ 5 จำนวนประกาศรับสมัครงานตามวุฒิการศึกษาและภูมิภาค

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามกลุ่มอาชีพและภูมิภาค พบว่า ส่วนใหญ่ตำแหน่งงานในแต่ละกลุ่มอาชีพจะมีการกระจายตัวอิงตามสัดส่วนของจำนวนตำแหน่งงานตามภูมิภาค โดยมีเพียงบางกลุ่มอาชีพ ที่มีตำแหน่งงานแค่ในกรุงเทพและปริมณฑล เช่น นักแปล/ล่าม และสถาปนิก

กราฟที่ 6 จำนวนประกาศรับสมัครงานตามกลุ่มอาชีพและภูมิภาค

เมื่อจำแนกประกาศรับสมัครงานตามวุฒิการศึกษาและกลุ่มอาชีพ พบว่ากลุ่มอาชีพที่ต้องการทักษะจำเพาะ เช่น กลุ่มงานไอที วิศวกร จะต้องการวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป และกลุ่มอาชีพที่ต้องการวุฒิการศึกษาระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีจะมีแค่กลุ่มอาชีพการตลาด บัญชี / การเงิน วิศวกร ไอทีและครู / ครูสอนพิเศษ 

กราฟที่ 7 จำนวนประกาศรับสมัครงานตามวุฒิการศึกษาและกลุ่มอาชีพ

การวิเคราะห์ตำแหน่งงานด้านการตลาด

เมื่อจำแนกเฉพาะตำแหน่งงานในกลุ่มนักการตลาดซึ่งเป็นหัวข้อที่ให้ความสนใจในการวิเคราะห์ผลรอบนี้ พบว่าจากจำนวนงานในกลุ่มนักการตลาด 28,285 ตำแหน่งงาน ทักษะการสื่อสารเป็นทักษะที่มีความต้องการมากที่สุด 26,845 ตำแหน่งงาน (94.9%) การคิดเชิงกลยุทธ์ 26,256 ตำแหน่งงาน (92.8%) การวิจัยการตลาด 25,340 ตำแหน่งงาน (89.6%) ความคิดสร้างสรรค์ 25,186 ตำแหน่งงาน (89.0%) ทักษะการจัดการโปรเจกต์ 22,843 ตำแหน่งงาน(80.8%) 

ทักษะการวิเคราะห์ 21,869 ตำแหน่งงาน (77.3%) การตลาดแบบดิจิทัล 20,194 ตำแหน่งงาน (71.4%) การจัดการงบประมาณ 19,733 ตำแหน่งงาน (69.8%) การบริหารแบรนด์ 18,574 ตำแหน่งงาน (65.7%) ความรู้เกี่ยวกับ Social media 18,374 ตำแหน่งงาน (65.0%) การสร้างและจัดการเนื้อหา 16,138 ตำแหน่งงาน (57.1%) และความรู้เกี่ยวกับ SEO/SEM 7,257 ตำแหน่งงาน (25.7%) โดย 1 ตำแหน่งงานมีทักษะที่ต้องการมากกว่า 1 ทักษะ

ภาพที่ 8 เมื่อวิเคราะห์วุฒิการศึกษาขั้นต่ำของกลุ่มนักการตลาดพบว่ามีงานสำหรับระดับปริญญาตรี22,507 ตำแหน่งงาน (79.6%) สูงกว่าปริญญาตรี 285 ตำแหน่งงาน (1.0%) และที่ไม่ระบุวุฒิการศึกษาขั้นต่ำมีจำนวน 5,493 ตำแหน่งงาน (19.4%)

กราฟที่ 8 จำนวนประกาศรับสมัครงานด้านการตลาดจำแนกตามทักษะ

เมื่อวิเคราะห์วุฒิการศึกษาขั้นต่ำของกลุ่มนักการตลาดพบว่ามีงานสำหรับระดับปริญญาตรี22,507 ตำแหน่งงาน (79.6%) สูงกว่าปริญญาตรี 285 ตำแหน่งงาน (1.0%) และที่ไม่ระบุวุฒิการศึกษาขั้นต่ำมีจำนวน 5,493 ตำแหน่งงาน (19.4%)

เมื่อดูกระจายตัวของตำแหน่งงานกลุ่มนักการตลาดตามภูมิภาคต่างๆ เทียบกับกลุ่มอาชีพอื่นๆ พบว่ามีตำแหน่งงานของกลุ่มนักการตลาดในกรุงเทพและปริมณฑล คิดเป็น 71.4% ของตำแหน่งงานนักการตลาด เทียบกับ 61.6% ของตำแหน่งงานทั้งหมดที่อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งชี้ให้เห็นว่าตำแหน่งงานของกลุ่มนักการตลาดกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑลมาก

กราฟที่ 9 จำนวนประกาศรับสมัครงานด้านการตลาดจำแนกตามวุฒิการศึกษา

โครงการวิเคราะห์การประกาศหางานออนไลน์จะวิเคราะห์และนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานไทยอย่างต่อเนื่องไปในทุกไตรมาส เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน ตลอดจนมหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวะศึกษาต่างๆ ที่ผลิตบุคลากรป้อนตลาดแรงงาน  โครงการนี้พัฒนาต่อยอดจากโครงการการจัดทำฐานข้อมูลความต้องการทักษะแรงงานด้วย Big Data เพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษา ที่สนับสนุนโดยกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี 2561 

บทความโดย วินิทร เธียรวณิชพันธุ์ และ ฐิติรัตน์ สีหราช ทีมวิจัย “โครงการวิเคราะห์การประกาศหางานออนไลน์”

อ่านบทวิเคราะห์การประกาศหางานออนไลน์ที่ผ่านมา [คลิก]

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

ดูทั้งหมด