ชี้มีหลายแนวทางสกัดทุนไหลเข้า

นักวิชาการวิพากษ์นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน แนะควรหาเครื่องมืออื่น นอกจากดอกเบี้ยมาสกัดเงินทุนไหลเข้า นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ กล่าวปาฐกถาเรื่อง “ค่าเงินบาทกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศ” ว่า อัตราแลกเปลี่ยนมีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาการส่งออกมากขึ้น จากช่วงปี 2540 ไทยมีสัดส่วนการส่งออก 45% ต่ออัตราการเติบโต(จีดีพี) แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 75% ขณะที่สัดส่วนการบริโภคภายในประเทศไม่ค่อยจะเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ที่เปลี่ยนคือสัดส่วนการลงทุนที่จะยกระดับประเทศ เดิมอยู่ที่ 45% แต่ปัจจุบันลดลงมาเหลือประมาณ 20% ซึ่งการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ของภาครัฐเป็นแนวทางที่ดี แต่ปัญหาคือจะลงทุนเงินจำนวนมากให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจจะใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายดูแลเงินทุนไหลเข้าหรือไม่ ควรให้สิทธิในการตัดสินใจแก่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ขณะเดียวกัน ควรดูเครื่องมืออื่นๆประกอบด้วย เช่น ใช้การบริหารอัตราแลกเปลี่ยน การใช้เกณฑ์การดำรงสภาพคล่องตามกฎหมาย อย่างการปล่อยสินเชื่ออาจจะให้สำรองเพิ่มขึ้น หรือแม้กระทั่งมาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้า (แคปิตอลคอนโทรล) เพียงแต่ต้องดูรูปแบบที่เหมาะสม เพราะมีบางประเทศที่ใช้ได้ผล และบางประเทศก็ใช้ไม่ได้ผล นายฉลองภพ กล่าวว่า สิ่งที่ควรให้ควรให้ความสำคัญรองรับระยะยาวด้วย คือ การลงทุน เพราะหากการลงทุนกลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ จีดีพีไทยสามารถโตระดับ 6-7% ได้สบายมาก โดยถ้าเพิ่มการลงทุนภาครัฐได้ 5% […]

‘ทีดีอาร์ไอ’แนะเลิกยึดเครื่องมือดอกเบี้ย

“ฉลองภพ”แนะธปท.ดำเนินนโยบายการเงินแบบองค์รวม ไม่ยึดติดเครื่องมืออัตราดอกเบี้ย เสนอใช้การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ จัดเสวนา “ค่าเงินบาทกับโครงสร้างเศรษฐกิจระยะยาว” โดยมีผู้บริหารจากทีดีอาร์ไอ นักวิชาการ และนักวิเคราะห์ธุรกิจสถาบันการเงินเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วานนี้ (1 มี.ค.) นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ควรมองแค่เครื่องมืออัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียงอย่างเดียว แต่ควรมองเครื่องมืออื่นๆ ประกอบด้วย เช่น เครื่องมือในเรื่องของการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง (Reserve Requirement) ของธนาคารพาณิชย์ รวมไปถึงเครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยน รวมไปถึงมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า (Capital Controls) “แบงก์ชาติ อาจจะยังให้เป้าหมายหลัก คือ กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ แต่เครื่องมือในการดูแลนั้น ไม่ควรใช้แค่ดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว ซึ่งการลดหรือไม่ลดดอกเบี้ยมีผลหลายด้าน เช่น ถ้าลดก็อาจทำให้การใช้จ่ายในประเทศผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถ้าไม่ลดก็อาจมีผลต่อเงินทุนไหลเข้ามาก ซึ่งถ้าเรานำเครื่องมืออื่นๆ เช่น การคุมปริมาณเงินมาร่วมพิจารณา ก็น่าจะลดความร้อนแรงในเรื่องเหล่านี้ลงได้” ตัวอย่าง กรณีของจีน นอกจากจะใช้เครื่องมือด้านอัตราดอกเบี้ยในการคุมเงินเฟ้อและฟองสบู่ภายในประเทศแล้ว จีนยังใช้วิธีเพิ่มการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องกับสถาบันการเงินในประเทศด้วย โดยปัจจุบันจีนกำหนดให้สถาบันการเงินกันสินทรัพย์สภาพคล่อง ไว้ประมาณ 20% ขณะที่ของไทยอยู่ในระดับประมาณ […]

2 อดีตขุนคลังจี้รื้อแบงก์รัฐ อยู่ภายใต้ ธปท.

“ธีระชัย-ฉลองภพ”เสนอรื้อการกำกับแบงก์รัฐ แก้กฎหมายอยู่ใต้ธปท.ปิดช่องการเมืองแทรก แนะเอสเอ็มอีแบงก์ “ควบ”กรุงไทย ผ่าทางตันหนี้เน่า ปัญหาหนี้เสียในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กำลังเป็นโจทย์ให้ทางการแก้ไข โดยเฉพาะหนี้เสียที่อยู่ระดับ 40% ทำให้กระทรวงการคลังต้องส่งทีมเข้ามาดูแลเป็นการเฉพาะ แต่ในระยะกลางและระยะยาวนั้น จำเป็นต้องรื้อระเบียบ แก้ไขกฎหมายเพื่อสร้างมาตรฐานกำกับดูแลให้เข้มงวดมากขึ้น นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์กับ กรุงเทพธุรกิจทีวี โดยอธิบายถึงจุดกำเนิดสถาบันการเงินของรัฐ ว่า เดิมนั้น อาจจะมีการตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจขึ้นมา เพื่อจะเน้นการอุดช่องว่างเฉพาะจุด ตอนหลังปรากฏมีบางแห่งไปทำธุรกิจขยายขอบเขตออกไปลักษณะคล้ายคลึงกับแบงก์พาณิชย์มากขึ้น ที่สำคัญมีหลายรายพยายามจะเน้นไปให้กู้กับลูกค้า ที่เป็นประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นพวกบริษัท ห้างร้าน ขนาดใหญ่ ซึ่งบริษัทพวกนี้เขาไม่จำเป็นจะต้องมาอาศัยแบงก์รัฐ เขาเป็นลูกค้าที่เน้นการกู้ยืมจากแบงก์พาณิชย์เป็นหลัก เพราะฉะนั้น พอแบงก์รัฐไปเน้นลูกค้าแบบนี้มากขึ้น ก็กลายเป็นว่าแบงก์รัฐพยายามทำตัวเหมือนแบงก์พาณิชย์แล้วก็จะแข่งกับแบงก์พาณิชย์ได้ยาก @ไอแบงก์ปล่อยกู้คนอิสลามแค่ 3% “เวลานี้ถึงจะเห็นว่ามีแบงก์รัฐ ซึ่งประสบปัญหาทางด้านฐานะ การเงินหลายรายที่รู้สึกจะรุนแรงมากที่สุดเวลานี้ก็คือจะมีธนาคารอิสลาม แล้วก็ธนาคารเอสเอ็มอี แต่ ธนาคารอิสลามฯ เท่าที่สอบถามดู เท่าที่ดูข้อมูลปรากฏว่าตั้งขึ้นมาเดิมมีวัตถุประสงค์ให้กู้จากธุรกิจของคนอิสลาม แต่จริงๆ แล้วเวลานี้ให้กู้กับธุรกิจที่เป็นของคนอิสลามจริงๆ แค่ 3% เท่านั้นเอง ที่เหลือเป็นการให้กู้กับธุรกิจแข่งกับแบงก์พาณิชย์เป็นหลัก โดย 60% เป็นการให้กู้บริษัทขนาดใหญ่ ได้รับทราบมาว่าลูกค้าบางรายกู้แบงก์ออมสินก็ดี แบงก์อิสลามก็ดี […]

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สัมภาษณ์ โพสต์ทูเดย์: ประเทศขาลงรอล่มสลาย!เปลี่ยนทิศก่อนชนภูเขา

“การพัฒนาประเทศถึงทางตันแล้ว ประเทศไทยจะโตแบบที่เคยโตมาโดยอาศัยบุญเก่าไม่ได้แล้วเพราะบุญเก่ามันส่งได้แค่นี้ ถ้าเราไม่รีบหาทางออกประเทศจะเสียหายเยอะ” โดย…ชัยฤทธิ์ ยนเปี่ยม,ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย ตีพิมพ์ครั้งแรก: เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 20 ตุลาคม 2555 ในชื่อ ประเทศขาลงรอล่มสลาย! เปลี่ยนทิศก่อนชนภูเขา ——- คำเตือนของ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) คนใหม่ ที่กำลังร้อนแรงร่วมกับบรรดาอดีตประธานทีดีอาร์ไอรุ่นก่อนกับการทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ชาติ ท้วงติงการประมูลคลื่น3จี ที่ทำให้รัฐเสียประโยชน์มหาศาล รวมถึงการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ทีดีอาร์ไอได้ทำหน้าที่ผลิตงานวิจัยคุณภาพสูงชี้ทิศทางพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนมาร่วม 28 ปี มาในยุคหลังสถาบันแห่งนี้ถือเป็นคลังสมองของชาติคอยถ่วงดุลกับพิษประชานิยมที่ประเทศไทยติดกับดักจนเสี่ยงเกิดวิกฤตอีกระลอก สมเกียรติ บอกว่า แต่ก่อนหน้าที่ของทีดีอาร์ไอทำแต่งานวิจัยเป็นหลัก เหมือนเปิดโรงงานทำของ แต่ต่อไปนี้เราจะผลักดันงานวิจัยให้มีผลในทางปฏิบัติมากขึ้นกล่าวง่ายๆ ทำมาร์เก็ตติงขายของต่อ แต่จะได้ผลก็ต่อเมื่อต้องร่วมกับภาคประชาสังคมช่วยกันออกแบบโจทย์ โดยคิดถึงความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงจริงๆ โจทย์ใหญ่ 4 ข้อของทีดีอาร์ไอในยุคสมเกียรติ คือหนึ่งโมเดลในการพัฒนาประเทศใช้แบบเดิมไม่ได้กล่าวคือ แต่ก่อนจนถึงปัจจุบันเรายึดการพัฒนาประเทศโดยมี 3 เสาหลัก พัฒนาอุตสาหกรรม แต่ไม่ค่อยพัฒนาเทคโนโลยี เน้นส่งออกเยอะๆ และใช้ภาคแรงงาน แต่สามตัวนี้กำลังเป็นปัญหามากขึ้น และไปแบบนี้ไม่ได้แล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมมันเปลี่ยนไปเช่น จะหวังพึ่งส่งออกเยอะๆ ก็จะยาก เพราะความต้องการตลาดโลกลดลง จากวิกฤตเศรษฐกิจในอเมริกายุโรป ญี่ปุ่น […]

หนุนพัฒนาขนส่งระบบราง ดันไทยศูนย์กลางเชื่อมเพื่อนบ้าน

เมื่อเร็ว ๆ นี้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้จัดการสัมมนานำเสนอผลการศึกษา “โครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากระบบรถไฟที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาค”  คณะวิจัยประกอบด้วย ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ  ดร.ณรงค์ ป้อมหลักทอง ผอ.วิจัยด้านการขนส่งและโลจิสติกส์  และ ดร.สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการด้านขนส่งและโลจิสติกส์  ได้นำเสนอผลการศึกษา โดยมีสาระสำคัญ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระบบรถไฟเพื่อเชื่อมกลุ่มประเทศจีนตอนใต้(มณฑลยูนนาน)กับลาว  เวียดนาม กัมพูชาและพม่าเข้าด้วยกันโดยมีไทยเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ ดร.ฉลองภพ กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่เหมาะสมในด้านความเป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาค เนื่องจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเป็นทางออกสู่ทะเลให้กับประเทศลาวและ มณฑลจีนตอนใต้ ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้มีแนวคิดเบื้องต้นที่จะร่วมลงทุนกับรัฐบาลจีนในการพัฒนา ระบบรถไฟความเร็วสูง โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ประกอบด้วย 5 เส้นทาง เส้นทางแรกจะเป็นเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ-หนองคาย ที่จะเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟจากลาวไปยังมณฑลยูนนาน การพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจะ เอื้อประโยชน์ต่อประเทศไทยในแง่ของยุทธศาสตร์การขนส่งในภูมิภาคเป็นอย่างมาก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงข่ายการขนส่งทางรางเป็นระยะทางรวม 4,429 กม. และบริการขนส่งทางรถไฟที่มียังไม่เพียงพอกับความต้องการขนส่งสินค้าทางรถไฟ  เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องโครงข่ายและสภาพโครงสร้างพื้นฐาน แต่เมื่อพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์ทางรางพบว่า ยังคงมีศักยภาพและสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการขนส่งได้ หากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความมั่นคงและปลอดภัยมากขึ้น โดยประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยคือประเทศจีนตอนใต้ ลาว เวียดนาม กัมพูชา ซึ่งมีแนวโน้มการค้าระหว่างกันสูงขึ้นทั้งด้านการนำเข้าและการส่งออก “สิ่งที่พยายามเสนอก็คือ ต้องมองเป็นองค์รวมไม่ว่าจะเรื่องการเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านหรือการพัฒนารถไฟความเร็วสูง จะต้องทำสิ่งอื่น ๆ […]

ปี 2549 “สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ: ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง?”

การร่วมอภิปรายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อ “สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ : ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง?” ประธาน: ดร. อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ร่วมอภิปราย: ดร. ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ดร. โคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อร่วมระดมความคิด โดยแยกเป็น 4 กลุ่มย่อย กลุ่มที่ 1 การปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาค ประธานกลุ่ม: ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้ร่วมอภิปราย: 1. หัวข้อ “พัฒนาการของนโยบายการเงินไทยในทศวรรษที่ผ่านมา” ดร. อัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. หัวข้อ “พัฒนาการนโยบายการคลังหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540” ดร. […]

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2545 เรื่อง “เผชิญความท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์”

Globalization and Its Governance in Historical Perspective, with Special Reference to Mainland Southeast Asia  by Ammar Siamwalla กลุ่มที่ 1 การเตรียมการและการกำหนดท่าทีในการเจรจาต่อรองในระดับสากล 1. องค์การการค้าโลก: สมาคมคนรวยจริงหรือ  โดย เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และ วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี 2. มองย้อนหลังการเจรจาในองค์การการค้าโลก ไทยได้อะไร และเสียอะไร  โดย ชุติมา บุณยประภัศร 3. แนวทางการเจรจาการค้ารอบใหม่ใน WTO  โดย อภิรดี ตันตราภรณ์ 4. การผลักดันให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเอื้อต่อการพัฒนาประเทศ: การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ  โดย จันทวรรณ สุจริตกุล 5. Rebuilding the International Financial Architecture  by […]

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2539 เรื่อง “ปฏิรูปภาคราชการเพื่ออนาคตของไทย”

1. ภาคราชการกับอนาคตการพัฒนาประเทศ  โดย ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์, อภิชัย พันธเสน 2. การบริหารเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและระบบงบประมาณที่เน้นผล  โดย รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ 3. ภาคราชการไทยและหุ้นส่วนใหม่ในการพัฒนา  โดย อรพินท์ สพโชคชัย 4. ปฏิรูปราชการเพื่ออนาคต: ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา  โดย ปรัชญา เวสารัชช์

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2538 เรื่อง “การมีส่วนร่วม”

1. กลุ่มเศรษฐกิจของชาวบ้าน: ความสำเร็จ และความอยู่รอด และการปรับขบวนทัศน์พัฒนาสหกรณ์การเกษตร  โดย นิพนธ์ พัวพงศกร, อัมมาร สยามวาลา, กนก คติการ, พีรรัตน์ อังกุรรัต 2. กติกา เครื่องมือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม  โดย มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด 3.ชาวไทยมุสลิมและการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม: การศึกษาภาคใต้ตอนล่าง  โดย ศิริรัตน์ ธานีรณานนท์, ดลมนรรจน์ บากา, ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ 4. การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน  โดย อรพินท์ สพโชคชัย 5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางอุตสาหกรรม  โดย นิตย์ จันทรมังคละศรี

1 2 3