สถานการณ์และทิศทางอุตสาหกรรมกุ้งไทย กับ เชษฐา อินทรวิทักษ์

ช่วงแรกช่วงคิดเพื่ออนาคตโรดแมปประเทศไทย พูดคุยกับ ดร.เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประเด็น สถานการณ์และทิศทางอุตสาหกรรมกุ้งไทย

ทีดีอาร์ไอแนะ ภาคเกษตรปรับตัวรองรับอาเซียน

เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2561 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ จัดสัมมนา “แนวทางการปรับตัวของภาคเกษตรเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทย” โดยดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงแนวทางปรับตัวของเกษตรกรรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่า เกษตรกรไทยต้องปรับตัวในเรื่องของมาตรฐานคือ ต้องทำตามมาตรฐานสากลของภาคเอกชนในต่างประเทศ และต้องทำให้ผู้บริโภคในประเทศไทยมีความเชื่อถือในความปลอดภัยของสินค้าไทย รวมทั้งใช้เทคโนโลยีในการผลิตให้มากขึ้น มีการทำวิจัยลงไปให้ความรู้เพิ่ม เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยลดการวิจัยลง แต่เน้นใช้การแก้ปัญหาด้วยการอุดหนุนภาคเกษตรทำให้เกษตรกรไทยไม่ปรับตัวและไม่พัฒนา ขณะที่ดร.เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การลงทุนของไทยในอาเซียนตอนนี้มีมากขึ้น และที่ผ่านมาการเปิดเสรีอาเซียนไม่ได้ส่งผลมากต่อภาคการเกษตรไทย เพราะหากแยกเป็นเรื่องๆ ทั้งการลดภาษีตามข้อตกลงการค้าอาเซียน (ATIGA) มาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTMs) และการลงทุนภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียนนั้นมีมานาน และมีการปรับตัวไปแล้ว แต่ไม่มีกลไกบังคับให้ทำตาม ความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศถูกกำหนดโดยเงื่อนไขสำคัญของแต่ละประเทศ “สิ่งที่ส่งผลคือพลวัตของภาคธุรกิจการเกษตรที่กำลังดำเนินไป เพราะปัจจัยต่างๆ ที่ไทยเคยได้เปรียบนั้น ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคตื่นตัวและพัฒนาขึ้นมา ทำให้สินค้าเกษตรไทยในอนาคตจะต้องปรับตัว” ดร.เชษฐากล่าว และภาคการเกษตรของไทยจำเป็นต้องปรับตัว เพราะความสามารถในการการแข่งขันของภาคเกษตรไทยกำลังลดลงเรื่อยๆ สาเหตุมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เช่น แรงงาน ที่ดิน และโลจิสติกส์ ดร.เชษฐา กล่าวต่อว่า ความสามารถในการแข่งขันที่ไทยเคยมี และเคยได้เปรียบนั้นถูกชาติอาเซียนไล่ทัน เพราะชาติคู่แข่งหันมาใช้การค้าเสรี […]

ภาวะหนี้สินเกษตรกรและแนวทางการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานของกองทุนในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ที่มา: รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์เรื่อง “โครงการศึกษาภาวะหนี้สินเกษตรกรและแนวทางการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานกองทุนในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” โดย นิพนธ์ พัวพงศกร, จารุวรรณ เฮงตระกูล, ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์, เชษฐา อินทรวิทักษ์, อติญา อารยพงศ์, อุไรรัตน์ จันทรศิริ, ภาระวี สุวรรณดิษฐากุล, กัมพล ปั้นตะกั่ว, นิภา ศรีอนันต์, มัทนา นันตา, มาเรียม กรีมี

ใช้สิทธิ FTA ไม่เต็มที่ เสียประโยชน์ 1.9 แสนล้านบาท

ไทยได้เจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) กับหลายชาติทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมการค้าระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม สิทธิทางการค้าภายใต้กรอบ FTA กลับถูกละเลยจากผู้ประกอบการไทย   ดร.เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า หากผู้ประกอบการใช้สิทธิเพื่อลดหย่อนภาษีได้เต็มที่ 100% ตามข้อตกลง FTA ที่ไทยมีกับประเทศภาคี 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และเปรู และข้อตกลง FTA ที่ไทยมีกับ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านภาษีในการนำเข้า-ส่งออกได้เพิ่มขึ้นอีกถึง 191,359 ล้านบาท โดยที่ผ่านมามีการขอใช้สิทธิเพียงราวครึ่งเดียว สถิติปี 2557 พบว่ามีการใช้สิทธิตามข้อตกลง FTA ในด้านการส่งออกเพียง 51.7% คิดเป็นมูลค่าภาษีที่ประหยัดได้ 146,541 ล้านบาท โดยภาคอุตสาหกรรมที่ใช้สิทธิทางภาษีมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อาหาร และพลาสติก อย่างไรก็ตาม หากมีการขอใช้สิทธิเต็มที่ ผู้ประกอบการจะสามารถลดหย่อนภาษีเพิ่มได้อีก 133,217 […]

ทีดีอาร์ไอ ชี้ธุรกิจไทยเสี่ยงข้อกีดกันการค้าใหม่ๆ แนะตั้งหน่วยงานรับมือ

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก ในงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากลุ่มภาคีธุรกิจอาหาร โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยทีดีอาร์ไอ กล่าวในหัวข้อการเปลี่ยนแปลงสภาพการค้าโลกและแนวทางในการปรับตัว และหัวข้อการเตรียมการเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ว่า ปัจจุบันแม้มีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่เจรจาระหว่างกันของประเทศต่างๆ มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันมีข้อกีดกันด้านมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่เรื่องภาษีมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจไทยที่จะทำอย่างไรให้เป็นไปตามมาตรฐานเหล่านั้น และที่สำคัญไม่มีใครสามารถยับยั้งการเกิดข้อกีดกันมาตรการทางการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่เรื่องภาษีอันเกิดใหม่ได้ เพราะแต่ละประเทศผู้นำเข้าออกข้อกำหนดใหม่ๆ ได้ ในปี 2557 มีข้อกีดกันดังกล่าวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 20 แห่ง (G20) ที่แต่ละประเทศสร้างขึ้น รวมกันกว่า 962 รายการ ซึ่งเพิ่มขึ้นในระดับที่มาก เกือบ 3 เท่า จาก 3 ปีก่อนหน้า “ปัจจุบันไทยยังไม่มีหน่วยงานหลักติดตามข้อกีดกันทางการค้าใหม่ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องภาษี ซึ่งควรจะต้องมีหน่วยงานมาดูแล และควรมีการบูรณาการจัดทำมาตรฐานเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารร่วมกัน เช่น องค์การอาหารและยา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกจากดูงานที่ตัวเองรับผิดชอบแล้ว ควรทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมรับมือและเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการไทยว่าจะต้องปรับตัวอย่างไรกับมาตรฐานการค้าใหม่ที่เกิดขึ้น” […]

Trading Nation กับทางออกอุตสาหกรรมไทย: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูปและยานยนต์และชิ้นส่วน

เสนอทิศทางการปรับตัวของอุตสาหกรรมไทยในสภาวะสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน โดยใช้ยุทธศาสตร์การเป็น Trading Nation ด้วยการวางตำแหน่งอุตสาหกรรมในส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและการบริหารจัดการห่วงโซ่มูลค่า สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในงานสัมมนาหัวข้อ “Trading Nation กับทางออกอุตสาหกรรมไทย: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมกุ้งแปรรูปและยานยนต์และชิ้นส่วน” ที่จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา นายสมเกียรติ    ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมไทยต้องเผชิญกับปัญหาทางการค้าการลงทุน ทั้งเรื่องค่าแรง การขาดแคลนแรงงานรวมไปถึงการดึงดูดการลงทุนที่ลดลง ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านสามารถดึงดูการลงทุนจากต่างประเทศได้มากขึ้นเรื่อย ๆ อุตสาหกรรมไทยจึงควรปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ปัจจุบันโดยการใช้ยุทธศาสตร์ Trading Nation ภายใต้นิยามการเป็น Industrial Nation with Trading Capability โดยมีองค์ประกอบหลักสามประการคือ หนึ่ง ภาคการผลิตและธุรกิจจำนวนมากอยู่ในตำแหน่ง (position) ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (high-value added) ในห่วงโซ่คุณค่า (value chain) สอง ภาคการผลิตและธุรกิจมีความสามารถในการบริหารห่วงโซ่คุณค่าที่เหลือ (value-chain management) และสาม ภาครัฐสามารถขจัดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน […]

ดัน ‘เทรดดิ้ง เนชั่น’ หนุนการค้าไทย

นำเข้าสินค้าแปรรูปส่งออกย้ายฐานผลิตแหล่งต้นทุนต่ำ เอกชน-นักวิชาการหนุนรัฐผลักดันเทรดดิ้ง เนชั่น อยู่รอดในเวทีการค้าโลก ทีดีอาร์ไอชี้ไทยไม่เนื้อหอมดึงดูดลงทุน ระบุนักลงทุนต่างชาติหันซุกเพื่อนบ้านแทน นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ เปิดเผยในการสัมมนาเรื่อง เทรดดิ้งเนชั่นกับทางออกอุตสาหกรรมไทย กรณีอุตสาหกรรมกุ้งและยานยนต์ และชิ้นส่วนว่า เพื่อให้ไทยสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในสภาพแวดล้อมทางการค้า การลงทุนของโลกในปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวเป็นเทรดดิ้งเนชั่นเช่นเดียวกับสิงคโปร์และฮ่องกง สำหรับไทยจะมีความหมายที่ต่างออกไป เนื่องจากไทยมีฐานการผลิตเป็นของตนเองในประเทศ สามารถผันตัวเป็นผู้ผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและบริหารจัดการห่วงโซ่มูลค่าส่วนอื่นๆได้ ทั้งนี้ภาคเอกชนควรใช้หลักการที่สำคัญสำหรับเทรดดิ้งเนชั่น คือ พร้อมที่จะ move up and move out หรือ การนำเข้าวัตถุดิบจากแหล่งผลิตที่มีต้นทุนถูกกว่าไทย เพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้นแล้วส่งออก โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในด้านที่ตั้งของประเทศที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ขณะที่ภาครัฐต้องเจรจาลดความเสี่ยงจากระเบียบและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้า รวมทั้งสร้างโอกาสใหม่ทางการค้าด้วย ทั้งนี้เพราะปัจจุบันไทยเสียแต้มต่อทางการค้าในตลาดใหญ่ๆของโลก เช่น จีเอสพีในสินค้ากุ้งส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.7% “การลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อนบ้านในอาเซียนกำลังเนื้อหอมดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น แต่ไทยไม่ได้เนื้อหอมอย่างที่คิด หลายอุตสาหกรรมไม่สามารถดึงดูดการลงทุนได้อีก เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา ” นายเชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า กรณีการศึกษากุ้งในปัจจุบันประเทศผู้ซื้อโดยเฉพาะผู้ค้าปลีกรายใหญ่มีอำนาจสูงในการกำหนดมาตรฐานทั้งคุณภาพ ราคา และการเข้าถึงตลาด แม้ไทยจะยังเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีการเลี้ยงแต่ประเทศผู้เลี้ยงอื่นมีแนวโน้มการพัฒนาสูงมาก […]

The Biz เศรษฐกิจไทย: สถานการณ์อุตสาหกรรมกุ้งไทย

ตั้งแต่กุ้งไทยเผชิญปัญหาโรคกุ้งตายด่วน ตั้ง พ.ศ.2555 – 2556 ถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบให้ไทยมีผลผลิตลดลง ขาดแคลนวัตถุดิบ กระทบต่อราคากุ้งที่สูงขึ้น และทำให้การแข่งขันกุ้งไทยกับตลาดโลกทำได้ลำบากมากขึ้น นอกจากนี้ไทยยังเผชิญปัญหาสภาพทางการแข่งขันกุ้งสดแช่แข็ง ที่มีประเทศใหม่ๆซึ่งมีศักยภาพความพร้อมสูงกว่า อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์จากกุ้งไทยที่ยังควรส่งเสริมต่อเนื่องคือ กุ้งเพิ่มมูลค่า เพราะติดตลาดและเป็นที่รู้จักดี และไทยเองยังมีจุดแข็งเรื่องกุ้งอีกหลายส่วน…ติดตามการวิเคราะห์อุตสาหกรรมกุ้งไทย และ แนวทางแก้ไขปัญหาที่ประเทศกำลังประสบอยู่ ได้จาก ดร.เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ออกอากาศทางรายการ The Biz: เศรษฐกิจไทย ทางสถานี Amarin TV

หนังสือใหม่: “รู้เท่าทัน AEC: ความเข้าใจผิดและความจริงว่าด้วย AEC”

คุณเป็นคนหนึ่งที่ยังคง ‘เข้าใจผิด’ อยู่หรือไม่ และ ‘ความจริง’ เป็นเช่นไร ร่วมกันหาคำตอบได้ใน รู้เท่าทัน AEC: ความเข้าใจผิดและความจริงว่าด้วย AEC  โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อได้ที่นี่ —————————— ภูมิศาสตร์ทำให้เราเป็นเพื่อนบ้านกัน วัฒนธรรมทำให้เรามีมรดกร่วม เทคโนโลยีทำให้เราเชื่อมโยงกัน แต่ประวัติศาสตร์ทำให้เราเป็นศัตรู และสำนึกทำให้เราแยกจากกัน ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี   อีกไม่ถึง 2 ปี ก็จะถึงเวลาที่คนไทยเชื่อกันว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ AEC จะเกิดขึ้น  ทั้งที่คนไทยตื่นตัวกันมากมายดังจะเห็นได้จากสื่อมวลชน รายงานเรื่อง AEC กันอย่างคึกคัก หนังสือพิมพ์หลายฉบับถึงขนาดเปิด “หน้า AEC”  ส่วนทีวีก็มี “รายการ AEC”  ขณะที่สถาบันการศึกษาก็ต่างพากันเปิดหลักสูตร “ต้อนรับการเข้าสู่ AEC” มากมาย แต่ดูเหมือนความเข้าใจของคนไทยจำนวนมากต่อ AEC ก็ยังคลาดเคลื่อนอยู่ และสำนึกของเราก็ยังอยู่ห่างไกลกับคนอาเซียนชาติอื่น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ผมทำงานอยู่ จึงได้จัดการประชุมวิชาการประจำปีที่เรียกกันว่า TDRI Year-End Conference เรื่อง AEC […]

นโยบายการค้าระหว่างประเทศกับการเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่มา : สรุปจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย (ระยะที่ 3) โดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศ ดร. เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการ คุณณัฐวุฒิ ลักษณาปัญญากุล นักวิจัยอาวุโส และคุณสุนทร ตันมันทอง นักวิจัย เสนอต่อสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเดือนตุลาคม 2555

ติดตามการใช้สิทธิประโยชน์ FTA ภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2555 เตรียมความพร้อมสู่ AEC

ดร. สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยในงานสัมมนา “ติดตามการใช้สิทธิประโยชน์ FTA ภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2555 เตรียมความพร้อมสู่ AEC” เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ว่า ในฐานะที่ สศอ. มีหน้าที่โดยตรงในการจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย สศอ. จึงร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ดำเนินโครงการติดตามการใช้ประโยชน์จาก FTA ต่างๆ ที่ประเทศไทยได้ทำร่วมกับประเทศคู่ค้าสำคัญต่างๆ หลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนหรือเออีซีโดยสมบูรณ์ในปี 2558 ด้าน ดร.เชษฐา อินทรวิทักษ์ นักวิชาการจากทีดีอาร์ไอเปิดเผยผลการศึกษาการใช้ประโยชน์จาก FTA ว่า ในปี 2555 ภาคส่งออกไทยได้รับประโยชน์ด้านภาษีจาก FTA รวมเป็นมูลค่า 118,858 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 663 ล้านบาท โดยผู้ส่งออกสินค้าไปประเทศในกลุ่มอาเซียนได้รับประโยชน์สูงสุดถึง 72,927 ล้านบาท  แม้ว่าในภาพรวม ภาคส่งออกจะใช้ประโยชน์ไม่แตกต่างจากปีก่อนมากนัก  แต่พบว่ามีสินค้าส่งออกบางรายการที่มีการใช้ประโยชน์ลดลงมาก […]

1 2