พินิจเศรษฐกิจการเมือง: มองไปข้างหน้า โอกาสทางการค้า ผ่านข้อตกลง CPTPP

CPTTP เกิดขึ้นมานานแล้ว ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนก็สนใจเข้าร่วม กลับมามองที่ไทยตอนนี้ถือว่าช้าไปหรือยังที่เรายังไม่เข้า CPTPP หากเรายังไม่เข้า หรือล่าช้าไปกว่านี้ ความท้าทายที่จะเพิ่มมากขึ้นคืออะไร ติดตามเพิ่มเติมจาก ดร. วิศาล บุปผเวส ที่ปรึกษาอาวุโส นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา ทีดีอาร์ไอ ให้สัมภาษณ์เมื่อ 30 พ.ย. 64 ทางวิทยุจุฬาฯ

พินิจเศรษฐกิจการเมือง: เดินหน้าเศรษฐกิจไทย ร่วม RCEP พอหรือไม่…ถึงเวลา CPTPP หรือยัง?

การเข้าร่วม RCEP ความตกลงการค้าเสรี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จะมีประโยชน์จริงหรือไม่ ขึ้นกับในทางปฏิบัติว่าจะทำให้ได้ประโยชน์จริงมากน้อยแค่ไหน แต่อย่างน้อยการเข้าร่วมครั้งนี้ ทำให้ไทยได้โอกาสปรับโครงสร้างเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ในอนาคต หากไทยมีโอกาสได้เข้าร่วม CPTPP ภายใต้การศึกษาพิจารณาผลกระทบอย่างรอบด้านแล้ว จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้ไทยทำการค้ากับตลาดโลกทั้งตลาด เพิ่มทางเลือกทางรอดในยุค technology disruption ที่ supply chain เปลี่ยนแปลงไป และไทยเองกำลังเผชิญความท้าทายมากขึ้นทุกขณะ . ติดตามมุมมองการวิเคราะห์ เพิ่มเติมจาก ดร. วิศาล บุปผเวส ที่ปรึกษาอาวุโส นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา ให้สัมภาษณ์ทางวิทยุจุฬาฯ เมื่อ 1 ธ.ค. 2563 เรื่องล่าสุดจากทีดีอาร์ไอ

พินิจเศรษฐกิจการเมือง: การลงทุนวิจัยและผลักดันนโยบายการเกษตร ให้เติบโตในระยะยาว

พินิจเศรษฐกิจและการเมือง: การลงทุนวิจัยและผลักดันนโยบายการเกษตร ให้เติบโตในระยะยาว ดร. วิศาล บุปผเวส ให้สัมภาษณ์ทาง fm 101.5 วิทยุจุฬาฯ เมื่อ 12 ธันวาคม 2561

ผลกระทบของการจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) และกลยุทธ์การเจรจาที่เหมาะสม

ช่วงที่ 1 การเจรจาการค้าบริการภายใต้ RCEP โดย นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักการค้าบริการและการลงทุน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  ช่วงที่ 2 รายงานผลการศึกษา ผลกระทบของการจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค และกลยุทธ์การเจรจาที่เหมาะสมสำหรับประเทศ­ไทย โดย ดร.วิศาล บุปผเวส ที่ปรึกษาอาวุโส ฝ่ายความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (TDRI) เอกสารประกอบ โดย ดร.วิศาล บุปผเวส ที่ปรึกษาอาวุโส ฝ่ายความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (TDRI)

ถกอาร์เซปอืดคืบหน้าแค่30%

โพสต์ทูเดย์ พาณิชย์รับการเจรจาอาร์เซปคืบหน้า 30% หารือแค่เรื่องลดภาษี ข้อผูกพันเปิดเสรีบริการ-ลงทุน น.ส.อรุณี พูลแก้ว รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยภายในงานเสวนาเรื่อง “RCEP การเจรจาการค้าในภูมิภาคที่ประชาชนต้องรู้” ว่า ยอมรับว่าการเจรจาการจัดทำหุ้นส่วนเศรษฐกิจในภูมิภาค (อาร์เซป) ในขณะนี้คืบหน้าไปเพียง 30% ทั้งที่ผ่านมาได้เจรจากันแล้ว 7 ครั้ง และมีเป้าหมายว่าจะต้องเจรจาให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ เพื่อให้ทันกับการเปิดประชาคมอาเซียน สาเหตุที่ทำให้การเจรจาดังกล่าวยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร คือ ระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันของทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ทำให้ความต้องการและท่าทีในการเจรจาของประเทศต่างๆ ที่มีต่อแต่ละประเด็นแตกต่างกัน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการเจรจาได้เน้นเรื่องวิธีการลดภาษีสินค้าระหว่างกัน วิธีการเขียนข้อผูกพันในการเปิดเสรีการบริการและการลงทุนเท่านั้น “ระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ทำให้มีท่าทีไม่เหมือนกัน บางประเด็นอาจเข้าใจไม่ตรงกัน ส่งผลให้การเจรจา อาร์เซปไม่คืบหน้าเท่าที่ควร การเจรจายังมีเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เข้ามาด้วย ซึ่งประเทศอาเซียนและอินเดียต้องการให้ครอบคลุมตามกฎขององค์การการค้าโลก (ดับเบิ้ลยูทีโอ) แต่เกาหลีและญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีสูงกลับต้องการการคุ้มครองที่มากกว่ากฎของดับเบิ้ลยูทีโอเป็นต้น” น.ส.อรุณี กล่าว ด้าน นายวิศาล […]

Trading Nation เป้าหมายใหม่ของไทย

เอกชนแนะรัฐรื้อกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการแข่งขัน ดันไทยสู่ความเป็น “Trading Nation” ในอีก 3-5 ปี อาศัยต้นแบบความสำเร็จจากญี่ปุ่น-สิงคโปร์ เริ่มมีการกล่าวถึง “ยุทธศาสตร์ Trading Nation” ว่าจะเป็นอนาคตของเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการสัมมนาที่จัดโดยสภาผู้ส่งออกสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออกฯ) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาสภา ผู้ส่งออกฯ เห็นด้วยว่า Trading Nation หรือความเป็นศูนย์กลางการค้า เป็นแนวคิดในการสร้างศักยภาพการแข่งขันของไทย จากปัจจุบันที่การพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของไทยยังเดินอยู่กับที่ เทียบกับเวียดนามที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว อาจแซงไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้น ภาครัฐบาลควรให้การสนับสนุนการวางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคการผลิต การส่งออก ให้ชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ใช่เริ่มนับ 1 ใหม่อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการวิจัยพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น โดยเฉพาะกระทรวงเศรษฐกิจทั้ง 12 กระทรวงต้องร่วมมือกัน ปรับเปลี่ยนวิธีคิด อย่างไรเพื่อนำไปสู่ความเป็น Trading Nation โดยอาจจะอาศัยต้นแบบแห่งความสำเร็จ เรื่อง Trading Nation จากประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ มาปรับใช้ได้ […]

หนังสือใหม่: “รู้เท่าทัน AEC: ความเข้าใจผิดและความจริงว่าด้วย AEC”

คุณเป็นคนหนึ่งที่ยังคง ‘เข้าใจผิด’ อยู่หรือไม่ และ ‘ความจริง’ เป็นเช่นไร ร่วมกันหาคำตอบได้ใน รู้เท่าทัน AEC: ความเข้าใจผิดและความจริงว่าด้วย AEC  โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อได้ที่นี่ —————————— ภูมิศาสตร์ทำให้เราเป็นเพื่อนบ้านกัน วัฒนธรรมทำให้เรามีมรดกร่วม เทคโนโลยีทำให้เราเชื่อมโยงกัน แต่ประวัติศาสตร์ทำให้เราเป็นศัตรู และสำนึกทำให้เราแยกจากกัน ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี   อีกไม่ถึง 2 ปี ก็จะถึงเวลาที่คนไทยเชื่อกันว่า “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ AEC จะเกิดขึ้น  ทั้งที่คนไทยตื่นตัวกันมากมายดังจะเห็นได้จากสื่อมวลชน รายงานเรื่อง AEC กันอย่างคึกคัก หนังสือพิมพ์หลายฉบับถึงขนาดเปิด “หน้า AEC”  ส่วนทีวีก็มี “รายการ AEC”  ขณะที่สถาบันการศึกษาก็ต่างพากันเปิดหลักสูตร “ต้อนรับการเข้าสู่ AEC” มากมาย แต่ดูเหมือนความเข้าใจของคนไทยจำนวนมากต่อ AEC ก็ยังคลาดเคลื่อนอยู่ และสำนึกของเราก็ยังอยู่ห่างไกลกับคนอาเซียนชาติอื่น สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่ผมทำงานอยู่ จึงได้จัดการประชุมวิชาการประจำปีที่เรียกกันว่า TDRI Year-End Conference เรื่อง AEC […]

“เบญจา” ปัดขึ้นภาษีแบรนด์เนม “ทีดีอาร์ไอ” มองเป็นแนวคิดโบราณ ไม่ได้ดึงนักท่องเที่ยว

“รมช.คลัง” ยืนยันรัฐบาลยังไม่คิดปรับลดภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยในขณะนี้ เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศ ลั่นการจะปรับลดภาษีตัวใดคงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะปัจจุบันก็มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวอยู่แล้ว ด้านนักวิชาการ “ทีดีอาร์ไอ” ชี้การลดภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยถือเป็นเรื่องโบราณ เพราะบางอย่างกลายเป็นของจำเป็นไปแล้ว แถมยังดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทยได้ไม่มาก เพราะเขาไม่ได้หวังมาเที่ยวไทยเพื่อชอปของแบรนด์เนม นางเบญจา หลุยเจริญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังไม่มีนโยบายที่จะปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยในทุกรายการสินค้า เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศ เพราะในบางรายการผู้ประกอบการในไทยก็สามารถผลิต และส่งออกไปแข่งขันในต่างประเทศได้ เช่น เครื่องหนัง หากปรับลดภาษีแล้วก็จะทำให้ผู้ประกอบการมีปัญหาไปด้วย ดังนั้น การจะปรับลดภาษีในสินค้าใดก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยพิจารณาถึงมูลค่านำเข้า และผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยด้วย “การจะปรับลดภาษีตัวใดเราคงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะปัจจุบันก็มีมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวอยู่แล้ว ด้วยการสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ซึ่งจะต้องขอดูตัวเลขจากกรมสรรพากรก่อนว่า มีนักท่องเที่ยวมาขอคืนแวตจากการซื้อสินค้าในไทยมากน้อยเพียงใด หากมากอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรเพิ่มเติม เพื่อให้กระทบต่อผู้ประกอบการของเราเอง และการออกมาพูดเช่นนี้ก็อาจจะทำให้การสั่งซื้อสินค้าชะงักไปได้ เพราะรอดูความชัดเจนของนโยบายรัฐบาลก่อน” แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แนวทางการปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยตามนโยบายของรัฐบาล คงจะใช้วิธีการนำร่องปรับลดภาษีนำเข้าในรายการสินค้าที่ผู้ประกอบการในประเทศได้รับผลกระทบน้อยที่สุด หรือไม่ได้รับผลกระทบเลย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ไม่ได้มีการผลิตในประเทศ เช่น น้ำหอม และนาฬิกา เพื่อประเมินถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับแนวทางดังกล่าว โดยวัตถุประสงค์ของการปรับลดภาษีในรายการสินค้าดังกล่าวก็เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายของบรรดานักท่องเที่ยวต่างชาติ “สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลด้านนโยบาย กระทรวงการคลัง ได้เรียกตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าที่มีระดับราคาสูง หรือสินค้าฟุ่มเฟือยมาหารือถึงแนวทางและผลกระทบกรณีที่รัฐบาลจะปรับลดภาษีนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าว ซึ่งแน่นอนว่า ผู้ประกอบการเกือบทั้งหมดจะไม่เห็นด้วยกับแนวนโยบายนี้ […]

สำรวจ 3 เสาหลัก ระดับรัฐถึงชาวอาเซียน

ข่าวสดอาเซียน ณ ปัจจุบันการเปิดประชาคมอาเซียน พ.ศ.2558 ถือเป็นประเด็นที่ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญ และพยายามเตรียมความพร้อมในการเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับประชาชนอีกราว 540 ล้านคนจากทั่วภูมิภาค “ประชาคมอาเซียน” ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ เสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง เสาหลักด้านเศรษฐกิจ และเสาหลักด้านสังคมวัฒนธรรม ซึ่งจะประสานงานกันอย่างใกล้ชิดภายใต้กฎบัตรอาเซียน ระหว่างการปรับตัวเข้าสู่สังคมใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ จึงมีเวทีระดมความเห็นและข้อมูลสำหรับสร้างความตื่นตัวอย่างต่อเนื่อง ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนา “TU Forum ครั้งที่ 6” ขึ้น ภายใต้หัวข้อ “นับถอยหลังสู่ประชาคมอาเซียน 2015” โดยมี รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา ดร.วิศาล บุปผเวส ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และชลิดา ทาเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศักยภาพชุมชน ร่วมเป็นวิทยากรแลกเปลี่ยนความเห็น รศ.ดร.ประภัสสร์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยมีปัญหาในเชิงโครงสร้างพื้นฐาน คือระบบสาธารณูปโภค เช่น ด้านการขนส่ง และปัญหาในเชิงนโยบาย ปัญหาสำคัญคือ “การขาดแผนแม่บท” ในการเข้าเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างคนละทิศละทาง […]

ปี 2551 “สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน”

การร่วมอภิปรายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อ “เติบโตอย่างไรจึงมีคุณภาพและยั่งยืน?” โดย: คุณกานต์ ตระกูลฮุน ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร เสวนาหัวข้อ “นโยบายที่รัฐบาลควรและไม่ควรดำเนินการในการรับมือกับวิกฤตการณ์การเงินโลก”   กลุ่มที่ 1 ความสามารถในการแข่งขันของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ดร. ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์, Mr. Taka Fujioka, ดร. สบิณฑ์ ศรีวรรณบูรณ์, และ ดร. พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูล ยุทธศาสตร์การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ดร. ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี, ดร. สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข และ ดร. วิศาล บุปผเวส การบริหารเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ดร. สมชัย จิตสุชน ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการแข่งขัน คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ บทบาทของตลาดเงินตลาดทุนในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล การเจริญเติบโตผลิตภาพการผลิตปัจจัยการผลิตรวมของภาคหัตถอุตสาหกรรมในประเทศไทย ดร. เณศรา สุขพาณิช สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 […]

1 2 3