จับตาศึกชิงคลื่น 1800 แคทยื้อ กทค. ลูกค้าระทึก!

มติบอร์ด กทค.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ที่มี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) และ ในฐานะประธาน กทค. มีมติชัดเจนแล้วว่า บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท ผู้ที่ครอบครองสัญญาสัมปทานในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต้องส่งคลื่นความถี่กลับมายังสำนักงาน เหตุผลก็เนื่องจากตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ต้องส่งคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ภายหลังจากบริษัทที่ได้รับสัญญาสัมปทานหมดอายุ อย่างไรก็ตามคลื่นความถี่ดังกล่าวมีบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ที่เปิดให้บริการปัจจุบันมีลูกค้าใช้งาน 17 ล้านราย และ ดีพีซี อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งสัญญาสัมปทานจะหมดอายุพร้อมกันวันที่ 16 กันยายนนี้ เมื่อคืนมาจะใช้เปิดประมูลใบอนุญาต โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี […]

ยื่น 5 ข้อเสนอ “กสทช.” ป้องกันลูกค้า “ซิมดับ”

นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เปิดเผยว่า ความล่าช้าของ กสทช.ในการเตรียมขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อรองรับการสิ้นสุดสัมปทานของคลื่น 1800 MHz วันที่ 15 ก.ย. 2556 ที่มีผู้ให้บริการ 2 ราย คือทรูมูฟ และดิจิตอล โฟน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนรองรับลูกค้าหลังหมดสัมปทาน, การวางแผนประมูลคลื่น หรือแม้กระทั่งการประกาศให้ผู้บริโภครับรู้ เป็นต้น ทั้งหมดอาจทำให้การนำคลื่นดังกล่าวมาประมูลต้องล่าช้าออกไป 1-2 เดือน คาดว่าอย่างเร็วที่สุด กสทช.จะเริ่มต้นดำเนินการได้ในเดือน ต.ค. ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ กสทช.เข้ามารับผิดชอบในเบื้องต้น เพื่อเป็นรากฐานในการนำคลื่นที่สิ้นสุดสัมปทานคืนและจัดการประมูล โดยคณะอนุกรรมการเห็นว่าควรนำคลื่นที่หมดสัมปทานจำนวน 25 MHz ตัดให้เหลือ 20 MHz แล้วนำมาประมูล เพราะการใช้งานระบบ 4G เทคโนโลยี LTE ต้องมีคลื่นรับและส่งฝั่งละ 5 MHz หากนำคลื่นทั้งหมดมาประมูลจะเหลือเศษฝั่งละ 2.5 MHz “การประมูลควรเป็นช่วงคลื่นเดียว […]

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจี้ กสทช. หนุนการแข่งขัน จัดแผนก่อนสัมปทานคลื่น 1800 หมดอายุ

คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เสนอแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในยุค 3G และ 4G เสนอให้เกิดการแข่งขันในตลาด และให้ กสทช. เตรียมแผนจัดการก่อนสัมปทานคลื่น 1800 หมดอายุ คาดจะมีผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบไม่ต่ำกว่า 17 ล้านราย วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยในฐานะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ และอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กสทช. ระบุปัญหาที่มีผู้ร้องเรียนด้านการบริโภคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งค่าโทรแพง และการโฆษณาเกินจริง ซึ่งเป็นเรื่องเดิมที่ซ้ำซาก เกิดจากสาเหตุหลักที่ กสทช. ต้องรีบแก้ไขในอนาคตคือ “การส่งเสริมการแข่งขันในตลาด” “ที่ผ่านมา กสทช. ได้ละเลยมาตรการในการส่งเสริมการแข่งขันในตลาดโดยสิ้นเชิง ทำให้ตลาดโทรคมนาคมไทยเป็นตลาดที่มีการแข่งขันที่จำกัด มีผู้ประกอบการเพียง 3 ราย โดยไม่มีรายใหม่เข้ามาแข่งขันแต่อย่างใด ซึ่ง กสทช. ควรปล่อยให้กลไกตลาดทำงาน ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีก่อน ผู้ประกอบการแต่ละรายก็จะแข่งขันกันจนผู้บริโภคได้ประโยชน์ แต่หากเปิดให้มีการแข่งขันแล้วไม่มีรายใหม่เข้ามา กสทช. จึงค่อยไปกำกับดูแล” ดร.เดือนเด่นกล่าว โดยแนวทางที่จะทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด ดร.เดือนเด่นระบุว่า ต้องมีมาตรการที่จะช่วยส่งเสริมการแข่งขัน ได้แก่ มาตรการในการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อ (IC […]

ระบบประกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและเท่าเทียมของไทยในอนาคต

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้ทำการศึกษา โครงการ การพัฒนาแนวทางอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพ  นำเสนอต่อสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย  โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ประเทศไทยได้รับการยกย่องจากนานาประเทศว่าเป็นประเทศที่มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีประสิทธิภาพแม้จะมิได้เป็นประเทศที่ร่ำรวยแต่ก็สามารถให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทุกคนได้  อย่างไรก็ดี  คนไทย 65 ล้านคนยังได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลที่ต่างกัน  เนื่องจากระบบประกันสุขภาพไทยประกอบด้วยกองทุนสุขภาพที่หลากหลายโดยมีสามกองทุนหลักได้แก่ กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า [1] เนื่องจากทั้งสามกองทุนดังกล่าวอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่ต่างกัน กล่าวคือ กองทุนประกันสังคม อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานประกันสังคม (สปส.)  สังกัดกระทรวงแรงงาน กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมบัญชีกลาง สังกัดกระทรวงการคลัง และ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อยู่ภายใต้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  สังกัดกระทรวงสาธารณสุขการบริหารจัดการจึงมีลักษณะแยกส่วนทำให้การบริหารมีต้นทุนสูงที่เกินควรเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการบริหารที่ซ้ำซ้อนและสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยภายใต้แต่ละกองทุนแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ทั้งสามกองทุนต่างมีฐานข้อมูลผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต่างกัน มีการคำนวณต้นทุนในการรักษาพยาบาลที่ต่างกัน มีระบบการตรวจสอบการเบิกจ่าย หรือ การรับเรื่องร้องเรียนที่แยกส่วนกัน  การดำเนินการของแต่ละกองทุนอย่างเป็นเอกเทศนอกจากจะทำให้มีต้นทุนในการบริหารสูงแล้วยังส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำของสิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาลอีกด้วย  ตัวอย่างเช่น โรคเดียวกันอาจมีอัตราการเบิกจ่ายที่ต่างกันทำให้ผู้ป่วยที่เป็นสมาชิกกองทุนสุขภาพที่มีอัตราการเบิกจ่ายสูงกว่ามีโอกาสที่จะได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีกว่า  เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว  เนื่องจากกองทุนทั้งสามต่างเกิดขึ้นมาต่างกรรมต่างวาระกัน สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลจึงต่างกัน ตัวอย่างเช่น ข้าราชการและครอบครัวได้รับสิทธิในการเลือกใช้สถานพยาบาลที่ร่วมโครงการได้ทุกแห่งทั่วประเทศ  ในขณะที่สมาชิกประกันสังคม  และ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สามารถใช้บริการรักษาพยาบาลได้เฉพาะสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนไว้  หรือ […]

ทิศทางเศรษฐกิจไทย 2556

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสัมมนา: 1. ประมาณการเศรษฐกิจปี 2556 และแนวโน้มหนี้สาธารณะ 2556-2560 โดย ดร.สมชัย จิตสุชน และคุณนันทพร เมธาคุณวุฒิ 2. ข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตหลังปรับค่าแรงขั้นต่ำ โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ 3. แนวทางการ “หนีกับดักรายได้ปานกลาง” กับการปฏิรูปภาคบริการไทย โดย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ 4. การวิจัยเพื่อการหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง โดย ดร.สมชัย จิตสุชน 5. การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภาพภาคการผลิต โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์

นิพนธ์ พัวพงศกร นำทัพรับวิจัยปฏิรูประบบจัดการน้ำ เน้นการใช้ที่ดิน

ทีดีอาร์ไอ เปิดตัวโครงการปฏิรูประบบบริหารจัดการน้ำประเทศ “นิพนธ์” เผยใช้เวลา 3 ปี วิจัยเน้นส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง หนุนแผนแม่บทรบ. ด้านอาณัติ ชี้จัดองคาพยพระบบน้ำ คู่ขัดแย้้งต้องหาจุดยืนร่วมกันให้ได้ วันที่ 29 พฤศจิกายน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและ International Development Research Centre (IDRC) เปิดตัวโครงการศึกษา “Adaptation Options to Improve Thailand’s Flood Management Plan” ศึกษาการปฏิรูปการจัดการน้ำของประเทศไทย : การวิเคราะห์เชิงสถาบัน และรูปแบบการปรับตัว โดยมี ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการกิตติคุณทีดีอาร์ไอ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โดยทีมวิจัยประกอบด้วย ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.สมชัย จิตสุชน และ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวิรุฬห์ ดร.นิพนธ์ กล่าวว่า ภายหลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่ก่อความเสียหายต่อประเทศเป็นมูลค่ากว่า […]

ปี 2555 “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: มายาคติ ความเป็นจริง โอกาสและความท้าทาย”

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2555 จัดโดย มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

“สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์” ออกจากคอมฟอร์ทโซน ใช้วิชาการเป็น “กาว”เชื่อมการขับเคลื่อนประเทศ ชี้ไม่เกิน 10 ปีไทยจะชนภูเขาน้ำแข็ง

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI (Thailand Development Research Institute) เป็นสถาบันวิจัยเชิงนโยบายที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ในรูปของมูลนิธิ เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่ง ทีดีอาร์ไอทำงานเชิงวิจัยนโยบายหลากหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายด้านเศรษฐกิจ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ให้เป็นนโยบายที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ ในโอกาสที่ทีดีอาร์ไอ ได้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งประธานสถาบันจาก ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ที่หมดวาระมาเป็นดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า ได้สัมภาษณ์ดร.สมเกียรติถึงบทบาทและการขับเคลื่อนของนักวิชาการทีดีอาร์ไอต่อจุดยืนและแนวทางในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ไทยพับลิก้า : จากเจตนารมณ์ของทีดีอาร์ไอที่ผ่านมาได้ทำอะไรมาบ้างและจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ในตอนแรกทีดีอาร์ไอ ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อให้ร่วมงานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานวางแผน แต่ว่าสภาพัฒน์ฯ ต้องทำงานในแต่ละวัน ไม่สามารถทำการวิจัยเพื่อสนับสนุนการวางแผนได้ อาจารย์เสนาะ อูนากูล ผู้ที่ตั้งทีดีอาร์ไอ ขึ้นมา จึงมีแนวคิดว่าน่าจะมีหน่วยงานเสริมมาทำวิจัย เพื่อเอาไปต่อยอดนโยบาย ต่อยอดการทำแผนโดยสภาพัฒน์ฯ ทีดีอาร์ไอจึงตั้งขึ้นมาเหมือนเป็นน้องสภาพัฒน์ฯ หลังจากนั้นก็พลัดพรากจากกันไป มีร่วมงานกันบ้าง แต่ในที่สุดก็ออกมาเป็นหน่วยงานอิสระ เป็นมูลนิธิ ไม่ใช่เป็นองค์กรภาครัฐ เราเป็นเหมือนกับคลังสมองหรือ think tank ซึ่งในหลายประเทศที่พอเริ่มตั้งโดยรัฐแล้วก็อยู่กับรัฐตลอดไป […]

คดีข้อพิพาทระหว่างบิ๊กซีกับเทสโก้: คดีประเดิมกฎหมายการแข่งขันทางการค้าไทย

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย   ผู้เขียนได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายการแข่งขันทางการค้ามาเป็นเวลากว่า 15 ปีตั้งแต่ก่อนที่จะมีการตรา พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า ในปี พ.ศ. 2542  และได้เห็นความล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายนี้ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา  เนื่องจากสำนักแข่งขันทางการค้า ซึ่งสังกัดกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ไม่มีการดำเนินคดีกับธุรกิจรายใดแม้แต่รายเดียว ปล่อยให้พฤติกรรมผูกขาดและกีดกันการแข่งขันที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในตลาดดำเนินไปได้อย่างเสรี  ส่งให้ราคาสินค้าหรือบริการหลายประเภทปรับตัวสูงเกินควร  หากแต่กลับเลือกที่จะไปควบคุมราคาข้าวแกงตามฟูดคอร์ทและขายของแข่งกับเอกชนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เหตุผลหลักของความล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ คือ ประธานคณะกรรมการดังกล่าว ซึ่งคือ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์หลายรายที่ผ่านมาไม่เคยให้ความสนใจแก่การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ซึ่งมุ่งในการควบคุมพฤติกรรมทางการค้าของธุรกิจขนาดใหญ่  ที่มักมีเส้นสายโยงใยทางการเมือง   ดังนั้น  เมื่อได้ทราบข่าวว่า บริษัทเอกชนรายหนึ่งได้ตัดสินใจฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำของคู่แข่งที่เห็นว่าเป็นการละเมิดกฎหมายฉบับนี้เป็นครั้งแรก  ผู้เขียนจึงขอแสดงความเห็นในเชิงวิชาการกับกรณีดังกล่าว คดีที่กล่าวถึง คือ บิ๊กซีได้กล่าวหาว่า เทสโก้ซึ่งเป็นผู้มี ‘อำนาจเหนือตลาด” มีพฤติกรรมทางการค้าที่เป็น “การแทรกแซงการประกอบธุรกิจของผู้อื่น โดยไม่มีเหตุผลอันควร” ตามมาตรา 25(4) และที่ไม่เป็นการ “แข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม” ตาม มาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 เนื่องจากเทสโก้  (1) […]

การศึกษาผลกระทบของมาตรา 190 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ว่าด้วยการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศต่อการค้าและการลงทุนของประเทศไทย

ที่มา : สรุปจากรายงานวิจัยชื่อเดียวกันของ ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ คุณวีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี นักวิจัยอาวุโส คุณพรชัย ฬิลหาเวสส และคุณณัฏฐณิชา เอนกสมบูรณ์ผล นักวิจัยฝ่ายการวิจัยเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2552 (ผลงานวิจัยนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้วิจัยแต่เพียงผู้เดียว)

การศึกษาผลกระทบของกฎหมาย และระเบียบที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs

ที่มา : สรุปจากรายงานการวิจัยเรื่อง โครงการศึกษาวิจัยกฎหมายและแนวนโยบายภาครัฐทางกฎหมายที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs : ศึกษาเฉพาะกรณีผลกระทบของกฎหมายและระเบียบที่มีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs โดย ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ และคณะนักวิจัยฝ่ายการวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เสนอต่อ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เมื่อเดือนเมษายน 2551

พระราชบัญญัติว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542: ข้อจำกัดและการปฏิรูป

ที่มา : สรุปจากรายงานวิจัยเรื่องโครงการการปฏิรูปกฎหมายเพื่อลดการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันในเศรษฐกิจไทย ของ ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ ฝ่ายการวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เสนอต่อมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2554

1 18 19 20 21 22