ปี 2553 “การลดความเหลื่อมลํ้าและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ” (Reducing Inequality and Creating Economic Opportunity)

หัวข้อที่ 1: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทั่วถึง ผู้เสนอ: ดร. อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หัวข้อที่ 2: การลดความเหลื่อมล้ำ หัวข้อที่ 2.1 การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: ค่าใช้จ่ายระบบสวัสดิการสังคมที่คนไทยต้องการ ผู้เสนอ: ดร. วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้วิจารณ์: ดร. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หัวข้อที่ 2.2 การสร้างระบบสวัสดิการพื้นฐาน: การจัดหาและจัดสรรทรัพยากรทางการเงินเพื่อรองรับระบบสวัสดิการ ผู้เสนอ: ดร. สมชัย จิตสุชน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้วิจารณ์: ดร. คณิศ แสงสุพรรณ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง หัวข้อที่ 2.3 เศรษฐศาสตร์การเมืองของระบบสวัสดิการ ผู้เสนอ: ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้วิจารณ์: ผศ.ดร. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อที่ 3: การสร้างโอกาสด้านเศรษฐกิจ หัวข้อที่ […]

ปี 2552 “การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม”

การปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความเป็นธรรมในสังคม : กรอบแนวคิดและภาพรวมในการศึกษา โดย: ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ไฟล์เสียง) หัวข้อที่ 1 ผลตอบแทนส่วนเกินในเศรษฐกิจไทย: การผูกขาดในระบบเศรษฐกิจไทย อำนาจเหนือตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ และการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตร ผู้เสนอ: ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หัวข้อที่ 2 ผลตอบแทนส่วนเกินจากทรัพยากรของประเทศ: สัมปทาน การใช้อิทธิพลเข้าถึงทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ (ไฟล์เสียง) ผู้เสนอ: ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร. อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หัวข้อที่ 3 มาตรการการคลังเพื่อความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม: การวิเคราะห์ภาระภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม และการขยายฐานภาษี (ไฟล์เสียง) ผู้เสนอ: ดร. อมรเทพ จาวะลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดร. […]

ปี 2551 “สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน”

การร่วมอภิปรายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อ “เติบโตอย่างไรจึงมีคุณภาพและยั่งยืน?” โดย: คุณกานต์ ตระกูลฮุน ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร เสวนาหัวข้อ “นโยบายที่รัฐบาลควรและไม่ควรดำเนินการในการรับมือกับวิกฤตการณ์การเงินโลก”   กลุ่มที่ 1 ความสามารถในการแข่งขันของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ดร. ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์, Mr. Taka Fujioka, ดร. สบิณฑ์ ศรีวรรณบูรณ์, และ ดร. พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูล ยุทธศาสตร์การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ดร. ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี, ดร. สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข และ ดร. วิศาล บุปผเวส การบริหารเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ดร. สมชัย จิตสุชน ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างเสริมความสามารถในการแข่งขัน คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ บทบาทของตลาดเงินตลาดทุนในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล การเจริญเติบโตผลิตภาพการผลิตปัจจัยการผลิตรวมของภาคหัตถอุตสาหกรรมในประเทศไทย ดร. เณศรา สุขพาณิช สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยที่ 1 […]

ปี 2549 “สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ: ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง?”

การร่วมอภิปรายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อ “สู่หนึ่งทศวรรษหลังวิกฤตเศรษฐกิจ : ได้เรียนรู้และปรับปรุงอะไรบ้าง?” ประธาน: ดร. อำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ร่วมอภิปราย: ดร. ธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ดร. โคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อร่วมระดมความคิด โดยแยกเป็น 4 กลุ่มย่อย กลุ่มที่ 1 การปรับปรุงการบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาค ประธานกลุ่ม: ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ผู้ร่วมอภิปราย: 1. หัวข้อ “พัฒนาการของนโยบายการเงินไทยในทศวรรษที่ผ่านมา” ดร. อัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. หัวข้อ “พัฒนาการนโยบายการคลังหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540” ดร. […]

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2547 เรื่อง “เหลียวหลังแลหน้า: ยี่สิบปีเศรษฐกิจสังคมไทย”

คำกล่าวเปิด การสัมมนาประจำปี 2547 เรื่อง “เหลียวหลังแลหน้า : ยี่สิบปีเศรษฐกิจสังคมไทย”  โดย อานันท์ ปันยารชุน การเปลี่ยนแปลงของคนไทยและสภาพแวดล้อม กลุ่มย่อยที่ 1.1 การเปลี่ยนแปลงของคนไทย 1. การเปลี่ยนแปลงของคนไทยจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน  โดย วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ 2. โอกาสสุดท้ายของประเทศไทย: 6 ปีทองของการสร้างรากฐานการพัฒนาคนให้ก้าวไกลอย่างยั่งยืน  โดย สุวรรณี คำมั่น และ สุจิตราภรณ์ นาคะลักษณ์ 3. ความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพและชีวิตของคนไทย  โดย นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ กลุ่มย่อยที่ 1.2 การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางสังคม 1. การสร้างชุมชนเพื่อรองรับกับความท้าทายของสังคมไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า  โดย สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ 2. นวัตกรรมทางสังคมกับความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น  โดย จรัส สุวรรณมาลา 3. ระบบความยุติธรรมแห่งอนาคตกับสันติสุขในสังคมและชุมชน  โดย กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ และ […]

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2545 เรื่อง “เผชิญความท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์”

Globalization and Its Governance in Historical Perspective, with Special Reference to Mainland Southeast Asia  by Ammar Siamwalla กลุ่มที่ 1 การเตรียมการและการกำหนดท่าทีในการเจรจาต่อรองในระดับสากล 1. องค์การการค้าโลก: สมาคมคนรวยจริงหรือ  โดย เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และ วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี 2. มองย้อนหลังการเจรจาในองค์การการค้าโลก ไทยได้อะไร และเสียอะไร  โดย ชุติมา บุณยประภัศร 3. แนวทางการเจรจาการค้ารอบใหม่ใน WTO  โดย อภิรดี ตันตราภรณ์ 4. การผลักดันให้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศเอื้อต่อการพัฒนาประเทศ: การปฏิรูประบบการเงินระหว่างประเทศ  โดย จันทวรรณ สุจริตกุล 5. Rebuilding the International Financial Architecture  by […]

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2543 เรื่อง “สังคมโปร่งใสไร้ทุจริต”

รัฐธรรมนูญและกลไกใหม่เพื่อสังคมโปร่งใสต้านภัยทุจริต  โดย อรพินท์ สพโชคชัย, ไรรัตน์ สุวรรณรักษ์ และ พรรณิยา บิณษรี กลุ่มที่ 1 ป.ป.ช. ในฐานะกลไกเพื่อป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันตามรัฐธรรมนูญ 1. ป.ป.ช. กับชีวิตข้าราชการ  โดย ประสิทธิ์ ดำรงชัย 2. ภารกิจ ผลงาน ปัญหาอุปสรรคของ ป.ป.ช. ในรอบปีที่ผ่านมา  โดย วิรัตน์ วัฒนศิริธรรม กลุ่มที่ 2 ความโปร่งใสและการป้องปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาคราชการ 1. คอร์รัปชันในวงราชการไทย : กรณีศึกษาและยุทธศาสตร์การต่อต้านคอร์รัปชันในเชิงเศรษฐศาสตร์  โดย นิพนธ์ พัวพงศกร, เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และ สุวรรณา ตุลยวศินพงศ์ 2. คอร์รัปชันในวงราชการ : มุมมองของข้าราชการและแผนปฏิบัติการสร้างสังคมปลอดคอร์รัปชัน  โดย ศุภชัย ยาวะประภาษ 3. ผลการสำรวจ คอร์รัปชันในภาครัฐ : ความเห็นและประสบการณ์ในครัวเรือน  […]

การสัมมนาวิชาการประจำปี 2542 เรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”

กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงในเชิงเศรษฐศาสตร์ และสังคม เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงกับการวิเคราะห์ความหมายของนักเศรษฐศาสตร์   โดย อภิชัย พันธเสน กลุ่มที่ 3 แนวทางปฏิบัติทางด้านการตัดสินใจที่พอประมาณและมีเหตุผล 1. พฤติกรรมที่ไม่พอเพียงกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ   โดย สมชัย จิตสุชน 2. บทบาทของข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมกับเศรษฐกิจพอเพียง   โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กลุ่มที่ 4 แนวทางปฏิบัติทางด้านการพัฒนาการเกษตรและชุมชน 1. ความเสี่ยงและภูมิคุ้มกันในภาคเกษตรกรรมของไทย   โดย วิโรจน์ ณ ระนอง 2. ทฤษฎีใหม่: มุมมองทางเศรษฐศาสตร์   โดย อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา 3. บทสำรวจความคิดความเข้าใจและการปฏิบัติตามแนวทฤษฎีใหม่   โดย ชนิกา เจริญวงษ์ กลุ่มที่ 5 แนวทางปฏิบัติทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการ 1. การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง […]

ชำแหละมาตรการ-ก.ม.ปราบโกง รัฐบาล’ประยุทธ์’เดินหน้าถึงไหน?

เมื่อเร็วๆนี้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ได้จัดเสวนาเพื่อติดตามมาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน ในรอบ 5 เดือนของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 หนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญคือการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ พร้อมแจกแจงประเด็นต่างๆที่รัฐบาลดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ลองตรวจสอบว่ามีมาตรการและกฎหมายอะไรที่คืบหน้าบ้างแล้ว กระทุ้งรัฐเร่งคลอดก.ม.ปราบโกง ดร.เดือนเด่น  นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการ ระบบเศรษฐกิจสถาบันทีดีอาร์ไอ ระบุว่า ในการศึกษามาตรการป้องกันการคอร์รัปชันครั้งนี้ เน้นศึกษาใน 4 มาตรการหลัก คือ 1. มาตรการจำกัดหรือควบคุมอำนาจในการใช้ดุลพินิจของรัฐ เช่น การออกใบอนุญาตหรือตรวจสอบต่างๆ ซึ่งเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่รัฐเรียกรับสินบน ทำให้เพิ่มภาระให้ภาคเอกชนและประชาชน 2.มาตรการควบคุมการใช้เงิน แผ่นดิน 3.มาตรการการใช้อำนาจผูกขาด และ 4.มาตรการเพิ่มต้นทุนและความเสี่ยงให้กับพฤติกรรมคอร์รัปชัน พบว่ายังเดินหน้าไปไม่ถึง 50% โดยเฉพาะมาตรการควบคุมอำนาจผูกขาดมีความคืบหน้าน้อยที่สุด โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีเพียงการผลักดัน แต่ยังไม่เป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันยังพบว่า มาตรการควบคุมอำนาจการผูกขาด  ประกอบด้วย ร่างพ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.  และ การแก้ไขพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า มีความก้าวหน้าน้อยที่สุด เพียง […]

อนาคตของเศรษฐกิจไทยกับบทบาทของภาครัฐ

เดือนเด่น  นิคมบริรักษ์ การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 144 ประเทศทั่วโลก โดย World Economic Forum (WEF) ล่าสุดในปี พ.ศ. 2557 พบว่า ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับที่ 31 เลื่อนขึ้นมาจากที่ 37 ในปีก่อนหน้า  แต่หากพิจารณาในรายละเอียดของดัชนีย่อย  จะพบว่าตัวแปรที่ทำให้เราขยับขึ้นมาได้ คือ การบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพ ระดับการพัฒนาของภาคการเงิน รวมถึงขนาดและประสิทธิภาพของตลาดสินค้าภายในประเทศซึ่งอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี  ตัวแปรที่ถ่วงขีดความสามารถในการแข่งขันได้แก่ ความไม่พร้อมทางด้านเทคโนโลยี การขาดแรงงานที่มีทักษะ และที่มีปัญหามากที่สุด คือ ขาด กฎ กติกาของภาครัฐที่เอื้อต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน  สรุปสั้นๆ ก็คือ ประเทศไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีและมีโอกาสจะเติบโตได้ แต่ปัจจัยที่ฉุดรั้งการเติบโตของประเทศมาโดยตลอดคือการขาดประสิทธิภาพของทุน แรงงาน และความอ่อนแอเชิงสถาบัน (ซึ่งหมายถึงการบริหารจัดการของภาครัฐ) การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมานั้นเกิดจากการเพิ่มผลิตภาพของแรงงานเป็นหลัก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการโยกย้ายแรงงานออกจากภาคเกษตรที่มีผลิตภาพต่ำไปสู่ภาคการผลิตที่มีผลิตภาพแรงงานสูงกว่าทำให้รายได้ประชากรสูงขึ้น  หากแต่โมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวกำลังมาถึงทางตันเนื่องจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยเริ่มชะลอตัวลงจากการที่ตลาดส่งออกซบเซาอันสืบเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ตลอดจนการชะลอตัวของเศรษฐกิจของจีน กอปรกับการสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยเองด้วยจากค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น  การที่ภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกของเราขยายตัวช้าลงทำให้ไม่สามารถดูดซับแรงงานจากภาคส่วนอื่นๆ ดังเช่นในอดีต การศึกษาพัฒนาการทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวันในอดีตที่ทำให้ประเทศเหล่านี้สามารถหลุดจากกับดักรายได้ประเทศปานกลาง (middle […]

ปฏิรูปพลังงานไทย: เชื่อใครดี? (ตอน 2)

เดือนเด่น  นิคมบริรักษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ในบทความก่อน (ตอน 1)  ผู้เขียนได้กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับนโยบายพลังงานไทยน่าจะเกิดจาก “มุมมอง” ที่ต่างกัน โดยกลุ่มหนึ่งมองด้าน “ประสิทธิภาพ” ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมองด้าน “ความไม่เป็นธรรม” และได้กล่าวถึงประเด็นด้านประสิทธิภาพไปแล้ว บทความในครั้งนี้เป็นเรื่อง “ความเป็นธรรม” ในการจัดสรรผลประโยชน์จากการนำทรัพยากรพลังงานของประเทศมาใช้ ซึ่งก็คือปิโตรเลียมและก๊าซในอ่าวไทยนั้นเอง ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะเรื่องก๊าซ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ก๊าซธรรมชาติที่เราใช้ทุกวันนี้มีสามส่วน คือก๊าซจากอ่าวไทยซึ่งมีต้นทุนต่ำสุด ก๊าซจากแหล่งก๊าซในพม่าซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าก๊าซจากอ่าวไทยประมาณร้อยละ 40 และก๊าซธรรมชาตินำเข้าซึ่งมีต้นทุนสูงสุดคือประมาณเท่าตัวของก๊าซในอ่าวไทย คำถามคือใครควรที่จะได้รับสิทธิในการใช้ก๊าซที่ผลิตในประเทศ (legacy gas) ที่มีราคาต่ำและใครต้องใช้ก๊าซนำเข้าที่มีราคาสูงกว่า ซึ่งแต่ละประเทศมีนโยบายที่ต่างกันไป เช่น ในมาเลเซียมีนโยบายให้นำก๊าซที่ผลิตภายในประเทศไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อเป็นการกระจายผลประโยชน์ให้แก่ประชาชน สำหรับประเทศไทยนั้น ก๊าซจากอ่าวไทยซึ่งเป็นก๊าซเปียก (wet gas) ส่วนมากเข้าไปสู่โรงแยกก๊าซของ ปตท. เพื่อผลิต LPG โดยผู้ที่ใช้ก๊าซ LPG มากที่สุดในปี 2556 คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ร้อยละ 35) ภาคครัวเรือน (ร้อยละ 32) ภาคขนส่ง (ร้อยละ 24) และภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปิโตรเคมี […]

ปฏิรูปกิจการพลังงานไทย: เชื่อใครดี? (ตอนที่ 1)

เดือนเด่น  นิคมบริรักษ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ที่ผ่านมามีข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องว่าปริมาณก๊าซสำรองของประเทศที่แท้จริงของประเทศเรามากน้อยเพียงใด ราคาน้ำมันและราคาก๊าซที่จำหน่ายว่าสูงเกินควรหรือไม่   ระบบสัมปทานในการขุดเจาะและผลิตน้ำมันและก๊าซในอ่าวไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันสร้างรายได้ให้กับรัฐได้อย่างเพียงพอหรือไม่  ฯลฯ ทำให้ประชาชนทั่วไป  รวมทั้งผู้เขียนเองในฐานะที่ไม่ใช่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจพลังงานเกิดความสับสนว่าข้อมูลที่แท้จริงคืออะไรและเราควรที่จะปฏิรูประบบพลังงานของเราอย่างไร เพื่อที่จะได้ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและประชาชน โชคดีที่ผู้เขียนรู้จักกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจพลังงานต่างชาติที่สังกัดบริษัทที่ปรึกษาในประเทศฮ่องกงซึ่งมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการกำกับดูแลกิจการพลังงานให้แก่รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกมานานกว่า 20 ปี   รวมทั้งมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจพลังงานของประเทศไทยเป็นอย่างดี ในอดีตกลุ่มผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวเคยยื่นข้อเสนอสำหรับโครงการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างราคาก๊าซในประเทศไทยแก่กระทรวงพลังงานร่วมกับทีดีอาร์ไอ  (แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก) ที่สำคัญคือ ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้มิได้มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องใดๆ กับ ปตท. ทั้งทางตรงและทางอ้อม (ไม่ได้ถือหุ้น หรือ รับเงินสนับสนุนการวิจัยจาก ปตท. หรือ บริษัทลูก) จึงสามารถวิเคราะห์ปัญหาของธุรกิจพลังงานไทยได้อย่างตรงไปตรงมาตามหลักวิชาการและประสบการณ์ในเชิงปฏิบัติในต่างประเทศ ผู้เขียนจึงขอแบ่งปันผลการวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานไทยของพวกเขาซึ่งเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งดังนี้ ประการแรก การถกเถียงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของธุรกิจพลังงานระหว่างสองฝ่ายในหลายประเด็นอาจเกิดจากมุมมองที่ต่างกัน  โดยกลุ่มหนึ่งให้ความสำคัญแก่ประเด็นด้านประสิทธิภาพ (efficiency) ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งให้ความสำคัญด้านความเป็นธรรมหรือความเท่าเทียมกัน (equity)   ฝ่ายที่มองธุรกิจพลังงานไทยจากมุมประสิทธิภาพจะเห็นว่าการอุดหนุนราคาก๊าซโดยการตรึงราคาทำให้รัฐสูญเสียรายได้จำนวนมากจากการลักลอบขายก๊าซออกนอกประเทศและทำให้คนไทยใช้ก๊าซอย่างฟุ่มเฟือย  นอกจากนี้แล้ว  ราคาก๊าซที่ต่ำเกินจริงทำให้พลังงานทางเลือกเกิดขึ้นยากเพราะต้นทุนสูงกว่าราคาก๊าซที่ขายในประเทศจึงมีข้อเสนอให้ยกเลิกการอุดหนุนราคาก๊าซ สำหรับฝ่ายที่มองปัญหาจากมุมของความเท่าเทียมกันนั้น จะเห็นว่าการที่ ปตท. ผูกขาดและมีกำไรอย่างมหาศาล (เกือบ 1 แสนล้านบาทในปี 2556) ย่อมสะท้อนว่าผลประโยชน์ที่เกิดจากการนำทรัพยากรของประเทศไปใช้นั้นกระจุกตัวอยู่กับ ปตท. และบริษัทในเครือ  มิได้กระจายไปสู่ประชาชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรที่แท้จริง  จึงไม่เป็นธรรม ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงมีข้อสงสัยขึ้นมามากมายเกี่ยวกับการกำกับดูแล ปตท. ของภาครัฐ […]

1 19 20 21 22