พินิจเศรษฐกิจการเมือง: เบื้องหลังตัวเลขคนไทยว่างงาน สู่มาตรการที่ควรมี

โควิดกระทบการจ้างงานมาโดยตลอด แต่ล่าสุดตัวเลขว่างงานคนไทยตาม สศช. ระบุ สูงขึ้นสุดตั้งแต่มีโควิดระบาดมา ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่คาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ คนกลุ่มไหน ที่เป็นกลุ่มว่างงานเพิ่มมากขึ้น และต้องจับตาดูเป็นพิเศษ ติดตามการวิเคราะห์ พร้อมมุมมองข้อเสนอจาก ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายทรัพยากรมนุษย์ ให้สัมภาษณ์ทางวิทยุจุฬาฯเมื่อ 7 ธ.ค. 64

สถานการณ์กำลังแรงงานช่วงล๊อกดาวน์ (ไตรมาส 2 ปี 2564)

สถานการณ์การทำงานของกำลังแรงงานอยู่ในวิกฤตซบเซามาอย่างต่อเนื่องยาวนานจากทั้งภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 มาตรการการคุบคุมการแพร่ระบาดมีการปรับเพิ่ม-ลดเงื่อนไขต่าง ๆ ตามสถานการณ์การแพร่ระบาด ภายใต้การควบคุมของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)มาตรการเหล่านี้จำกัดและเพิ่มเติมเงื่อนไขต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชน การประกอบอาชีพ และการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ให้ยากลำบากขึ้น รวมไปถึงการงดการดำเนินการกิจการบางประเภทที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดสูง ข้อจำกัดที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการจ้างงานและส่งผลกระทบต่อภาวะการมีงานทำของแรงงานไทย ผลจากภาวะการแพร่ระบาดและมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดทำให้อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 2 ต่อเนื่อง 5 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่สองปี 2563 จนถึงไตรมาสที่สองของปี 2564 (ตารางที่ 1) และส่งผลให้ชั่วโมงการทำงานลดลงทุกภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว  การจ้างงานหลังจากผ่านช่วงต้นของวิกฤตโควิดช่วงปีแรก การจ้างงานค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมาตามการคาดการณ์ของสำนักวิเคราะห์หลายแห่ง ซึ่งการฟื้นตัวการจ้างงานและภาวะการมีงานทำ เป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้สำคัญที่แสดงทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภาพรวมการจ้างงานในไตรมาสที่สองที่ผ่านมา (ปี 2564) ฟื้นตัวร้อยละ 2  การจ้างงานแรงงานทำงานเต็มเวลา (40+ ชม.ต่อสัปดาห์) ในไตรมาสที่สอง ในภาพรวมฟื้นตัว ร้อยละ 13.7 (Q2 YoY 2563-64) โดยฟื้นตัวสูงสุดในภาคบริการ ภาคเกษตรกรรม และภาคอุตสาหกรรม คิดเป็น ร้อยละ […]

พินิจเศรษฐกิจการเมือง : บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวผิด กม. – ไร้นายจ้าง ช่วงโควิด-19

ท่ามกลางสถานการณ์เฝ้าระวังการระบาดโควิด-19 ใน กทม. และทั่วประเทศ ยังมีช่องโหว่การนำเข้าแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายเข้าประเทศ โดยไม่ผ่านการกักตัวและคัดกรองโควิด-19 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและสวัสดิภาพของแรงงานต่างด้าว ไปพร้อมกับการตอบโจทย์ความต้องการแรงงานของนายจ้าง ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ เสนอทางออกการจัดการลงทะเบียนให้แรงงานต่างด้าว และรับมือกับการป้องกันโควิด-19 ในพินิจเศรษฐกิจการเมือง ออกอากาศทางวิทยุจุฬาฯ เมื่อ 15 มิ.ย. 64

ข้อเสนอ การบริหารจัดการ “ลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติใหม่” ปี 2564 ให้มีความยุ่งยากน้อยลง

ดร. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ จากการประชุม ครม. เมื่อ 14 มกราคม 2564 ได้มีมติให้นายจ้าง/สถานประกอบการ ดำเนินการแจ้งรายชื่อแรงงานต่างด้าวที่ต้องการจ้าง และให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เมียนมา ลาว กัมพูชา ที่อยู่อย่างผิดกฎหมาย (แต่ได้รับการผ่อนผันตามมติ ครม. 29 ธันวาคม 2563) มาลงทะเบียนแจ้งข้อมูลบุคคลผ่านระบบออนไลน์และมาแสดงตัวตน ภายใน 13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานั้น เป็นข้อเสนอของกระทรวงแรงงานที่ขอเปิดจดทะเบียนแรงงานกลุ่มนี้เป็นกรณีพิเศษอันเนื่องมาจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ (ระยะที่สองต่อเนื่องระยะที่สาม) ทำให้ไม่สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU ได้โดยสะดวก เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานของนายจ้าง จึงใช้วิธีนี้ทดแทนแรงงานเดิมที่ออกและรับแรงงานชุดใหม่เข้ามาใหม่ ผู้เขียนสนับสนุนความคิดดังกล่าวที่จะนำเอาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทำงานอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆและบางส่วนตกงานจากมาตรการปิดกิจการชั่วคราวและยังไม่สามารถเดินทางกลับประเทศตัวเองได้ มีสิทธิขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย การผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษอันเนื่องมาจากการการะบาดของ COVID-19 นี้ ยังสอดคล้องกับมิติของความมั่นคงด้านสุขภาพ (Health Security) เพิ่มเติมจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพราะเสี่ยงเป็นคลัสเตอร์ติดเชื้อจากการแพร่กระจายของ COVID-19 (Spreader) ได้โดยง่าย เนื่องจากแรงงานต่างด้าว 3 […]

พินิจเศรษฐกิจการเมือง : ตลาดแรงงานไทย จะรอดอย่างไรในวิกฤตโควิด ระลอก 3

ตลาดแรงงานไทย ดูเหมือนจะได้ฟื้นตัวกลับมาแล้ว แต่กลับถูกซ้ำเติมด้วยการระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ประเมินสถานการณ์ตลาดแรงงานไทย ทั้งการจ้างการ การว่างงานในภาคบริการ อุตสากรรมและเกษตร เพื่อจับสัญญาณชีพจรแรงงานไทย ว่ายังไหวไหม และรัฐบาลควรเร่งให้ความช่วยเหลืออย่างไร ในรายการพินิจเศรษฐกิจการเมือง ออกอากาศทางวิทยุจุฬาฯ เมื่อ อังคารที่ 4 พ.ค. 64

ลดบาดเจ็บผลกระทบโควิด เร่งฉีดวัคซีน-เยียวยาแรงงาน

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ การระบาดโควิด-19 รอบที่ 3 ยังไม่ทราบว่าจะบรรเทาลงเมื่อไร ในขณะที่ประชากรไทยเพิ่งได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปเพียงราว 1.1% (ณ วันที่ 2 พ.ค.) จึงเกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประเมินเบื้องต้นว่า การเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะลดลงถึง 1% จากที่เคยประมาณการไว้ แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่าง มิอาจหลีกเลี่ยง การระบาดของโควิด-19 รอบที่ 1 ของไทย เริ่มในปลายปี 2562 และต่อเนื่องไปยังปี 2563 ตลอดทั้งปี พบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปี 2562 มีการขยายตัวที่มีความผันผวนตกต่ำกว่าปี 2561 ในทุกไตรมาส ส่งผลให้จีดีพีขยายตัวต่ำลงเหลือ 2.3% เทียบกับปี 2561 เมื่อมีการระบาดของโควิด-19 ตอนต้นปี 2563 แม้ความรุนแรงยังไม่มาก แต่รัฐบาลใช้มาตรการล็อกดาวน์ห้ามการเดินทางเข้าออกต่างประเทศ และมาตรการเคอร์ฟิวในประเทศ ทำให้เศรษฐกิจซึ่งอาการไม่ค่อยดีมาตั้งแต่ปีที่ 2562 เริ่มได้รับผลกระทบ แม้รัฐบาลเริ่มมีมาตรการเยียวยาด้วยเงิน งบประมาณตามปกติและเงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับธุรกิจและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งเคยคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่เหลือของปี 2563 แต่โชคไม่ดีที่เกิดการระบาดโควิด-19 ตามมาในรอบ 2 ช่วงปลายเดือน […]

พินิจเศรษฐกิจการเมือง: แก้ปมต่างด้าวลอบทำงาน..ท่ามกลางโควิดระลอกใหม่

หนึ่งในปัญหาที่สะท้อนผ่านสถานการณ์ โควิดระบาดรอบสอง คือ ความหละหลวมในการเปิดรับแรงงานต่างด้าวกลับเข้ามาทำงาน ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ได้เคยให้ข้อเสนอเพื่อเตรียมรับมือ และกักตัวแรงงานต่างด้าวตั้งแต่ช่วงแรกที่สถานการณ์โควิด-19 ในไทยเริ่มดีขึ้น ไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศ มาจนถึงวันนี้ แม้การระบาดในกลุ่มแรงงานต่างด้าวจะเข้มงวดอยู่ในการควบคุมดูแล แต่หลังจากนี้ยังมีปัญหาและความท้าทายด้านการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอีกมากมายรออยู่ หนึ่งในนั้น คือ เรื่องสุขอนามัย ความแออัดในการพักอาศัยร่วมกัน รวมถึงความรับผิดชอบของผู้นำแรงงานเข้ามาทำงาน ติดตามเพิ่มเติมจาก ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายทรัพยากรมนุษย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการพินิจเศรษฐกิจการเมือง วิทยุจุฬาฯ ออกอากาศเมื่อ 12 ม.ค. 2564

โควิด-19 ระลอกใหม่ ผลกระทบในตลาดแรงงาน

รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ จากข้อมูลตลาดแรงงานคนไทยล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เดือนพฤศจิกายน 2563 สะท้อนภาพของผลกระทบการระบาดของ โควิด-19 ที่มีต่อตลาดแรงงานบรรเทาลงอย่างเห็นได้ชัดจากการเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2562 พบว่าจำนวนแรงงานเพิ่มขึ้นจาก 6.425 ล้านคน เป็น 7.219 ล้านคนเพิ่มขึ้น 0.794 คิดเป็นผลกระทบจากปีปกติ (2562) ประมาณร้อยละ 12.4 ซึ่งอาจจะทำให้หลายฝ่ายสบายใจขึ้น ผลกระทบของการระบาด โควิด-19 ต่อตลาดแรงงานที่คลายตัวลงมามากพอสมควร อย่างไรก็ตาม เมื่อดูองค์ประกอบในรายละเอียดพบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2563 จำนวนว่างงานเพิ่มเป็น 783,800 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.1 YoY จำนวนที่ว่างงานเปิดเผย (Open unemployment) เป็นแรงงานใหม่เพียงร้อยละ 35.7 แต่ที่ว่างงานเกือบร้อยละ 65 มาจากการว่างงานของแรงงานเก่า เหตุผลถ้าเทียบตัวเลข %YoY พบว่า ลำดับแรกถูกให้ออกจากงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 646.1 YoY รองลงมาคือ เกิดจากการถูกเลิกจ้างจากสาเหตุหยุดหรือปิดกิจการร้อยละ 223.5 YoY นอกจากนั้นเป็นเรื่องของการหมดสัญญาร้อยละ 14.2 ที่จริงแล้วสถานการณ์ที่แรงงานลาออกเองนั้นเป็นสาเหตุเดียวที่มีผลกระทบลดลงร้อยละ […]

โควิด-19 กับการจ้างงาน แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ

บทความโดย ดร. สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์ เรื่องราวของผลกระทบของโควิด-19 ต่อแรงงานข้ามชาติยังคงเป็นเรื่องน่าติดตามเพราะโควิด-19 ยังคงเป็นหนังยาวไม่จบลงง่ายๆ แม้จะมีข่าวค่อนข้างดีว่ารัฐบาลไทยสั่งซื้อวัคซีนป้องกัน โควิดไปแล้วกับแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) บริษัทผลิตวัคซีนสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน เมื่อวันที่ 27 พ.ย. โดยการจองและจัดซื้อนี้จะทำให้ประเทศไทยสามารถจัดหาวัคซีนได้ภายในปี 2564 จำนวน 25 ล้านโดส แต่จะครอบคลุมประชากรเพียงประมาณร้อยละ 20 และรัฐตั้งเป้าขยายให้ถึงร้อยละ 50 ของประชากรหรือมากกว่า เพราะฉะนั้นอย่าประมาท การ์ดอย่าตก เมื่อเร็วๆ นี้ มีพรรคพวกเขียนบทความวิชาการเรื่องผลกระทบของ Covid-19 ที่มีผลต่อการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยไว้แล้วอย่างดีและให้ข้อมูลในหลายประเด็นที่น่าสนใจ (ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ และ นายสิรวิชญ์ รัตนประทีปทอง) บทความของผู้เขียนฉบับนี้แค่เพิ่มมุมมองเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเฉพาะอุปทานแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติกลุ่มต่างๆ ในช่วงโควิด-19 โดยใช้ข้อมูลสถิติแรงงานต่างด้าวรายเดือนของสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน จากมกราคม 2563 ถึงเดือนล่าสุดคือตุลาคม 2563 แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา) ในบทความนี้เพื่อความสะดวกในการอธิบายได้จัดแบ่งเป็น 4 กลุ่มที่สำคัญ […]

1 2 3 4 5 13