ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ จากคว่ำบาตรเมียนมาสู่ความ(ไม่)มั่นคงพลังงานไทย

การคว่ำบาตรของนานาประเทศทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะกระทบประเทศไทยโดยตรง เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรทางการเงิน Myanma Oil and Gas Enterprise (MOGE)[1] ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านปิโตรเลียมของรัฐบาลเมียนมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยระงับไม่ให้นิติบุคคลสหรัฐฯ ทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับ MOGE ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินที่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือโอนเงินผ่านระบบ SWIFT ได้

มาตรการนี้มีผลครอบคลุมไปถึงบุคคลที่รับซื้อก๊าซธรรมชาติจาก MOGE จึงสร้างความกังวลว่า ปตท. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับซื้อก๊าซจากเมียนมาจะสามารถซื้อก๊าซจากเมียนมาได้หรือไม่  และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ใช้ก๊าซดังกล่าวในการผลิตไฟฟ้าส่งต่อให้ครัวเรือนไทย

การทบทวนนโยบายและมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อการส่งเสริมสมดุลด้านการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทย เป็นการควบคุมแบบไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มเด็ก และอาจยังกำกับดูแล “ไม่ตรงจุด”

ชี้วัดความยั่งยืนองค์กร ด้วยเกณฑ์ประเมินที่มีคุณภาพ

ภาคธุรกิจกำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่ผลประกอบการทางด้านการเงินไม่ใช่เป้าหมายหลักเพียงอย่างเดียว แต่ “ความยั่งยืนองค์กร” หรือที่เรียกกันว่า “ESG” ที่ย่อมาจาก Environmental Social และ Governance ได้กลายมาเป็นประเด็นที่องค์กรหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น

จากการสำรวจการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี SET100 ตั้งแต่ปี 2558-2564 โดยทีมวิจัยทีดีอาร์ไอ พบว่าบริษัทจากกลุ่มตัวอย่างมีแนวโน้มการเปิดเผยข้อมูล ESG มากขึ้น

1 2 3 52